โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธสถาปัตยกรรมเชิงจิตวิทยาส่งเสริมความปลอดภัยในองค์กร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Psychology Architecture Enhancing Safety in the Organization
  • ผู้วิจัยนายจำรัส พรหมบุตร
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.มั่น เสือสูงเนิน
  • วันสำเร็จการศึกษา06/08/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2050
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 5
  • จำนวนผู้เข้าชม 7

บทคัดย่อภาษาไทย

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการและองค์ประกอบการออกแบบภายในของพุทธสถาปัตยกรรมเชิงจิตวิทยาส่งเสริมความปลอดภัยในองค์กร 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการการออกแบบภายในของพุทธสถาปัตยกรรมเชิงจิตวิทยาส่งเสริมความปลอดภัยในองค์กร และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการออกแบบภายในของพุทธสถาปัตยกรรมเชิงจิตวิทยาส่งเสริมความปลอดภัยในองค์กร เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีที่ใช้วิธีเชิงปริมาณเพื่อขยายผลวิธีเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนา ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิทางจิตวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิทางสถาปัตยกรรม จำนวน 17 รูป/คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง และใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 430 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยมีดังนี้

1. หลักการและองค์ประกอบการออกแบบภายในของพุทธสถาปัตยกรรมเชิงจิตวิทยาส่งเสริมความปลอดภัยในองค์กรมีตัวแปรแฝงภายนอก 2 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรทางการออกแบบภายใน ซึ่งประกอบด้วย ตัวแปรสังเกตได้ มี 5 ตัวแปร 1) รสนิยม 2) การดีไซน์ 3) การใช้สอย 4) วัสดุ 5) สัดส่วน ตัวแปรทางจิตวิทยาการออกแบบ ซึ่งประกอบด้วย ตัวแปรสังเกตได้ มี 4 ตัวแปร 1) สีสัน 2) ขนาด 3) พื้นผิว 4) การจัดวาง

2. กระบวนการการออกแบบภายในของพุทธสถาปัตยกรรมเชิงจิตวิทยา ส่งเสริมความปลอดภัยในองค์กร ประกอบด้วย 2 ตัวแปรส่งผ่าน คือ ตัวแปรทางหลักสัปปายะ ซึ่งประกอบด้วย แปรสังเกตได้ มี 4 ตัวแปร 1) อาวาสสัปปายะ 2) โคจรสัปปายะ 3) อุตุสัปปายะ 4) อิริยาปถสัปปายะ ตัวแปรทางความปลอดภัย ซึ่งประกอบด้วย ตัวแปรสังเกตได้ มี 5 ตัวแปร 1) ด้านจิตใจ 2) ด้านบุคคล 3) ด้านการจัดการ 4) ด้านแรงจูงใจ 5) ด้านการติดตาม                     

3. รูปแบบการออกแบบภายในของพุทธสถาปัตยกรรมเชิงจิตวิทยา ส่งเสริมความปลอดภัยในองค์กร พบว่า สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X =63.72, df = 50, p = .092, GFI = .98, AGFI = .94, RMSEA = .023) สามารถอธิบายความแปรปรวน ความปลอดภัย ได้ร้อยละ 74 และพิจารณาตัวแปรส่งผ่าน (Mediators) พบว่า หลักสัปปายะ มีอิทธิพลอ้อมสูงกว่าอิทธิพลตรง หมายความว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพุทธสถาปัตยกรรมเชิงจิตวิทยาส่งเสริมความปลอดภัยในองค์กรที่พัฒนาขึ้น  มีหลักสัปปายะ เป็นตัวแปรส่งผ่าน (Mediators) ที่ดี

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of the study aimed 1) to study the principles and interior design elements of Buddhist Psychology Architecture enhancing the safety in the organization; 2) to analytically study an interior design process of Buddhist Psychology Architecture enhancing the safety in the organization; and 3) to present an interior design model of Buddhist Psychology Architecture enhancing the safety in the organization. It was a mixed methods research using a quantitative method to expand a qualitative method, using an interview to collect qualitative data from 17 key informants who are Buddhist experts, university administrators, experts in psychology, experts in education and experts in Architecture by a purposive selection, and using a questionnaire to collect quantitative data from a sample of 430 respondents by a random sampling method. A content analysis and inductive conclusion were used for analyzing qualitative data. And descriptive statistics, correlation analysis with software packages and analysis to verify model coherence with empirical data with LISREL program.

Results of the study were as follows: 

1.In respect of the principles and interior design elements of Buddhist Psychology Architecture enhancing the safety in the organization it found that there were 2 external latent variables, namely, the variable of interior design with 5 observable variables including 1) taste, 2) design, 3) using, 4) material, 5) proportion; the variable of Psychological design with 4 observable variables including 1) color,        2) size, 3) texture, 4) placement.

2. Regarding an analytical study of an interior design process of Buddhist Psychology Architecture enhancing the safety in the organization it revealed that there were 2 mediators, namely, the variable of Sappaya including 4 observable variables consisting of 1) Avassappaya, 2) Gocarasappaya, 3) Utusappaya, 4) Iriryapathasappaya; the variable of safety including 5 observable variables consisting of 1) mental variable, 2) personnel variable, 3) management variable, 4) motivation variable, and 5) follow up variable.

3. With respect to a model of an interior design model of Buddhist Psychology Architecture enhancing the safety in the organization it found that Chi-square value      (X =63.72, df = 50, p = .092, GFI = .98, AGFI = .94, RMSEA = .023) could have explained the variance of 74 percent safety, while considering mediators it found that the principles of Sappaya had higher indirect influences than direct influences. This indicated that the casual relationship model of Buddhist Psychology Architecture enhancing the safety in the organization as developed had Buddhist Psychology Architecture enhancing the safety in the organization as good mediators.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6101103052 6101103052 13.01 MiB 5 9 ส.ค. 2564 เวลา 05:43 น. ดาวน์โหลด