-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการเสริมสร้างความสุขของบุคลากรในองค์กรสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Enhancement of the Happiness of Personnel in the Happy Organization Based on Buddhist Psychology of Mahachulalongkornrajavidyalaya University
- ผู้วิจัยนางสาวสุทธิรัตน์ ชูเลิศ
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
- วันสำเร็จการศึกษา06/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2049
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 17
- จำนวนผู้เข้าชม 176
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาเรื่องการเสริมสร้างความสุขของบุคลากรในองค์กรสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการเสริมสร้างความสุขของบุคคลากร และหลักการเสริมสร้างองค์กรสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการเสริมสร้างความสุขของบุคคลากรในองค์กรสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างความสุขของบุคคลากรในองค์กรสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีที่ใช้วิธีเชิงปริมาณเพื่อขยายผลวิธีเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้เชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนา 2 รูป ผู้บริหารมหาวิทยาลัย 5 รูป/คน และผู้ทรงคุณวุฒิทางจิตวิทยา 3 คน รวม 10 รูป/คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสุ่มจำนวน 470 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แนวคำถามในการสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยมีดังนี้
1.แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างความสุขของบุคลากรในองค์กรสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตัวแปรแฝงภายนอก 1 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรบุคลากรสร้างสุข ซึ่งประกอบด้วย ตัวแปรสังเกตได้ มี 4 ตัว แปร ได้แก่ ด้านสุขตัวเอง ด้านสุขครอบครัว ด้านสุของค์กร และด้านสังคม
2.โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุทางการเสริมสร้างความสุขของบุคคลากรในองค์กรสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 3 ตัวแปรส่งผ่าน คือ ตัวแปรสุขด้วยหลักธรรมสร้างสุข วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 6 ตัวแปร ได้แก่ เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม สาธารณโภคี สีลสามัญญตา และทิฏฐิสามัญญตา ภาวะผู้นำสร้างสุข วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 5 ตัวแปร ได้แก่ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย คิดเป็นระบบ ทักษะ และสื่อสารเก่ง องค์กรสร้างสุข วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 5 ตัวแปร ได้แก่ สุขด้วยการจัดการ สุขด้วยบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน สุขด้วยกระบวนการสร้างสุข สุขด้วยสุขภาพกายและสุขภาพใจ และสุขด้วยผลลัพธ์องค์กร
3.การเสริมสร้างความสุขของบุคลากรในองค์กรสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (X= 53.61, df = 142, p = .068, GFI = .90, AGFI = .85, RMSEA = .077) สามารถอธิบายความแปรปรวนองค์กรสร้างสุข ได้ร้อยละ 24 และพิจารณาตัวแปรส่งผ่าน (Mediators) พบว่า หลักธรรมสร้างสุข และภาวะผู้นำสร้างสุข มีอิทธิพลอ้อมสูงกว่าอิทธิพลตรง หมายความว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพุทธการเสริมสร้างความสุขของบุคลากรในองค์กรสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่พัฒนาขึ้น มีภาวะผู้นำสร้างสุข เป็นตัวแปรส่งผ่าน (Mediators) ที่ดี
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of the study aimed 1) to study the principles of enhancing the happiness of personnel and the principles of enhancing the happy organization based on Buddhist Psychology of Mahachulalongkornrajavidyalaya University; 2) to analytically study the process of enhancing happiness of personnel and the principles of enhancing the happy organization based on Buddhist Psychology of Mahachulalongkornrajavidyalaya University; and 3) to present a model of enhancing happiness for personnel and the principles of enhancing the happy organization based on Buddhist Psychology of Mahachulalongkornrajavidyalaya University. It was a mixed methods research using a quantitative method to expand a qualitative method, using an interview to collect qualitative data from 10 key informants who are Buddhist experts, university administrators and experts in psychology by a purposive selection, and using a questionnaire to collect quantitative data from a sample of 470 respondents by a random sampling method. A content analysis and inductive conclusion were used for analyzing qualitative data. And descriptive statistics, correlation analysis with software packages and analysis to verify model coherence with empirical data with LISREL program.
Results of the study were as follows:
1. Regarding the principles of enhancing the happiness of personnel and the principles of enhancing the happy organization based on Buddhist Psychology of Mahachulalongkornrajavidyalaya University it found that there was one external latent variable, namely, a variable of personnel to create happiness including 4 observable variables consisting of self-happiness, family happiness, organizational happiness and social happiness.
2. With respect to an analytical study of the process of enhancing happiness of personnel and the principles of enhancing the happy organization based on Buddhist Psychology of Mahachulalongkornrajavidyalaya University it revealed that it consisted of 3 mediators, namely, the variable of happiness with the doctrine of happiness measured from 6 observable variables including being amiable in deed, being amiable in word, being amiable in thought, sharing any lawful gains with virtuous fellows, keeping without blemish the rules of conduct along with one’s fellows and being endowed with right views along with one’s fellows; happiness leadership measured from 5 observable variables including happiness with management, happiness with the atmosphere and work environment, happiness through the process of creating happiness, happiness through physical and mental health and happiness with organization results.
3. In respect of a model of enhancing happiness for personnel and the principles of enhancing the happy organization based on Buddhist Psychology of Mahachulalongkornrajavidyalaya University it found that Chi-square value (X= 53.61, df = 142, p = .068, GFI = .90, AGFI = .85, RMSEA = .077) was able to explain the variance of organizations that created 24 percent happiness, while considering mediators it found that happiness doctrine and happiness leadership had had higher indirect influences than direct influences. This indicated that the casual relationship model for enhancing happiness of personnel in the happy organization based on Buddhist Psychology of Mahachulalongkornrajavidyalaya University as developed had happiness leadership as good mediators
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6101103048 | 6101103048 | 10.17 MiB | 17 | 9 ส.ค. 2564 เวลา 05:17 น. | ดาวน์โหลด |