โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของบุคลากรเทศบาลตําบลอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of Buddhadhamma for Online Social Network Use of Personnels at Umong Subdistrict Municipality, Muang District, Lamphun Province
  • ผู้วิจัยนางสาวเอกอาภรณ์ สุริยะเจริญ
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาบุญเลิศ อินทปญโญ, รศ.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.ฐิติวุฒิ อรุณศิโรจน์
  • วันสำเร็จการศึกษา22/03/2015
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2102
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 502
  • จำนวนผู้เข้าชม 707

บทคัดย่อภาษาไทย

   งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรม เพื่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของบุคลากรเทศบาลตําบลอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน 2)เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของบุคลากรเทศบาลตําบล        อุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประ ยุกต์หลักพุทธธรรม เพื่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของบุคลากรเทศบาลตําบลอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน 4) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของบุคลากรเทศบาลตําบลอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน ตามหลักสาราณียธรรม

   ดําเนินการวิจัยโดยการใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรของเทศบาลตําบลอุโมงค์ และครูในพื้นที่ตําบลอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน จํานวน 190 คน ซึ่งได้มาจากการหากลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสําเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน (R.V.Krejcie & Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 125 คน ทําการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และทําการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม สําเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทําการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (f-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสําคัญน้อยที่ สุด (Least Significant Difference: LSD) ในส่วนของข้อคําถามปลายเปิดที่แสดงปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะผู้วิจัยทําการจัดกลุ่มตามประเด็นที่กําหนดไว้ในแบบสอบถามปลายเปิด จากนั้นจะทําการวิเคราะห์ โดยใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency) และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้วิจัยทําการจัดกลุ่มข้อ มูล (Data Grouping) สาระสําคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทําการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique)

   ผลการวิจัยพบว่า

   1. บุคลากรเทศบาลตําบลอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน ส่วนใหญ่เป็นหญิง จํานวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 41.6 มีอายุระหว่าง 41 - 50 ปี จํานวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 34.4 มีวุฒิการศึกษาอยู่ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี จํานวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 43.2 มีสถานภาพสมรส จํานวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 65.6 และมีรายได้ 10,000 - 15,000 บาท จํานวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 44.8

  2. บุคลากรเทศบาลตําบลอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน มีการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ในค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.00) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านเมตตากายกรรม ด้านเมตตาวจีกรรม ด้านเมตตามโนกรรม ด้านสาธารณโภคี ด้านสีลสามัญญตา และด้านทิฏฐิสามัญญตา อยู่ในระดับมาก

   3. การเปรียบเทียบระดับการประยุกต์หลักพุทธธรรม เพื่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของบุคลากรเทศบาลตําบลอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน การทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ ความแตกต่างตามการจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา สถานภาพ และรายได้ พบว่า ในค่าเฉลี่ยรวมด้านเพศและสถานภาพ ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนด้านตัวแปรต้น อายุ วุฒิการศึกษา และรายได้ ในค่าเฉลี่ยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

   4. ผลการศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์หลักพุทธธรรม เพื่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของบุคลากรเทศบาลตําบลอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน ในประเด็นเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรค ได้แก่ การแสดงออกทางสีหน้าและท่าทางที่ไม่สุภาพขณะใช้สื่อออนไลน์ การใช้อารมณ์ ไม่ระงับตนเองเห็นแก่ตัว และการทํางานร่วมกันกับคนหมู่มาก ต้องมีการกระทบกระทั่งกันบ้างบางเวลา สถานการณ์และโอกาสในประเด็นเกี่ยวกับข้อเสนอแนะ ได้แก่ การสร้างจิตสํานึกของตน เองในการแสดงความคิด เห็น การสงบสติอารมณ์ และควรใช้ให้เป็นสร้างเรื่องดีๆ สื่อความเป็นจริง

