โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาการเจริญวิปัสสนาภาวนาในนันทโกวาทสูตร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Vipassanā Practice in Nandakovāda Sutta
  • ผู้วิจัยพระศรชัย คุณากโร (อุ่นวิเชียร)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูพิพิธวรกิจจานุการ, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา07/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/209
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 282
  • จำนวนผู้เข้าชม 444

บทคัดย่อภาษาไทย

 

สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาหลักธรรมในนันทโกวาทสูตร เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในนันทโกวาทสูตร เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เรียบเรียง บรรยาย เชิงพรรณนาและตรวจสอบโดยอาจารย์ที่ปรึกษา จากผลการวิจัยพบว่า

              นันทโกวาทสูตร ว่าด้วยการให้โอวาทของพระนันทกะที่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุณี ว่าด้วยความไม่เที่ยงของอายตนะภายในและอายตนะภายนอก พระสังคีติกาจารย์จัดไว้ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค โดยความสำคัญของพระสูตรนี้ แสดงถึงผู้มีปัญญาจะพิจารณาโดยความเป็นไตรลักษณ์ เพื่อเป็นบาทฐานในการเจริญวิปัสสนาภาวนาโดยการพิจารณาอายตนะ ซึ่งหลักธรรมที่ปรากฏในนันทโกวาทสูตร ได้แก่ อายตนะภายใน 6 อายตนะภายนอก 6
ไตรลักษณ์ 3 และโพชฌงค์ 7 ซึ่งธรรมทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อทำให้มากแล้ว จึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ

จากการศึกษาแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในนันทโกวาทสูตร พบว่า การแสดงธรรมของพระนันทกะแก่ภิกษุณี ที่แสดงถึงกระบวนการภาวนาเพื่อให้เกิดปัญญาเข้าไปรู้แจ้งความเป็นจริงของรูปนาม โดยพิจารณาความเป็นไตรลักษณ์ของอายตนะภายในและภายนอก ด้วยการแสดงธรรมเชิงอุปมาอุปไมย และการรู้แจ้งด้วยปัญญาตามหลักโพชฌงค์ 7 อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ซึ่งมีอานิสงส์ คือ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ ซึ่งเหล่าภิกษุณี 500 รูป ผู้มีใจยินดีต่อธรรมเทศนาของพระนันทกะ ได้รับผลเป็นผู้มีความดำริบริบูรณ์และได้คุณธรรมชั้นต่ำที่สุดเป็นพระโสดาบัน
 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research paper contains two main purposes, to study the teachings of the Buddha found in Nandakovādasutta and to study the practical way of insight development in Nandakovādasutta. It was done by documentary method by collecting the research data from Tipitaka, its commentaries and sub-commentaries, other Visesapakarana texts concerned, then analyzed, compiled in descriptive style. Its findings are as followings;
Nandakovādasutta involves the teaching of Nandakathera delivered to Bhikkhunis. He explained the impermanence of inner and outer sensual organ bases. This discourse was grouped in Suttanta, Majjhimanikaya, salayatanavagga. Those who require wisdom on seeing the truth through Three Common Characteristics as the base of insight development which focuses on observing sensual organ bases. The main teachings in Nandakovādasutta are 6 inner organ bases, 6 outer organ bases, 4 Tilakkhana and 7 Bojjhanga which are capable to lead to Cetovimutti and Paññāvimutti.
The insight practice found in Nandakovādasutta shows that the teaching of Nandaka concerns on the process of wisdom cultivation for realizing the true nature of Nama-Rupa, Sensual Organs as falling into Three Common Characteristics through the simile of Sensual Organs of Ayatana, and realization based on 7 Bojjhanga or factors of enlightenment which is the key for insight practice therefore Vipassana is only one right way to lead to Cetovimutti and Paññāvimutti. Finally, all 500 Bhikkhunis appreciating that teaching had received the great benefits by attainment the first Noble One or Sotāpanna.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 12.38 MiB 282 24 พ.ค. 2564 เวลา 18:10 น. ดาวน์โหลด