โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    โปรแกรมพุทธจิตวิทยาการสร้างเสริมความสุขการคิดบวกบุคลากรสายอาชีพช่าง
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Buddhist Psychology Program for Happiness Enhancing from Positive Thinking of Technicians
  • ผู้วิจัยนายชยพล มั่นจิต
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.มั่น เสือสูงเนิน
  • วันสำเร็จการศึกษา06/08/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2051
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 12
  • จำนวนผู้เข้าชม 13

บทคัดย่อภาษาไทย

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีพุทธจิตวิทยาการสร้างเสริมความสุขในการทำงานบุคลากรสายอาชีพช่าง 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพุทธจิตวิทยาการสร้างเสริมความสุขการคิดบวกบุคลากรสายอาชีพช่าง และ 3) เพื่อนําเสนอโปรแกรมพุทธจิตวิทยาการเสริมสร้างความสุขการคิดบวกบุคลากรสายอาชีพช่างในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยกึ่งทดลอง  โดยใช้แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้างเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่เชี่ยวชาญด้านพุทธจิตวิทยาและด้านอาชีพช่าง จำนวน 17 ท่าน และใช้ แบบวัดความสุขในการทำงานบุคลากรสายอาชีพช่าง จำแนกเป็นด้านความสุข ด้านคิดบวก ด้านอิทธิบาท ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นที่ ระดับ 0.890 และแบบประเมินโปรแกรมพุทธจิตวิทยาการเสริมสร้างความสุขการคิดบวกบุคลากรสายอาชีพช่าง เก็บข้อมูลเชิงทดลองจากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรอาชีพช่างปรับอากาศ 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 22 คน และกลุ่มควบคุม 22 คน ในระยะเวลา จํานวนทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อน  ทดลอง หลังทดลอง และติดตามผล 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา การเปรียบเทียบภายในกลุ่มโดยใช้สถิติ Paired t- test และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t- test

ผลการวิจัยมีดังนี้

1. แนวคิดทฤษฎีพุทธจิตวิทยาการสร้างเสริมความสุขในการทำงานบุคลากรสายอาชีพช่าง พบว่า การสร้างเสริมความสุขการในการทำงานบุคลากรสายอาชีพช่าง ใช้หลักพุทธธรรม คือ อิทธิบาท 4 บูรณาร่วมกับหลักจิตวิทยาเชิงบวก เป็นแนวทางในการพัฒนาเครื่องมือเพื่อสร้างเสริมความสุขให้เกิดกับบุคลากรสายอาชีพช่างและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของบุคลากรช่างเครื่องปรับอากาศให้เป็นช่างแนวพุทธจิตวิทยา คือ มีจิตใจเมตตากรุณา มีสติสัมปชัญญะ มีความซื่อสัตย์ มีความภาคภูมิใจในตัวเอง และอาชีพ มีความสุขในการทำงานตามหลักพุทธธรรมครอบคลุมความสุขเชิงองค์รวม 4 ประการ ได้แก่ ความสุขทางกาย ความสุขทางสังคม ความสุขทางจิตใจ และความสุขทางปัญญา

2. การพัฒนาโปรแกรมพุทธจิตวิทยาการสร้างเสริมความสุขการคิดบวกบุคลากรสายอาชีพช่าง พบว่า มีการใช้ 12 กิจกรรม คือ การสร้างสัมพันธภาพ การเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ สร้างเสริมความคิดเชิงบวก การมุ่งความสำเร็จ คุณค่าฉัน คุณค่างาน ร้อยดวงใจเป็นหนึ่งเดียว ทำงานด้วยความสุข เรื่องเล่าสร้างพลังใจ สมาธิเคลื่อนไหว สวดมนต์ ชีวิตมีความหมาย พัฒนาตนแบบช่างสายพุทธ มีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นเริ่มต้น ขั้นดำเนินกิจกรรม ขั้นวิเคราะห์ ขั้นสรุป การประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ด้วยหลักการประเมินระบบแบบอิงมาตรฐาน (Evaluation Standard) ประกอบด้วย 4 หมวด ได้แก่ ด้านความถูกต้องและครอบคลุม (Accuracy) ด้านความเหมาะสม (Propriety) ด้านความเป็นไปได้ในการนําไปใช้ (Feasibility) ความมีประโยชน์ (Utility) ผลการประเมินมีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ในการนำไปใช้ และมีประโยชน์ในระดับมากที่สุดทุกด้าน สรุปได้ว่า โปรแกรมมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ได้จริง

