-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการบริหารสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Model of Holistic Health Management of the Elderly According to the Threefold Principles in Thai Society
- ผู้วิจัยพระสมุห์กันตพัฒน์ สุภทฺโท (เจริญจรัสวาศน์)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.บุญเชิด ชำนิศาสตร์
- ที่ปรึกษา 2ดร.ทองดี ศรีตระการ
- วันสำเร็จการศึกษา15/02/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2052
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 180
- จำนวนผู้เข้าชม 271
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในสังคมไทย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขาในสังคมไทย 3) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขาในสังคมไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณสอบถามพระสังฆาธิการและผู้สูงอายุในสังคมไทย จำนวน 500 รูป/คน สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติบรรยายการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์รูปแบบด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์และเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูป/คน สนทนากลุ่ม จำนวน 10 รูป/คน ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า:
สภาพการบริหารสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในสังคมไทย พบว่า สภาพการบริหารสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในสังคมไทย ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาค่าความเบ้และความโด้งมีค่าเป็นลบค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย มีการกระจายของข้อมูลน้อย ทุกตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่าพิสัยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.664 ถึง 0.839 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
พัฒนารูปแบบการบริหารสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขาในสังคมไทยประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ คือ สภาพแวดล้อม หลักการ และวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 ตัวแบบ คือ ระบบงาน และกระบวนการจัดการ ส่วนที่ 3 ขั้นตอนการนำไปใช้ คือ โครงสร้าง การตัดสินใจ แนวทางการประเมิน ส่วนที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ
เสนอรูปแบบการบริหารสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขาในสังคมไทย ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ คือ สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก คุณลักษณะของผู้สูงอายุ หลักการดูแลผู้สูงอายุใน 4 ลักษณะ วัตถุประสงค์ในการดูแลผู้สูงอายุ 8 ข้อ ส่วนที่ 2 ตัวแบบ คือ ระบบงาน ได้แก่ องค์ประกอบของสุขภาวะองค์รวมด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านปัญญา/จิตวิญญาณ และหลักไตรสิกขา ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุด้านความมั่นคงในชีวิต จำนวน 4 ชุดความรู้ กระบวนการจัดการ ได้แก่ การดูแลผู้สูงอายุตามสิทธิ ส่วนที่ 3 ขั้นตอนการนำไปใช้ ได้แก่ โครงสร้าง การตัดสินใจ แนวทางการประเมิน บูรณาการกับหลักไตรสิกขา ส่วนที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับบริบทของสังคมไทย โดยผลการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขาในสังคมไทยที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (MHHM) ผู้วิจัย ได้ทำการปรับรูปแบบ จำนวน 161 ครั้ง พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (c2 = 261.89, df = 132 , p = 0.089)
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research are; 1) to study the overall well-being state of the elderly in Thai society, 2) to develop a model of the holistic health management of the elderly in Thai society according to the Threefold Training principles, and 3) to propose a model of the holistic well-being management of the elderly in Thai society according to the Threefold Training principles. The mixed research methodology was used in the study. The quantitative data were collected from 500 samples consisting of monks and the elderly in Thai society and analyzed by percentage, mean, standard deviation, Pearson correlation analysis, and compact computerized programs. The qualitative data were collected by in-depth interviewing with 10 experts and by focus group discussion with key-informants and then analyzed by content analysis.
The research results found that:
The state of holistic health management of the elderly in Thai society overall was at a high level in four aspects. When Skewness and Kurtosis were considered, the negative value was found. For the distribution coefficient, a little distribution of information was found. The relation of information was statistical significant at the 0.01 level, the correlation coefficient ranged from .664 to .839.
Development of a holistic health management model for the elderly in Thai society according to the Threefold Training principles consists of 4 parts: Part 1, the leading part is environment, principles and objectives, part 2: The model is the work system and management process, part 3 is the application process consisting of structure, decision and assessment approach, and part 4 is conditions for success.
The proposed model for the holistic health management of the elderly in Thai society according to the Threefold Training principles consist of 4 parts, namely, part 1, the leading part is the internal and external environment, the elderly attribute principles, 4 principles of the elderly care, and 8 objectives in the elderly care, part 2, the model is work system, namely the holistic components of physical, mental, social, intellectual or spiritual well-being, principles of the Threefold Training, four sets of knowledge on self-care and development of the elderly in life security, and the knowledge of the management process, namely the care of the elderly according to their rights, part 3 is the application process consisting of structure, decision, assessment guidelines and integration with the principles of Threefold Training, and part 4 is the success conditions depending on contexts of Thai society. By examining the consistency of the holistic health management model of the elderly in Thai society according to the Threefold Training principles created with empirical data (MHHM), the holistic health management model was adjusted for 161 times, and then it was found that the model was consistent with the empirical data based on the chi-square value. (c๒ = 261.89, df = 132 , p = 0.089).
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6101102010 | 6101102010 | 10.53 MiB | 180 | 9 ส.ค. 2564 เวลา 06:04 น. | ดาวน์โหลด |