-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร กองเทคโนโลยีทําแผนที่ กรมที่ดิน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษApplication of Buddha-dhamma for Efficiency Development of Personnel in Mapping Technology Division Department of Lands
- ผู้วิจัยนางสาวณภัทร ศิลปมา
- ที่ปรึกษา 1อาจารย์ ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
- ที่ปรึกษา 2อาจารย์ ดร.บุษกร วัฒนบุตร
- วันสำเร็จการศึกษา10/03/2016
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2073
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 560
- จำนวนผู้เข้าชม 385
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร กองเทคโนโลยีทําแผนที่ กรมที่ดิน 2. เพื่อเปรียบเทียบการ ประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร กองเทคโนโลยีทําแผน ที่ กรมที่ดิน โดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. ศึกษาปัญหาแนวทางการประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร กองเทคโนโลยีทําแผนที่ กรมที่ดิน
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ดําเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณดําเนินการโดยศึกษากลุ่มตัวอย่าง จํานวน 112 คน ซึ่งเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ จากประชากรซึ่งเป็นบุคลากรของกองเทคโนโลยีทําแผนที่ กรมที่ดิน จํานวน 155 คน กําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล คือแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.462 สถิติที่ใช้การในวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตร ฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว และ เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยวิธีผลต่างนัยสําคัญน้อยที่สุด การวิจัยเชิงคุณภาพดําเนินการโดยสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 7 คน ซึ่งเป็นบุคลากร กองเทคโนโลยีทําแผนที่ กรมที่ดิน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1) การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของบุคลากร กองเทค โนโลยีทําแผนที่ กรมที่ดิน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.62) เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน ได้แก่ ด้านฉันทะ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ และด้านวิมังสา พบว่า บุคลากรกองเทคโนโลยีทําแผนที่ กรมที่ดิน การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพบุคลากรกองเทคโนโลยีทําแผนที่ กรมที่ดิน การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และรายได้ต่อเดือน พบว่า บุคลากรที่มี เพศ และระยะเวลาในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนา ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนบุคลากรที่มี อายุ ระดับการศึกษา และ รายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
3) ปัญหาและอุปสรรคของประสิทธิภาพการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนา ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร กองเทคโนโลยีทําแผนที่ กรมที่ดิน มีดังนี้ 1) ด้านฉันทะ เวลาในการดําเนินงานไม่เพียงพอ 2) ด้านวิริยะ บุคลากรขาดความรู้ความสามารถที่ตรงตามสายงาน 3) ด้านจิตตะ ขาดการประสานงานภายในองค์กร 4) ด้านวิมังสา ขาดการตรวจสอบแผนงานที่ ดําเนินการแล้ว ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) ด้านฉันทะ จัดทําแผนงานให้เป็นระบบ กําหนดระยะเวลา ให้เหมาะสมกับงาน 2) ด้านวิริยะ จัดอบรมบุคลากรและทดสอบความรู้ความสามารถเป็นประจํา 3) ด้านจิตตะ ประชุมวางแผนงานเป็นประจําเพื่อให้เกิดการประสานงานในองค์กร 4) ด้านวิมังสา ตรวจสอบติดตามและประเมินผล อย่างสม่ำเสมอ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were to study application of Buddhadhamma for efficiency development of personnel in mapping technology division Department of Lands,- to compare the opinions of personnel on application of Buddha-dhamma for efficiency development in mapping technology division Department of Lands, and to study the problems, obstacles and suggestions about the working efficiency according to Application of Buddha-dhamma for efficiency development of personnel in mapping technology division Department of Lands.
This research was a mixed methods approach. The quantitative research was conducted by studying the samples of 112 respondents which selected by stratified random sampling of 155 persons who were personnel of mapping technology division Department of Lands. The sample size derived from the Taro Yamane’s formula. The tool used for data collection was 5 levels rating scale questionnaire at reliability level of 0.962. Statistics used to analyze data were frequency, percentage, mean, standard deviation, T-test, One Way Analysis of Variance and Least Significant Different: LSD. The quantitative research was conducted by In-depth interviewing the 7 key informants who were personnel of mapping technology division Department of Lands which selected by Purposive sampling and analyzed by using content analysis technique.
The research findings were as follows:
1) Application of Buddha-dhamma for efficiency development of personnel in mapping technology division Department of Lands in overall were at a high level ( X̅ = 3.62). After considering each side, and found that it was also at high level.
2) The comparison of personnel opinions of application of Buddhadhamma for efficiency development of personnel in mapping technology division Department of Lands separating by different factors of each person, including sex, age, educational level duration of work and income found that the samples who were different in sex and duration of work had not different opinions, but th samples who were different in age, educational level and income had different opinions at 0.05. So it was accepted hypotheses
3) The problems and obstacles application of Buddha-dhamma for efficiency development of personnel in mapping technology division Department of Lands were 1) Chanda aspect, lack the time for working, 2) Viriya aspect, lack personnel who had knowledge and experience in line, 3) Citta aspect, lack coordinating in organization and 4) Vimamsa aspect, lack checking the plan of work. Obstacles were 1) Chanda aspect, planed the work system and allocated time for work, 2) Viriya aspect, trained and evaluated personnel regularly 3) Citta aspect, Meeting Planning Coordinator in side organization 4) Vimamsa aspect, monitored and evaluated regularly.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 6.01 MiB | 560 | 10 ส.ค. 2564 เวลา 06:05 น. | ดาวน์โหลด |