3. การนําเสนอโปรแกรมพุทธจิตวิทยาการเสริมสร้างความสุขการคิดบวกบุคลากรสายอาชีพช่าง พบว่า ผลการเสริมสร้างความสุขการคิดบวกบุคลากรสายอาชีพช่างหลังการเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีระดับความสุขในการทำงานแตกต่างกันในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังทดลอง และระยะติดตามผล โดยมีคะแนนเฉลี่ยความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value= .000) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมมีคะแนนความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้นสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value= .000) ทั้งในระยะก่อนทดลอง ระยะหลังทดลอง และระยะติดตามผล

องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาวิจัย บุคลากรสายอาชีพช่างเครื่องปรับอากาศมีคุณลักษณะของช่างตามหลักพุทธจิตวิทยาที่ดี 5 ประการ ได้แก่ ความซื่อสัตย์เชื่อถือได้ มีสติ สัมปชัญญะ มีจิตใจที่เมตตากรุณา และมีความภาคภูมิใจในตัวเองและอาชีพ ซึ่งส่งผลต่อความสุขในการทำงาน เรียกว่า ช่างสายพุทธโมเดล  455”  

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The study aimed 1) to study the concepts of Buddhist Psychology for happiness enhancing from a positive thinking of technicians; 2) to develop the Buddhist Psychology program for happiness enhancing from positive thinking of technicians; and 3) to present the Buddhist psychology program for happiness enhancing from positive thinking of technicians in the post-trial and follow-up period. The study was a quasi-experimental research in nature, using a Structured interview to collect qualitative data from 17 key informants who are experts in Buddhist Psychology and technical vocation, and using a measure of happiness in working for technicians classified into happiness, positive thinking and Iddhipada 4 with a confidence score at 0.890, and a Buddhist Psychology Program Assessment of happiness enhancing for positive thinking of technicians to collect data of experimental research from the samples  of 44 conditioning technicians divided into 22 samples of an experimental group and 22 samples of a control group in a period of total 16 hours divided into 3 phases, namely pre-experimental period, post-experimental period, and 1-month follow-up period. The analysis of qualitative data was used a content analysis and a descriptive statistics and an intra-group comparison in terms of paired t-test and independent t-test were used for analyzing experimental data.

Results of the study were as follows:

1. Regarding a study of the concepts of Buddhist Psychology for happiness enhancing from a positive thinking of technicians  it found that the happiness enhancing from a positive thinking of technicians applied the Buddhadharma of Iddhipada 4 integrated with the Psychological principles of positive thinking as a guideline for developing instruments of happiness enhancing and good characteristics of air conditioning  technicians as Buddhist Psychology-based technicians with a compassionate mind, mindfulness and consciousness, honesty, career and self-esteem, and a happiness in working according to the Buddhadharma covering 4 holistic happiness, namely, a physical happiness, social happiness, mental happiness and intellectual happiness.

2. In respect to a development of the Buddhist Psychology program for happiness enhancing from positive thinking of technicians it revealed that Buddhist psychology program for happiness enhancing from positive thinking for technician applied 12 activities including relationship building, human understanding, enhancing positive thinking, aiming to ambition,  career and self-esteem, 100 hearts as one, happy working, powerful story, motion meditation, chanting, meaningful life, and Buddhist technicians developing, by using 4 steps of implementation of activities including initiation, operation, analysis, and conclusion, with the assessment of the program by experts using an evaluation standard comprising 4 categories with accuracy, propriety, feasibility and utility which had the appropriate evaluation results possible to apply and useful at the highest level in every aspect, in the conclusion of which the program is efficient and applicable.

3. With regard to the presentation of the Buddhist psychology program for happiness enhancing from positive thinking of technicians it revealed that the results of happiness enhancing from positive thinking of technicians after the program, the experimental group had significantly higher overall average score of happiness in working than control group (P-value=.000) before experiment, after experiment and follow-up period, while comparing two groups it revealed that the experimental group had significantly higher overall average score of happiness in working than control group who did not participate in the program (P-value=.000) before experiment, after experiment and follow-up period.

New knowledge gained from the study comprises 5 decent attributes of air conditioning technicians based on Buddhist Psychology including trustworthiness, mindfulness and consciousness, compassionate mind, and career and self-esteem, resulted in happiness in working, called “Buddhist Technicians Model 455”.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6101103053 6101103053 10.65 MiB 12 9 ส.ค. 2564 เวลา 08:49 น. ดาวน์โหลด