โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    บทบาทของผู้นําชุมชนในการจัดการความขัดแย้งของ ประชาชนในตําบลริมปิง อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Role of Community Leaders in People Conflict Management in Rimping Sub-district, Muang District, Lamphun Province
  • ผู้วิจัยนางสาวณัฐชยา มะโนใจ
  • ที่ปรึกษา 1พระครูภาวนาโสภิต,วิ.,ดร
  • ที่ปรึกษา 2ดร.นิกร ยาอินตา
  • วันสำเร็จการศึกษา20/03/2016
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2048
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 98
  • จำนวนผู้เข้าชม 166

บทคัดย่อภาษาไทย

                 การศึกษาวิจัยเรื่องบทบาทของผู้นําชุมชนในการจัดการความขัดแย้งของประชาชนในตําบล ริมปิง อําเภอเมือง จังหวัดลําพูนมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้นําชุมชนในการจัดการ ความขัดแย้งของประชาชนในตําบลริมปิง อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของ ผู้นําชุมชนในการจัดการความขัดแย้งของประชาชนในตําบลริมปิง อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน จําแนกตาม ปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการจัดการความขัดแย้งของ ประชาชนในตําบลริมปิง อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมบทบาทของผู้นํา ชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในการจัดการความขัดแย้งของประชาชนในตําบลริมปิง อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน ตามหลักพุทธวิธี ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตตําบลริมปิง อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน กําหนดกลุ่ม ตัวอย่างโดยใช้สูตรคํานวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yanmane (Taro Yanmane, 1967)  ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%  จํานวนตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จํานวน 378 ตัวอย่าง

                 ผลการวิจัยพบว่า

                 1. ระดับบทบาทของผู้นําชุมชนในการจัดการความขัดแย้งของประชาชน ในตําบลริมปิง อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน และเมื่อจําแนกเป็นรายด้าน พบว่า ความขัดแย้งด้านโครงสร้าง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ ความขัดแย้งด้านความเชื่อ/ค่านิยม ความขัดแย้งด้านข้อมูล/การสื่อสาร ส่วนค่าเฉลี่ยต่ําสุด ได้แก่ ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์

                 2. ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้นําชุมชนในการจัดการความขัดแย้งของประชาชนใน ตําบลริมปิง อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า เมื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้นําชุมชนในการจัดการความขัดแย้ง โดยภาพรวม จําแนกตาม อาชีพ ไม่มีความแตกต่างกัน แต่เพศ อายุ และระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

                 3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการจัดการความขัดแย้งของประชาชนในตําบล ริมปิง อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน พบว่า ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ เกี่ยวกับประชาชนมีทัศนคติที่ แตกต่างกัน มีพฤติกรรมต้องการเอาชนะ ไม่ให้ความร่วมมือกับฝ่ายตรงข้าม ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ เกี่ยวกับโครงการกู้เงินหมู่บ้านเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งเพราะเกิดการกู้เงินซ้ําซ้อน ผู้กู้ไม่ชําระเงินกู้คืน ความขัดแย้งด้านความเชื่อ/ค่านิยม เกี่ยวกับมีความแตกต่างด้านสภาวะแวดล้อม การดําเนินชีวิตและค่านิยม ส่งผลให้เกิดความไม่เข้าใจระหว่างกัน ความขัดแย้งด้านข้อมูล/การสื่อสาร เกี่ยวกับระดับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารมีความแตกต่างกัน ข้อเสนอแนะคือ ผู้นําควรให้คําแนะนําที่ ถูกต้องในการปรับทัศนคติ ให้ประชาชนลดทิฐิของตนเองและพูดคุยปรึกษากัน ออกกฎระเบียบกําหนด เงื่อนไขในโครงการเงินกู้ จัดกิจกรรมที่ประสานความสัมพันธ์ในค่านิยม ความเชื่อ ให้ประชาชนมีความ เข้าใจกันมากขึ้น และใช้เวทีการประชุมในการให้ข้อมูลข่าวสาร

                 4. แนวทางในการส่งเสริมบทบาทของผู้นําชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในการจัดการ ความขัดแย้งของประชาชนในตําบลริมปิง อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน ตามหลักพุทธวิธี พบว่า ควรใช้ หลักสังคหวัตถุ 4 ด้านทานในจัดการความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ ด้านปิยวาจาในการจัดการความขัดแข้งด้านข้อมูล/การสื่อสาร ด้านอัตถจริยาในการจัดการความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์และด้านโครงสร้าง และด้านสมานัตตตาในการจัดการความขัดแย้งด้านความเชื่อ/ค่านิยม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                 The objectives of the thesis entitled “The Role of Community Leaders in People Conflict Management in Rimping Sub-district Municipality, Muang District, Lamphun Province” were as follows: 1) to examine the role of community leaders in people conflict management in Rimping sub-district municipality, Muang district, Lammphun province. 2) to compare the role of community leaders in people conflict management in Rimping sub-district municipality, Muang district, Lammphun province classified by personnel factors. 3) to investigate the problems, obstacles and suggestions of the people conflict management in Rimping sub-district municipality, Muang district, Lammphun province. 4) to study the promoting guideline of the role of community leaders according to Sangahavatthu N in people conflict management in Rimping sub-district municipality, Muang district, Lammphun province along the Buddhist way. This research is mixed research method. The populations and samples were collected from people who live in Rimping sub-district municipality, Muang district, Lamphun province. The samples were 378 people by using Taro Yamane’s Table form (Taro Yamane, 1967) with reliability equal to 95%.

                 The findings of this research were found as follows:

                 1) The role level of community leaders in people conflict management in Rimping sub-district municipality, Muang district, Lammphun province was overall at the moderate level in all aspects. When considering in each aspect, it was found that structure conflict was at the highest level, followed by interest conflict, belief conflict/popularity conflict, data conflict/communication conflict. Relations conflict was at the lowest level.

                 2) The comparison result of community leaders in people conflict management in Rimping sub-district municipality, Muang district, Lammphun province classified by personal factors, including gender, age, education and occupation was found that when comparison of the role of community leaders in people conflict management. The overall occupation was not different but gender, age and education was significant differences at 0.05 level.

                 3) The problems, obstacles and suggestions of people conflict management in Rimping sub-district municipality, Muang district, Lammphun province was found that relations conflict about different attitude of people, to overcome behavior, not participate with opposition. Interest conflict about housing loan project it was caused of conflict for loan redundant, borrowers did not pay the loan back. Belief conflict/popularity conflict about different environment state, way of life and popularity resulted misunderstanding between them. Data conflict/communication conflicts about awareness levels of information were different. The suggestions of leaders should advise the correct attitude adjustment, people should reduce their intolerant and talk together, the rules set out conditions for loan project, arrange activity for connecting relations of values, belief. People understood every well and by using stage of the meeting informed information.

                 4) The promotion guideline of leaders role according to Sangahavatthu IV in people conflict management in Rimping sub-district municipality, Muang district, Lammphun province along the Buddhist way was found that there should apply Sangahavatthu IV, including Dẫna in interest conflict management, Piyavãcã in data conflict management/communication conflict management, Atthacariyă in relations conflict management/structure conflict management and Samanattatã in belief conflict/popularity conflict.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 3.21 MiB 98 9 ส.ค. 2564 เวลา 03:45 น. ดาวน์โหลด