โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยาเพื่อเข้าสู่การตลาดในทศวรรษหน้า
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Model of Preparation for Aging Society Based on Buddhist Psychology for Marketing Approach in the Next Decade
  • ผู้วิจัยนางสาวพันทิวา กฤษฎาชาตรี
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • วันสำเร็จการศึกษา28/03/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2055
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 5
  • จำนวนผู้เข้าชม 18

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์

             1) เพื่อศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้สูงอายุในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในทศวรรษหน้า 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยาเพื่อเข้าสู่การตลาดในทศวรรษหน้า 3) เพื่อตรวจสอบและนำเสนอรูปแบบการเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยาเพื่อเข้าสู่การตลาดในทศวรรษหน้า งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมวิธีแบบพหุระยะ โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อตรวจสอบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและเสริมการวิจัยอนาคตด้วยเทคนิค EDFR  เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากงานเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและพุทธศาสนา และนักการตลาด จำนวน17 รูป/คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 500 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติแบบบรรยายและค่าสหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป รวมทั้งตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์และวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมด้วยโปรแกรม LISREL

ผลการวิจัยมีดังนี้

1. แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในทศวรรษหน้า พบว่า การคาดการณ์คุณลักษณะของผู้สูงอายุในอนาคต จำเป็นต้องศึกษาบริบทของสังคมในปัจจุบัน เพื่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งทางกายภาพ ได้แก่ ความมั่นคงทางการเงิน สุขภาพ และที่สำคัญอย่างยิ่งคือความพร้อมจากภายใน ในขณะที่ผู้สูงอายุยังคงต้องการความสำเร็จ และดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ในขณะเดียวกันในแง่ของสังคมก็ต้องการการยอมรับจากคนรอบข้างและสังคม และผลการวิเคราะห์เนื้อหาจากวิธีการเชิงคุณภาพ พบว่า รูปแบบการเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยาเพื่อเข้าสู่การตลาดในทศวรรษหน้า จำเป็นต้องใช้หลักโยนิโสมนสิการและมีกัลยาณมิตรที่ดีในการคอยช่วยเหลือและชี้แนะเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความพร้อมใน1) มิติของการมองโลก 2) มองตน 3) สัมพันธภาพต่อผู้อื่นและสังคม และ 4) ความสามารถทางจิตวิญญาณ ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุสามารถพัฒนาตนเพื่อเตรียมความพร้อมของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางของผู้สูงอายุในทศวรรษหน้าตามหลักพุทธจิตวิทยา

2. รูปแบบการเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยาเพื่อเข้าสู่การตลาดในทศวรรหน้า ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 4 ตัวแปรแบ่งเป็นตัวแปรภายในแฝง 2 ตัวแปร ตัวแปรภายนอกแฝง 2 ตัวแปร และตัวแปรสังเกตได้16 ตัวแปร สามารถสรุปกรอบสมการโครงสร้างของโมเดลเชิงสาเหตุที่แสดงอิทธิพลของคุณลักษณะของผู้สูงอายุในทศวรรษหน้าและคุณลักษณะเชิงพุทธที่มีต่อความพร้อมของผู้สูงอายุเพื่อเข้าสู่การตลาดในทศวรรษหน้า โดยมีตัวแปรโยนิโสมนสิการเป็นตัวแปรเชื่อมโยงระหว่างตัวแปรภายนอกแฝงกับตัวแปรภายในแฝง

3. ผลการตรวจสอบรูปแบบการเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยาเพื่อเข้าสู่การตลาดในทศวรรษหน้า พบว่า รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้ค่า c2 = 80.73, df = 68, p = .138, GFI = .980, AGFI = .960, RMSEA = .019, RMR = .022 สามารถอธิบายความแปรปรวนของแนวคิดโยนิโสมนสิการได้ร้อยละ 3๑.5 และอธิบายความแปรปรวนของความพร้อมของผู้สูงอายุเพื่อเข้าสู่การตลาดในทศวรรษหน้าได้ ร้อยละ 49.๑ เป็นที่น่าสังเกตว่าคุณลักษณะของผู้สูงอายุมีขนาดอิทธิพลทางอ้อมต่อความพร้อมของผู้สูงอายุเพื่อเข้าสู่การตลาดในทศวรรษหน้า โดยมีแนวคิดโยนิโสมนสิการเป็นตัวแปรส่งผ่าน ผลการวิเคราะห์ฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการเตรียมความพร้อมของสังคมผู้สูงอายุเพื่อเข้าสู่การตลาดในทศวรรษหน้า ด้วยเทคนิค EDFR พบว่า ค่าพิสัยควอไทล์ (Q3-Q1) ไม่เกิน1.50 ความแตกต่างระหว่างมัธยฐานและฐานนิยม ไม่เกิน1.00 แสดงให้เห็นว่า ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน (consensus) ปรากฏเป็นอนาคตภาพให้เกิดการตระหนักรู้และเข้าใจในสภาพสังคมผู้สูงอายุในปี พ.ศ.2563 อันจะทำให้เกิดการปรับแนวความคิดเพื่อให้มีความพร้อมรองรับความเปลี่ยนแปลงในปี พ.ศ.2568 เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนภายในปี พ.ศ.2573 ดังนั้น รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นจะทำให้ผู้สูงอายุมีความพร้อมในมิติของการมองโลก (Cosmic Dimension: C) มิติการมองตน (Self-Dimension: S)  มิติด้านสัมพันธภาพต่อผู้อื่นและสังคม (Social and personal relations dimension: S) และความสามารถทางจิตวิญญาณ (Spiritual Ability: S) จึงเป็นโมเดล C3S for Smart Aging มีอิทธิพลต่อแนวคิดของผู้สูงอายุในอีก 10 ปีข้างหน้า