   5. แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ตามหลักสาราณียธรรม พบว่า ผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ควรที่จะตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องชัดเจน ไม่ไปกระทบกระ ทั่งหรือทําร้ายคนอื่นโดยที่อาจจะไม่เจตนา ไม่กล่าวร้าย ไม่ทําให้ผู้อื่นเสียหาย ควรใช้ในลักษณะที่สร้างความประทับใจหรือว่าความรู้สึกดีๆ ให้แก่กันมากกว่าการสร้างศัตรูกันในเครือข่าย เมื่อพบเจอสิ่งอันไหนที่มันดีงามควรจะเผยแพร่ควรจะแชร์ให้คนอื่น สิ่งไหนเป็นสิ่งที่ดีก็ควรจะทำตรงข้ามกัน อันไหนสิ่งที่มันไม่ดีก็ไม่ควรจะมีการแชร์ หรือว่าสื่อสารให้กับคนอื่น ก็ควรหยุดเพียงแค่นั้น โดยยึดหลักความมีจริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรม และจรรยาบรรณในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               The objectives of the study were: 1) to examine the application of Buddhadamma for using online social networks of personnel in Umong sub-district municipality, Muang district, Lamphun province. 2) to compare the application of Buddhadamma for using online social networks of personnel in Umong sub-district municipality, Muang district, Lamphun province, classified by personal factors. 3) to explore the problems , the obstacles and recommendations of the application of Buddhadamma for using online social networks of personnel in Umong sub-district municipality, Muang district, Lamphun province and 4) to investigate the application of Buddhadamma for using online social networks of personnel in Umong sub-district municipality, Muang district, Lamphun province according to Saraniyadhamma.

               This research was a mixed research method. The samples were 190 people using random sampling method, the sample size was determined by R.V.Krejcie & Morgan Table form the 125 people by drawing. The data was collected by questionnaires. The data analysis was done with social sciences SPSS. The statistics used were values of frequency, percentage,􀇰mean and standard deviation. Hypothesis test with T – test, F-test. It is also analyzed by the one-way Anova, Least Significant Difference: LSD. An open-ended question that shows the problems, obstacles and suggestions, the researchers provide the issues for an open-ended questionnaire, then analyzed by using frequency and interviews, data grouping, the interview point and content analysis technique.

                 The findings of the research were as follows:

               1. Most of the personals are female for 52 average 34.4, 41-50 ages for 43 average 34.3, lower bachelor degree for 55 average 43.2, marital status for 82 average 65.6, and income 10,000 – 15,000 Baht for 56 average 44.8.

               2. The personals have the application of Buddhamma for using online social networks. The overall was at the high level (= 4.00), when considering into each aspect it was found that Mettakayakamma, Mettavacikamma, Mettamanokamma, Sadharanabhogi, Sila-samannata and Ditthi-samannata was at the high level.

               3. The comparison of the application level of Buddhamma for using online social networks in Umong sub-district municipality, Muang district, Lamphun Province. The hypothesis test that different analysis according to classify by personal factors, including gender, age, education, status and income, it found that the overall gender and status was not different then it denied the hypothesis. Independent variable, age, education and income was statistically significant different at the 0.05 level then accepting the hypothesis.

               4. The study of the problems, obstacles and recommendation concern with online social networks in Umong sub-district municipality, Muang district, Lamphun province. The point of the problems, obstacles were the facial expressions and impolite manner while using online media, showing emotion, retraining oneself, selfish and cooperation with others have to conflict with people some time, situation and opportunity. In the point of recommendation was making conscious to oneself to give opinion, calm down and should get the most out of benefit, good story and real medium.

            5. The way of Buddhamma application for using online social networks according to Saraniyadhamma found that user online social networks, should check the correct data for no conflict or harming others by do not intend, do not gossip, do not damage to others, they should be built impression or good feeling to each other more than making enemies on networks. When do they meet a good thing, should be shared to others, which is a good thing, should be done. On the contrary, which is a bad thing, should not share or connect with others, they should have to stop by persisting in virtue, morality and ethics in using online social networks.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 10.26 MiB 502 12 ส.ค. 2564 เวลา 06:30 น. ดาวน์โหลด