โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสํานักงานที่ดินจังหวัดลําพูน อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Service in Accordance with Sangahavatthu Dhamma Of Department of The Office of Lands Lamphun Province
  • ผู้วิจัยนางจิตรา แสงผาบ
  • ที่ปรึกษา 1พระครูภาวนาโสภิต,วิ.,ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.ศรีธน นันตาลิต
  • วันสำเร็จการศึกษา22/03/2015
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2108
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 227
  • จำนวนผู้เข้าชม 309

บทคัดย่อภาษาไทย

                  การวิจัยเรื่อง การให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสํานักงานที่ดินจังหวัดลําพูน อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ  1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสํานักงานที่ดินจังหวัดลําพูน  2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ตามความคิดเห็นของประชาชนผู้มาใช้บริการ จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  3) เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 และ  4) เพื่อศึกษาแนวทางใน การส่งเสริมการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ซึ่งประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่มาขอรับบริการจากสํานักงานที่ดินจังหวัดลําพูน จากการมาใช้บริการตามช่วง ระยะเวลาที่กําหนด จํานวน 2,000 คนต่อเดือน ผู้วิจัยได้กําหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้ ตารางสําเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน (R.V.Krejcie & Morgan) ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจํานวน 322 คน จากนั้นจึงทําการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม และทําการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation) และทําการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) เมื่อพบว่า มีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสําคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference) ในส่วนของข้อคําถามปลายเปิดที่แสดงปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยทําการจัดกลุ่มตามประเด็นที่กําหนดไว้ในแบบสอบถามปลายเปิด จากนั้นจะทําการวิเคราะห์ โดยใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency) และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยทําการจัดกลุ่มข้อมูล (Data Grouping) สาระสําคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทําการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique)

                  ผลการวิจัยพบว่า

                  1. ระดับความพึงพอใจในการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสํานักงานที่ดินจังหวัด ลําพูน อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน พบว่า ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็น ค่าเฉลี่ย รวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.55) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านอัตถจริยาอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านทาน ปิยวาจาและอัตถจริยา อยู่ในระดับปานกลาง

                  2. การเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสํานักงานที่ดินจังหวัด ลําพูน อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน การทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความ แตกต่างตามการจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ความถี่ในการ มาใช้บริการ พบว่า ประชาชนที่มีระดับการศึกษาและอาชีพต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สําหรับเพศ อายุและจํานวนครั้งที่มาใช้บริการ มี ความพึงพอใจต่อการให้บริการไม่แตกต่างกัน

                  3. ปัญหาและอุปสรรคในระดับความพึงพอใจในการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของ สํานักงานที่ดินจังหวัด ลําพูน อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน สรุปได้คือ เจ้าหน้าที่มีจํานวนจํากัดจึงทําให้ การบริการไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร เจ้าหน้าที่บางครั้งยังพูดไม่ไพเราะ ไม่มีความกระตือรือร้นในการ ให้บริการและการให้บริการยังไม่มีความเท่าเทียมกัน ซึ่งเจ้าหน้าที่ควรมีการจัดเวรเพื่อให้บริการให้ คําแนะนําต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ควรมีการพูดจาให้ไพเราะขึ้นขณะให้บริการ ควรมีความกระตือรือร้นใน การให้บริการและควรให้บริการด้วยความยุติธรรมแก่ประชาชนทุกคน

                  4. ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสําคัญส่วนใหญ่เน้นในเรื่องของการ ให้บริการที่สอดคล้องกับหลักสังคหวัตถุ 4 โดยเฉพาะรูปแบบการให้บริการที่สะดวกรวดเร็วและเป็น ธรรมกับทุกฝ่าย มีการพูดจาที่ไพเราะ การช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่ประชาชน เพื่อให้เกิดความ ประทับใจแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                  Research Services provided by Sangahavatthu objects 4 of the Land Office Lamphun Province Lamphun research Mixed (Mixed Methods) with the objective of this study was 1) to determine the level of satisfaction of the public towards the services provided by Sangahavatthu. 4 of the Land Office, Lamphun 2) to compare the satisfaction of the services provided by Sangahavatthu objects 4 the opinions of the people who use our services. By personal factors, 3) to study the problems and suggestions about the services provided by Sangahavatthu objects 4 and 4) to study ways to promote the services provided by Sangahavatthu objects 4 the population and the sample used the research was that people who receive services from the Bureau of Land scratches. Of the service over a specified period of 2,000 people per month, researchers have determined the size of the sample by using square blocks of Crazy and Morgan (RVKrejcie & Morgan) is the sample size. 322 people, then a random sample by random chance. And collected by questionnaire. The data were analyzed using the software package for social science research. To determine the frequency (Frequency), percentage (Percentage) Average (Mean) and standard deviation (Standard Deviation) and tested the hypothesis by t test (t-test) and F (Ftest. ) with analysis of variance as (One-Way Anova) was found to be different, so different test pairs using a variance least significant (Least Significant Difference) in respect of the questions at the end. open to show the problems and suggestions. The researchers grouped the issues set out in an open-ended questionnaire. Then it analyzes By using frequency (Frequency) and data from interviews. The researcher grouped data (Data Grouping) The essence of the interview. Then analyzed the data content (Content Analysis Technique).

                  The research findings were as follows :

                  1. Level of satisfaction with the services provided by the Land Office Sangahavatthu object.4 Lamphun Province Lamphun found that the respondents have a comment. Included in the average level (= 3.55) and considering it was found that. ASSURE the utility level in the review of commemoration speech and utility CHARIYA. Was moderate

                  2. To compare the level of satisfaction in service based Sangahavatthu objects 4 of the Land Office, Lamphun Province Lamphun hypothesis testing, analysis of different classification based on personal factors, including gender, age, education, occupation frequency. to use the service, found that people with high levels of education and occupation. Are satisfied with the services provided vary statistically significant at the 0.05 level for gender, age and frequency of the service. Are satisfied with the service is no different.

                  3. Barriers to the satisfaction of the service by the fourth of the land office Sangahavatthu Lamphun Province Lamphun conclusion is limited, making the service staff are not covered at all. Officials sometimes did not pleasant. No enthusiasm in the service and the service has no equal. The authorities should have a duty to provide advice and should have more things to say musically while serving. Should be eager to serve and be served with justice for all people.

                  4. The qualitative study found that the most important information on the subject of the services in accordance with the objects 4 Sangahavatthu particular model features a convenient, fast and fair to all parties. Are the sweetest things Assistance to the people in order to impress the people who use our services. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 6.37 MiB 227 12 ส.ค. 2564 เวลา 09:01 น. ดาวน์โหลด