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              Objectives of the study were

              1) to study guidelines for the elderlys preparation of entering the aging society in the next decade; 2) to construct a preparation model for the aging society based on Buddhist psychology for the next decade marketing approach; and 3) to validate and propose a preparation model for the aging society based on Buddhist psychology for the next decade marketing approach. The study was a Multi-phase mixed methods research using a quantitative method to extend qualitative results and EDFR technique of future research. Qualitative data were collected from documents and an in-depth interview was employed for collecting qualitative data from 17 key informants as experts in Psychology, Buddhism and Marketing selected by a purposive sampling method, and a questionnaire was used for collecting quantitative data from 500 samples selected by a simple random sampling method. A content analysis and analytic induction were used for qualitative data analysis. For analyzing quantitative data, descriptive statistics and correlation were analyzed by a computer package. Moreover, the validation of the model with empirical data, and direct and indirect effects were analyzed by LISREL program.

    Research results were as follows:

1. With regard to guidelines for the elderlys preparation of entering the aging society in the next decade it found that the prediction of the characteristics of the elderly in the future needed the study of the context of today's society in order to prepare for effectively entering the aging society in the physical form including financial security and health. The most important thing was the internal readiness so that the elderly still needed success and living with goals. At the same time, they also needed the acceptance from peers and society. Moreover, Results of the content analysis from qualitative method were revealed that a preparation model for the aging society based on Buddhist Psychology for the next decade marketing approach needed using the principles of Yonisomanasikara and Kalyanamitra to help and guide the elderly to be ready for 1) Cosmic Dimension, 2) Self-Dimension, 3) Social and personal relationship dimension, and 4) Spiritual ability, enhancing the elderly to be able to develop and prepare themselves effectively in the guidelines of the elderly in the next decade based on Buddhist Psychology.

2. A preparation model for the aging society based on Buddhist Psychology for the next decade marketing approach consisted of 4 latent variables divided into 2 endogenous latent variables, 2 exogenous latent variables and 16 observable variables which could summarize the framework of the casual structure equation model that showed effects of the characteristics of the elderly in the next decade and the Buddhist characteristics on the elderlys readiness for entering the next decade market with the concept of Yonisomanasikara variable as the mediator between exogenous latent variables and endogenous latent variables.

3. The validated result of a preparation model for the aging society based on Buddhist Psychology for entering the next decade marketing approach showed that the developed model was accorded to the empirical data with a Chi-square (c2) of 80.73, degree of freedom (df) of 68, probability (p) of.138, Goodness of Fit Index (GFI) of.980, Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) of .960, a Root Mean Square Error of Approximation of .019, Resting Metabolic Rate (RMR) of .022, being explainable to variations in the concept of Yonisomanasikara with 31.5 percent, and in readiness of the elderly for entering in the next decade market in the next decade of 49.1 percent. The interesting result showed that the elderlys characteristics had an indirect effect on the elderlys readiness for entering the next decade market with the concept of Yonisomanasikara as a mediator variable. Moreover, the analyzing result of the expertsconsensus on a preparation model for the aging society based on Buddhist Psychology for the next decade marketing approach by the EDFR technique indicated that an interquartile range (Q3-Q1) was less than 1.50, and the absolute difference between median and mode was less than 1.00 that indicated that expertsconsensus manifested in the future scenario of realization and understanding the state of the aging society in 2020, enhancing the adjustment of mindset for the change in 2025 for a continuous and sustainable  development in 2030. Therefore, the developed model will enhance the elderly to be ready for Cosmic dimension (C), Self-Dimension (S), Social and personal relationship dimension (S), Spiritual ability (S). It is a C3S model for Smart Aging effecting on the elderlys mindset in the next decade.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
5801503014 5801503014 2.11 MiB 5 9 ส.ค. 2564 เวลา 13:54 น. ดาวน์โหลด