โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ประสิทธิภาพในการให้บริการงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลลำพูน อำเภอเมืองลำพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Effectivenessof Service of Thai Traditional Medicine in Lamphun Hospital Muang Lamphun Lamphun Province
  • ผู้วิจัยนางสาวเบญญ์จพิศ หวลกาพย์
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสิริสุตานุยุต,ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร. ฐิติวุฒิ อรุณศิโรจน์
  • วันสำเร็จการศึกษา22/03/2015
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2099
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 182
  • จำนวนผู้เข้าชม 414

บทคัดย่อภาษาไทย

   วิทยานิพนธ์เรื่องประสิทธิภาพในการให้บริการงานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลลําพูน อําเภอเมืองลําพูน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึก ษาการให้ บริการงานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลลําพูน อําเภอเมืองลําพูน (2) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหารธรรมในการให้บริการงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลลําพูน อําเภอเมืองลําพูน (3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการให้บริการงานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลลําพูน อําเภอเมืองลําพูน โดยผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (Independent Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (Key Informants) จํานวน 18 รูป/คน แบ่งเป็นพระภิกษุ จํานวน 1 รูป, ผู้บริหารและบุคลากรกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิ จํานวน 12 คน และผู้รับบริการจํานวน 5 คน

   ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

   การให้บริการงานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลลําพูน อําเภอเมืองลําพูน เป็นการให้บริการแพทย์แผนไทยแบบองค์รวม โดยมุ่งเน้นบริการส่งเสริม ป้องกัน บําบัด รักษา และฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วย ตลอดจนการให้การรักษาด้วยยาสมุนไพรภายใต้มาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทย รวมถึงเครือข่าย อําเภอเมืองลําพูน ซึ่งประสิทธิภาพของการให้บริการนั้นเป็นการทํางานที่ประหยัดได้ผลงาน ที่รวดเร็ว มีคุณภาพ คุ้มค่ากับการใช้ทรัพยากรทั้งด้านกําลังคน การเงิน อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ ตามมาตรฐานของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เกิดผลกําไร ทันเวลาและเป็นที่พึงพอใจของผู้ให้และผู้รับบริการ โดยการนําหลักพรหมวิหารธรรม อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา มาประยุกต์ใช้กับการให้บริการ จากการวิจัยสามารถอภิปรายผลในแต่ละประเด็นได้ดังนี้ คือ

   1. ด้านการสร้างความคุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรต่างๆ นั้นโดยยึด หลักเมตตานั้น ซึ่งปรารถนาที่จะให้มีการใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จําเป็นต้องใช้เงิน งบประมาณในการจัดหาจัดซื้ออย่างประหยัดคุ้มค่า ดังนั้นการใช้ทรัพยากรสมุนไพรต่างๆที่หาได้ในท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบในการให้บริการ การสร้างความคุ้มค่าให้เกิดขึ้นกับการให้บริการในแต่ละขั้นตอนนั้น และอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการใช้ทรัพยากร ช่วยกันดูแลรักษา ซ่อมแซม และพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ให้มีความทันสมัยและสามารถใช้การได้เป็นอย่างดี ตลอดจนการพัฒนาทรัพยา กรมนุษย์ในการสร้างสุขภาพที่สมบูรณ์ การเพิ่มพูนความรู้ต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติงาน มีประ สิทธิภาพมากยิ่งขึ้นก่อเกิดมุทิตาจิตตามมา หากมีผู้หนึ่งผู้ใดไม่เห็นความสําคัญในการใช้ทรัพยากรเราต้องใช้อุเบกขาในการที่จะวางเฉย ไม่โกรธหรือต่อว่า แต่ใช้ความกรุณาในการแนะนําสั่งสอนให้เข้าใจถึงความสําคัญและประโยชน์ของการทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ที่มีผลต่อองค์กรและตัวเราเอง

   2. ด้านการให้บริการมุ่งเน้นการเสริมสร้างประสิทธิภาพการให้บริการมีเมตตา ปรารถนาที่จะสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นกับผู้รับบริการ ยึดหลักกรุณา มีใจให้บริการ โดยการให้บริการอย่างเสมอภาค เท่าเทียมกันและไม่เลือกปฏิบัติตามหลักของอุเบกขา มีการจัดลําดับความสําคัญในการให้บริการอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ปัญหาเพื่อให้บริการตรงตามความต้องการมีความรับผิดชอบสูงให้บริการอย่างเต็มใจและบริการดุจญาติมิตร ตลอดจนการบริหารจัดการด้านเวลาอย่างมีคุณภาพนั้น จะทําให้การบริ การครอบคลุมเท่าเทียมกัน เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความรู้สึกที่ดีและเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีความสะดวกสบายเป็นมุทิตาจิต เกิดความพึงพอใจ ทําให้เกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพตามมา

