โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา 4
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Process of Quality Life Development for Elderly in accordance with Principle of Bhãvanã 4 in Chiangkham District, Phayao Province
  • ผู้วิจัยพระมหาวิชญ์ อิสฺสรานนฺโท (ใจชื่น)
  • ที่ปรึกษา 1พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.วสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล
  • วันสำเร็จการศึกษา19/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2082
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 246
  • จำนวนผู้เข้าชม 689

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา 4 (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา 4 โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา 4 การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จำนวน 398 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

1. กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา 4 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 คือ ด้านกายภาวนา (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.79) ด้านสีลภาวนา (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36) ด้านจิตภาวนา (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71) และด้านปัญญาภาวนา (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85)

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา 4 โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน ได้แก่ อายุ และอาชีพ มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อกระบวนการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา 4 โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน ได้แก่ เพศ การศึกษา และรายได้ต่อเดือน มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา 4 โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน

3. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ด้วยหลักภาวนา 4 พบว่า ปัญหา อุปสรรค ได้แก่ ขาดการให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตามวิถีชีวิตและภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย ปัญหาจากการเน้นกิจกรรมทำบุญรักษาศีลในวันสำคัญทางศาสนาหรือวันธัมมัสสวนะเท่านั้น ปัญหาจากเน้นการจัดปฏิบัติธรรมเพียงอย่างเดียว ไม่ได้เสริมกิจกรรมนันทนาการอื่น ๆ สำหรับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ (บางคน) ขาดการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ตามสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคใหม่ ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรรณรงค์ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันเผยแพร่ความรู้เพื่อการดูแลสุขภาพตามวิถีชีวิตและภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทยแก่ผู้สูงอายุทางสถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุ ควรสนับสนุนให้ทุกวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการจัดงานวันสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยสถาบันครอบครัว ควรส่งเสริมให้วัดที่มีความพร้อมจัดกิจกรรมพุทธศิลป์บำบัดที่ช่วยให้มีความรู้สึกผ่อนคลายให้เกิดความสุขทางใจสำหรับผู้สูงอายุควบคู่กับการปฏิบัติธรรม ควรสนับสนุนให้ทุกวัดเป็นแหล่งเผยแพร่องค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาและความรู้ใหม่ ๆ ตามการเปลี่ยนแปลงของโลกแก่ผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญา

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of research paper were: (1) to study the process of quality life development for elderly in accordance with principle of Bhãvanã 4 in Chiangkham district, Phayao province, (2) to compare the opinions of peoples toward the process of quality life development for elderly in accordance with principle of Bhawana 4 in Chiangkham district, Phayao province, classified by personal factors, and (3) to study the problems, obstacles and suggestions of the process of quality life development for elderly in accordance with principle of Bhãvanã 4 in Chiangkham district, Phayao province. The research methodology was the mixed methods research, that the quantitative research used the questionnaire as the tool to collect the data in the field study from 398 peoples in Chiangkham district, Phayao province. The statistics were used for the data analysis through frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), t-test, F-test, One-way Analysis of Variance, and the qualitative research had the documentary analysis and interview as the tool to collect the data in the field study from 10 key informants and analyzed the data through the content analysis technique.

The findings of this research were as following:

1. The process of quality life development for elderly in accordance with principle of Bhãvanã 4 in Chiangkham district, Phayao province, overall, that was high level at mean of 3.93, when considering in each aspect, found that was high level all aspects, the aspect of physical development at mean of 3.79, the aspect of moral development at mean of 4.36, the aspect of emotional development at mean of 3.71, and the aspect of intellectual development at mean of 3.85.

2. The comparison of peoples’ opinions toward the process of quality life development for elderly in accordance with principle of Bhãvanã 4 in Chiangkham district, Phayao province, classified by personal factors, found that  age and occupation had the opinions toward the process of quality life development for elderly in accordance with principle of Bhãvanã 4 in Chiangkham district, Phayao province were different, significantly at 0.05. But, sex, education, and income had the opinions toward the process of quality life development for elderly in accordance with principle of Bhãvanã 4 in Chiangkham district, Phayao province were not different.

3. The problems, obstacles and suggestions of the process of quality life development for elderly in accordance with principle of Bhãvanã 4 in Chiangkham district, Phayao province as following: problems and obstacles found that lack of education for the elderly about health care according to the way of life and traditional wisdom of Thailand, problems from the emphasis on activities of merit-making on important day of religious only, problems from focusing on the practice of dharma alone without supplementing other recreational activities for the elderly, some elderly lack new knowledge according to the changing circumstances of the modern world society. And, suggestions found that should campaign for stakeholders to share knowledge about health care according to the way of life and traditional wisdom of Thailand to the elderly via television and radio, should encourage all temples to be the center of the community in organizing important events related to family institutions, should encourage temples that are ready to organize Buddhism art therapy activities that help to relax the mind and happiness for the elderly along with the Dhamma practice, and, should encourage all temples to be sources of dissemination of knowledge in Buddhism and new knowledge according to the changes of the world for the elderly in order to develop intellectual skills.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 3.56 MiB 246 10 ส.ค. 2564 เวลา 10:24 น. ดาวน์โหลด