-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตําบลร่องคํา อําเภอร่องคํา จังหวัดกาฬสินธุ์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Political Participation of People in The Rongkhum Subdistrict Municipality, Rongkhum District, Kalasin Province
- ผู้วิจัยพระมหาสําราญ นนทพุทธิ (ทะศูนย์)
- ที่ปรึกษา 1อาจารย์ ดร.ยุทธนา ปราณีต
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.เติมศักดิ์ ทองอินทร์
- วันสำเร็จการศึกษา31/03/2016
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2068
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 196
- จำนวนผู้เข้าชม 495
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขต เทศบาลตําบลร่องคํา อําเภอร่องคํา จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตําบลร่องคํา อําเภอร่องคํา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขต เทศบาลตําบลร่องคํา อําเภอร่องคํา จังหวัดกาฬสินธุ์ ระเบียบวิธีวิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณกํา หนดกลุ่มตัวอย่าง 375 คนจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตําบลร่องคํา โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F - test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis of variance ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย เป็นคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสําคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) การวิจัยเชิงคุณภาพนั้น กําหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informants) 7 คน เลือกอย่างเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง (Structured indepth-interview) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth-interview) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ (descriptive interpretation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตําบลร่องคํา อําเภอร่องคํา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅=3.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านสามารถเรียงลําดับได้ดังนี้ ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง (X̅=3.73) มีระดับมาก รองลงมาคือด้านการไปใช้สิทธิและมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง (X̅=3.65) และที่อยู่ในระดับสุดท้าย คือ ด้านการแสดงประชามติและประชาพิจารณ์ (X̅=3.18) อยู่ในระดับปานกลาง
2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตําบลร่องคํา อําเภอร่องคํา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยจําแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลพบว่าประชาชนที่มีเพศและอาชีพต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตําบลร่องคํา อําเภอร่องคํา จังหวัดกาฬ สินธุ์ โดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มีอายุ การศึกษา และรายได้ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตําบลร่องคํา อําเภอร่องคํา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
3. ปัญหาอุปสรรคในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาล ตําบลร่องคํา อําเภอร่องคํา จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ประชาชนส่วนมากได้รับข้อมูลข่าวสารไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร และประชาชนไม่มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารระดับหมู่บ้าน ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการเข้าร่วมกิจ กรรม ทางการเมืองและประชาชนไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มทางการเมือง ประชาชนไม่ตระหนัก และใช้ความสําคัญในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นในการวางแผนโครงการหรือกิจกรรมของชุมชนเพื่อกําหนดแนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของการบริหารเทศบาล ตําบล น้อยมาก เนื่องจากเทศบาลได้ทําการประชาพิจารณ์น้อยในการแสดงความคิดเห็น
สําหรับข้อเสนอแนะพบว่า ควรจะมีการจัดกิจกรรมหรือรณรงค์ให้ประชาชนได้รับรู้ข่าวสาร ควร จัดทําสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบข่าวสารทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ ควรสนับ สนุนให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง ควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้งและการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเมือง ควรเพิ่มความรู้ให้แก่ประชาชนตระหนักถึงความสําคัญของการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เทศบาลควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานในโครงการต่างๆ เพื่อเสนอปัญหาและการสํารวจปัญหาของตนในพื้นที่ที่ประชาชนต้องการเพื่อเสนอทางออกร่วมกันและเสนอต่อเทศบาลให้จัดสรรงบประมาณลงไปแก้ไข ปัญหาเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ควรรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายของประชาชนเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขต่อไป
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were 1) to study the political participation of people in the Rongkhum sub district municipality, Rongkhum district, Kalasin province 2) to compare the political participation of people in the Rongkhum sub district municipality, Rongkhum district, Kalasin province, classified into personal factor and 3) to study problem, solution and suggestion of the political participation of people in the Rongkhum sub district municipality, Rongkhum district, Kalasin province. This research was the mixed research both quantitative and qualitative research. The sampling were consisted of 375 residents from the people who live in the Rongkhum sub district municipality by cluster sampling using the questionnaire as the tool to collect the data by finding frequency, percentages, Mean, and Standard deviation for describing and testing hypotheses by T-test, F-test and One way ANOVA. The test of the differences Means in each pair was done by the Least Significants Difference: LSD.
The qualitative research method identified the 7-key informants and selected by expert. The tool to collect the data are structured in-depth interview, indepth and descriptive interpretation.
The research findings were as follows:
1. The political participation of people in the Rongkhum sub district municipality, Rongkhum district, Kalasin province was overall opinion in maximum level (X̅=3.50), and considered in each field by arranging follow by the acknowledge of politics (X̅=3.73) was in maximum level, the participation of election (X̅=3.65), and referendum and public hearing (X̅ =3.18) i was in medium level respectively.
2. The opinion compared on the political participation of people in the Rongkhum sub district municipality, Rongkhum district, Kalasin province classified into personal factor. We found that people in different sex and career have political participation in the Rongkhum sub district municipality, Rongkhum district, Kalasin province was overall opinion not much differences. So, we disapproved the hypothesis. But people in different age, educational background and income was overall opinion much differences, so we accepted the hypothesis.
3. Problem and obstacle of the political participation of people in the Rongkhum sub district municipality, Rongkhum district, Kalasin province, it was found that Most people did not know about the political news enough and in their villages did not have the center to spreading the news. People lacked of knowledge and understanding about the political participation activities and people were not the member of the political groups or political party. People did not recognize and did not know how important of their voices and rights in the election. People had not much opinion to plan about the project and activities in community for set up the developed ways and the management to the problem of the administration of sub district municipality because the sub district municipality made not much public hearing.
The suggestions, it was found that the sub district municipality should have activities and campaign to make the understanding to the people, set up the media to publicize to the people, should support the political participation of people, should support to set up and cooperate the political groups, add the information about the election to the people to recognize their voice, the sub district municipality should give the opportunity to the people to administrate the projects for presenting the problem and work together to finding the solution and present them to the sub district municipality for providing the budget to improve the problem better and should listen to the different opinion for finding the problem solution.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 9.39 MiB | 196 | 10 ส.ค. 2564 เวลา 04:09 น. | ดาวน์โหลด |