โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสในเขตพื้นที่เทศบาลตําบลอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Quality of Life Development the Disadvantaged at Umong Sub-district Municipality, Mueang District, Lamphun Province
  • ผู้วิจัยนางรัตนา ปันจุติ ปริญญา
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาบุญเลิศ อินทปญโญ, รศ.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.ศรีธน นั้นตาลิต
  • วันสำเร็จการศึกษา22/03/2015
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2097
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 2,420
  • จำนวนผู้เข้าชม 685

บทคัดย่อภาษาไทย

   การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสในเขตพื้นที่เทศบาล ตําบลอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชากรที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสของเทศบาลตําบลอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน 2) เพื่อศึก ษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสของเทศบาลตําบลอุโมงค์ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสของเทศบาลตําบลอุโมงค์ และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสของเทศบาลตําบลอุโมงค์ตามหลักไตรสิกขา ซึ่งประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ด้อยโอกาสใน ตําบลอุโมงค์ จํานวน 168 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการกําหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซีและมอร์แกน (Krejcie&Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 118 คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบ ถาม (Questionnaire) และทําการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป เพื่อการวิจัยทางสังคม ศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทําการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi - SquareTest) (1) ในส่วนของข้อคําถามปลายเปิดที่แสดงปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะผู้วิจัยทําการจัดกลุ่มตามประเด็นที่กําหนดไว้ในแบบสอบถามปลายเปิด จากนั้นจะทําการวิเคราะห์ โดยใช้การแจก แจงความถี่ (Frequency) และข้อมูลจากการ สัมภาษณ์ ผู้วิจัยทําการจัดกลุ่มข้อมูลสาระสําคัญของประ เด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นจึงทําการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

   ผลการวิจัยพบว่า

   1. ระดับความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสของเทศบาลตําบลอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสของเทศบาลตําบลอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจ ด้านสาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านชีวิตและครอบครัว และด้านชีวิตชุมชน อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการใช้สติปัญญาและด้านชีวิตการทํางาน อยู่ในระดับปานกลาง

   2. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสของเทศบาลตําบลอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน การทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความ แตกต่างตามการจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศและระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสของเทศบาลตําบลอุโมงค์ อําเภอเมืองจังหวัดลําพูน ส่วนด้านอายุ อาชีพและรายได้ต่อเดือนไม่มีความ สัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสของเทศบาลตําบลอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน

   3. ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสของเทศบาลตําบลอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน โดยสรุปแล้ว พบว่า ผู้ด้อยโอกาสยังคงว่างงานและมีรายได้ที่ไม่พอกับ รายจ่าย ไม่มีใครจ้างงาน ไม่มีการใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาเท่าที่ควร ปัญหาภายในครอบครัว และการยอมรับจากคนในสังคม รวมถึงปัญหาการจัดการขยะและปัญหาสุขภาพและการรับบริการจากสถานพยาบาล ซึ่งเทศบาลควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ด้อยโอกาสสร้างรายได้อย่างมั่นคง การใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น การจัดการขยะในครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรม การส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสให้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงและการรับการรักษาพยาบาลอย่าง ทั่วถึงและสะดวก

   4. ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสําคัญส่วนใหญ่เน้นในเรื่องของการเสริมสร้าง การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสในด้านต่างๆ เพื่อให้คุณภาพชีวิตเป็นไปในลักษณะที่ดีขึ้น สามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวและสังคมได้อย่างปกติสุข

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                The research Improving the quality of life for the disadvantaged, In the area of Umong sud-district municipality, Maung district, Lamphun province.The aims of this study were 1) to study the opinion of the population on the quality of life for the disadvantaged of Umong sud-district municipality, Maung district, Lamphun province, 2) to study the relationship between personal factors to improve the lives of disadvantaged of Umong sud-district municipalit, 3) to study the problems obstacles and suggestions to improve the quality of life of the disadvantaged. of Umong sub-district municipalit, and 4) to study the quality of life for the disadvantaged of Umong sub-district municipality. By the principle of Tri Sikkha. The population and sample used in this study were disadvantaged in Umong sud-district, 168 of which were derived from the size of the sample by the square of Crazy and Morgan (Krejcie& Morgan) samples. 118, and data were collected using a questionnaire. (Questionnaire) and analyzed using the software package for social science research.To determine the frequency (Frequency), percentage (Percentage) Average (Mean) and standard deviation (Standard Deviation) and test hypothesis by chi-square (Chi - SquareTest) (1) in respect of the above.Open-ended questions that show the problems, and suggestions The researchers grouped the issues set out in an open-ended questionnaire. Then it analyzes By using frequency (Frequency) and data from interviews. The researcher to group the essence of the interview.Then analyzed its contents.

               The results showed that

               1. The opinions on the quality of life for the disadvantaged of Umong suddistrict municipality, Maung district, Lamphun province found that respondents have a comment on the quality of life for the disadvantaged in Umong sud-district municipality, Maung district, Lamphun province in the overall level (= 3.64), considering it was found that the stability in the economy. Health environmental Family and Life And community life At a high level Although the use of intelligence and working life. Was moderate

               2. The relationship between personal factors to improve the lives of disadvantaged Umong sud-district municipality, Maung district, Lamphun province testing hypotheses by analyzing the differences according to the classification by personal factors, including gender, age, education and occupation. have found that personal factors, Gender and level of education were associated with quality of life of disadvantaged of Umong sud-district municipality, Maung district, Lamphun province the age, occupation and monthly income. No relation to the quality of life of disadvantaged in Umong sud-district municipality, Maung district, Lamphun province.

               3. The problems and obtacles to improve the lives of disadvantaged in Umong sud-district municipality, Maung district, Lamphun province and concluded that disadvantaged people remain unemployed and whose income is not enough for expenses. Nobody employment Not to use it to solve problems as they should.Problems within the family and accepted by the society.Including the issue of waste management and health issues and services from the hospital. The Council should encourage and support the underprivileged earn steadily. To use it to troubleshoot the problem.Management of household waste on the environment. Promoting the disadvantaged to have a healthy body, healthy and get medical attention and convenience.

               4. The qualitative study found that the most important information on the subject of enhancing the quality of life in disadvantaged areas. The quality of life is moving in a better manner. Can coexist peacefully with family and society.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 6.97 MiB 2,420 12 ส.ค. 2564 เวลา 02:55 น. ดาวน์โหลด