   3. ด้านความพึงพอใจเป็นผลที่เกิดจากการให้บริการที่ดี มีคุณภาพ ความพึงพอใจก็จะเกิดขึ้น เมื่อผู้รับบริการได้รับการสนองตอบความต้องการของตนเอง เกิดเป็นมุทิตา มีใจเมตตา ปรารถนาให้ผู้ รับบริการเกิดความสุข พึงพอใจ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการมีระบบการให้บริการที่ดี มีรูปแบบ ขั้นตอน ระยะเวลา เพื่อให้บริการมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และเกิดความพึงพอใจ ผู้ให้บริการต้องตระหนักอยู่เสมอว่าเป็นภารกิจที่สําคัญที่ต้องทําด้วยความกรุณาและมีอุเบกขา แล้วความประทับใจ พึงพอใจย่อมเกิดขึ้นทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ด้วยจิตใจที่พร้อมสําหรับการรักษา ซึ่งจะทําให้ประสิทธิภาพในการเสริมสร้างความพึงพอใจนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

   ดังนั้นแล้ว การเสริมสร้างหรือการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการจึงเป็นสิ่งสําคัญสําหรับ การให้บริการที่มีคุณภาพ สามารถสนองตอบต่อความต้องการของผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี การให้บริการนั้นจําเป็นที่จะต้องมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อให้การบริหารทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันไม่เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุและหลักพรหมวิหารธรรมนั้น ก็เป็นหลักแห่งการให้บริการที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้กับการให้บริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างดีที่สุด

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

             This Thesis was An Effectiveness of Service of Thai Traditional Medicine in Lamphun Hospital, Muang Lamphun District,Lamphun Province, It was the qualitative research and has 3 the objectives were, (1) to study the Thai Traditional Medicine in Lamphun Hospital, Muang Lamphun District, Lamphun Province, (2) to study the application of the Brahmavihara-Dhamma Principles in Thai Traditional. Medicine in Lamphun Hospital, Muang Lamphun District, Lamphun Province, (3) to study the efficiency of Thai Traditional Medicine in Lamphun Hospital, Muang Lamphun District, Lamphun Province. The researchers have collected data by In-depth Interview and Key Informants amount 18 people, classified by the monk amount 1 people, the executives and personnel in the working group of primary service amount 12people and 5 people were the service recipients

                The results of research found that

                The Thai Traditional Medicine in Lamphun Hospital, Muang Lamphun District, Lamphun Province has been serving base on the Thai holistic medicine, emphasized on the services of encouragement, prevention, treatment and health rehabilitation of the patient, including the herbal medicine medicament under the medical standard services of Thai Traditional Medicine, the network of Muang, lamphun District was included. The efficiency of service was the economical operation, effectiveness, fast, high-quality, worthy for all aspects of manpower resources, finance, technology devices base on the standard of the profession, in order to benefit society, profitable, in time, and satisfaction of providers and recipients services. By bringing the Brahmavihara-Dhamma Principles, namely Metta, Karuna, Muthita and Upekkha, It has been applied to the service providing. The result of research has discussed in the following issues:

               1. The Aspect of Creation, to achieve maximum benefit in the use of resources based on Metta Principles, It was the desire in the use of resources on the highest benefits and need to use the fiscal budget for procurement with economically, worthily. Hence, the use of resources, the various of herbs that were found in the local areas as raw materials of services. The creation of worthiness , It was occurring at each step in the service and rely on cooperation from all parties in the use of resources. Maintenance, repair and tools, devices improvement should be modern and could be used for good , as well as the development of human resources in complete health creation. The increasing of knowledge which will effected to the efficient operation increasingly caused by the Muditakamma subsequently. If there was one person who did not see the essence in the use of resources. We needed to hold on the Upekkha Principles, you should have no angriness or complain, but should be used In the mercy for recommendations, to teach the understanding of the essence and benefits in the usage of resources. That affected to the organization and ourselves.

               2. The Aspect of Services, emphasized on the strengthening of efficiency, provided the service with, kindness, desire that created a satisfaction to occur with service recipients, holding on the Karuna Principles, good service with heart by providing equal service and no discrimination based on the Principle of Upekkha. To have the arrangement of the essence of service providing systematically. The problem analysis for service providing was being straight to requirements, high responsibility and willingness to serve as relatives and friends, including the qualified management it should make the service cover, equality and to patient occurrence a great feeling and it's going fast with the facility of Muditakamma, result in effect of satisfaction caused the efficiency service subsequently,

               3. The Aspect of Satisfaction, It was as a result of good service providing, quality. The customer satisfaction would occur when they responded their own needs and originated as Muthita lead to the mercy that desired to serve recipients, cause for happiness, satisfying which involved the system of good services providing have own forms, procedure, terms. For high-quality service providing with efficiency, and satisfaction the service providers needs, to recognize that as a major task and must be done with kindness and the Upekkha, the impression, satisfaction should occur on both providers and recipients, with a mind that ready for treatment would make the efficiency and enhancing the customer satisfaction increasingly.

           Therefore, the strengthening or efficiency development of service providing was the essential for high-quality services, could respond the needs of the recipients superbly. The service providing needed to use the resources for achieving the most cost-effective. The resource management in a more efficient and to not waste resources by main justice and reason, rather than the main principles of serving that could be applied to provide for the best performance.

               To manage resources to efficiently and not wasting resources unreasonable and the Brah mavihara-Dhamma Principles were the primary service that could be applied to the service for increasing the efficiency optimally.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 12.77 MiB 182 12 ส.ค. 2564 เวลา 04:27 น. ดาวน์โหลด