-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบูรณาการหลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบลโบสถ์ อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Integration of Royal Virtues for Administration of Administrators in Both Sub-district Administrative Organization, Phimai District Nakhonratchasima Province
- ผู้วิจัยพระมหาประภาส โชติเมธี (รักไร่)
- ที่ปรึกษา 1อาจารย์ ดร.ธงชัย สิ่งอุดม
- ที่ปรึกษา 2อาจารย์ ดร.บุษกรวัฒนบุตร
- วันสำเร็จการศึกษา31/03/2016
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2071
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 459
- จำนวนผู้เข้าชม 224
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบลโบสถ์ อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริ หารงานตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบลโบสถ์ อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา โดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบลโบสถ์ อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้สํารวจกลุ่มตัว อย่างที่ใช้ในการวิจัย คือประชาชนในองค์การบริหารส่วนตําบลโบสถ์ อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา จํานวน 370 คน โดยเลือกประชาชนจํานวน 4,846 คน จากหมู่บ้านที่มีขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ จํานวน 5 หมู่บ้าน จากทั้งหมด 27 หมู่บ้าน ซึ่งใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yanmane) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อ มูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชา กร คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นการบูรณาการหลัก ทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบลโบสถ์ อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา คือค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบ ค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปร ปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่าง ค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสําคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อ มูลหลัก (Key Informants) จํานวน 7 ท่าน และใช้เทคนิคการ วิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบูรณาการหลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารงานของ ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบลโบสถ์ อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X̅= 3.66) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน คือ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์การ ด้านการบังคับ บัญชาสั่งการ ด้านการประ สานงาน และด้านการควบคุม พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบูรณาการหลักทศพิธ ราชธรรมเพื่อการบริหารงานที่พึงประสงค์ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบล โบสถ์ อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบูรณาการหลักทศพิธราชธรรม เพื่อการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบลโบสถ์ อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา โดยจํา แนกตามสถานภาพส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า ประชาชนที่มีการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติ ฐานการวิจัย สําหรับสถานภาพส่วนบุคคลที่เหลือไม่มีผลต่อความคิดเห็นของบุคลากร จึงปฏิเสธสมมติ ฐานการวิจัย
3. ปัญหาและอุปสรรคต่อการบูรณาการหลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารงานของ ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบลโบสถ์ อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตําบลขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงานในโครงการต่างๆ ไม่สามารถทําได้ตามแผนงานที่ ได้แจ้งกับประชาชน หรือมีการเปลี่ยนแปลงแผนงานแล้วไม่แจ้งประชาชนให้รับทราบ อีกทั้งยังมีการแบ่งพรรคแบ่งพวกทําให้เกิดความไม่สามัคคีในหมู่คณะ ข้อเสนอแนะต่อการบูรณาการหลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบลโบสถ์ อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พบว่า องค์การบริหารส่วนตําบลควรที่จะเร่งดําเนินโครงการต่างๆ ให้สําเร็จเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่ และควรที่จะมีนโยบายหรือจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ให้ประชาชนได้ทํางานร่วมกันได้ช่วยเหลือเกื้อ กูลกันละกันเพื่อให้ประชาชนทุกคนในพื้นที่เกิดความรักความสามัคคีกันอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และควรที่จะส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงให้มี อาชีพเสริมนอกจากทําการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลัก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this study were : 1) to study the integration of royal virtues for admini stration of administrators in Both sub-district administrative organization, Phimai district Nakhonratchasima province, 2) to compare the integration of royal virtues for administration of administrators in Both sub-district administrative organization, Phimai district Nakhonratchasima province, classified by personnel factors, and 3) to study problems obstacles and suggestions the integration of royal virtues for administration of administrators in Both sub-district administrative organization, Phimai district Nakhonratchasima province. The research methodology was the mixed method research between the quantitative and qualitative methods. for the quantitative research, the data were collected by 370 questionaire both closed and opened end with the 370 from 4,846 persons who lived in Both sub-district administrative organization, Phimai district Nakhonratchasi ma province. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation : S.D., t-test, f-test and one-way analysis of variance and least significant difference : lsd, while the qualitative research collected data by in-depth interview from 7 key informants.
The research findings were as follows :
1. The integration of royal virtues for administration of administrators in Both sub-district administrative organization, Phimai district Nakhonratchasima province found that the overall were in high level at average as 3.66 that the same result when considered by each aspect follows : planning, organizing, commanding, coordinating and controlling.
2. The comparison the integration of royal virtues for administration of administrators in Both sub-district administrative organization, Phimai district Nakhonratchasima province, classified by personnel factors found that the people who had different education disagreed with indifferent in significant at 0.05, thus the hypothesis was accepted. while the rest of factors were not response, thus the hypothesis were rejected.
3. The problems obstacles and suggestions the integration of royal virtues for admini stration of administrators in Both sub-district administrative organization, Phimai district Nakhon ratchasima province found that this organization lacked of continuous in project procedure that did not follow plan that communicated with the people and the people lacked of unity. then the suggestions should be controlled the projects be finished in time that were become to the application for be aid in this community.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 8.41 MiB | 459 | 10 ส.ค. 2564 เวลา 05:25 น. | ดาวน์โหลด |