-
ชื่อเรื่องภาษาไทยคุณภาพในการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรม ของสถานีตํารวจภูธร จังหวัดลําพูน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Quality of service According to Sangahavatthudhamma Principles of The Lee Police Station, Lamphun Province
- ผู้วิจัยดาบตํารวจอาคม สุขมา
- ที่ปรึกษา 1พระครูภาวนาโสภิต.วิ, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.ปรารถนา พิชัย
- วันสำเร็จการศึกษา22/03/2015
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2111
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 391
- จำนวนผู้เข้าชม 269
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยเรื่อง คุณภาพในการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสถานีตํารวจภูธร ลี้ จังหวัดลําพูน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อ การให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรม ของสถานีตํารวจภูธร จังหวัดลําพูน 2) เพื่อเปรียบเทียบ ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรม ของสถานีตํารวจภูธร จังหวัดลําพูน โดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการให้บริการตามหลักหสังคหวัตถุธรรมของสถานีตํารวจภูธรลี จังหวัดลําพูน 4) เพื่อศึกษา ผลสําเร็จของการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรม ของสถานีตํารวจภูธรลี้ จังหวัดลําพูน ซึ่งประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่มาใช้บริการ จํานวน 300 คน ซึ่งกลุ่ม ตัวอย่างได้มาจากการกําหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie&Morgan)ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 169 คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และทําการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation) และทําการทดสอบค่าที (t- test) และ ค่าแอฟ (F - test) ด้วยการ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทําการทดสอบ ความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีการหาผลต่างนัยสําคัญน้อยที่สุด (Least Significant Diference : LSD) ในส่วนของข้อคําถามปลายเปิดที่แสดงปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยทําการจัดกลุ่มตาม ประเด็นที่กําหนดไว้ในแบบสอบถามปลายเปิด จากนั้นจะทําการวิเคราะห์ โดยใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency) และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยทําการจัดกลุ่มข้อมูลสาระสําคัญของประเด็นการ สัมภาษณ์ จากนั้นจึงทําการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความพึงพอใจต่อคุณภาพการในให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรม ของสถานี ตํารวจภูธรลี้ อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน พบว่า ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความพึงพอใจ คุณภาพในการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรม ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นราย ด้านพบว่า ด้านทาน, อัตถจริยาและสมานัตตตา อยู่ในระดับมาก และด้านปิยวาจา อยู่ในระดับปานกลาง
2. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพ ระดับ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการแตกต่างกัน และเพศ ต่างกัน พบว่า มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน
3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับคุณภาพในการให้บริการตามหลัก สังคหวัตถุธรรม ของสถานีตํารวจภูธร จังหวัดลําพูน พบว่า ด้านทาน ขาดการเอาใจใส่ในการ ให้บริการ มากที่สุด ด้านปิยวาจา เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่พูดจาทักทายไม่ไพเราะ พูดจาด้วยความไม่เต็มใจ ด้านอัตถจริยา เจ้าหน้าที่ไม่ดูแลเอาใจใส่ต่อการบริการประชาชน ด้านสมานัตตตา ให้บริการด้วย ความไม่เสมอภาค มีการเลือกปฏิบัติ
4. ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสําคัญส่วนใหญ่เน้นในเรื่องของการเอาใจใส่ ด้วยความถูกต้องรวดเร็ว ทันเวลา มีความตั้งใจในการให้บริการ คอยให้ความช่วยเหลือให้คําปรึกษา แนะนําประชาชนผู้มารับบริการอย่างทั่วถึง จัดสิ่งอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน มีการแนะนําหรือ ชี้แจ้งขั้นตอนเพื่อให้ประชาชนเข้าใจอย่างชัดเจน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The research on the quality of service accordance with the Sangahavatthudhamma principles of the Lee Police Station, Lamphun Province with the aims 1) to determine the level of public satisfaction with the services provided by Sangahavatthudhamma principles of The Lee Police Station, Lee District, Lamphun Province, 2) to compare the satisfaction of the public service accordance with Sangahavatthu principles of The Lee Police Station, Lee District, Lamphun Province, classified by personal factors, 3) to study the problems, obstacles and suggestions about the services accordance with the Sangahavatthudhamma principles of The Lee Police Station, Lee District, Lamphun Province, 4) to study the success of the services accordance with Sangahavatthudhamma principles of The Lee Police Station, Lee District, Lamphun Province, the sample population collected from the people who served the services amount 300 people. Defined the sample by using Sample Size Table of Krejcie & Morgan, a sampling of 169 people and collected by Questionnaire and analyzed by a Statistical Package for Social Science Research. Analyzed the data Frequency, Percentage, Mean and Standard Deviation. Values of t - test and F - test, using one-way Analysis of Variance (One Way ANOVA). When found the different, test for pair differences by using a Least Significant Difference (LSD). As part of an open-ended question that shows the problems, obstacles and suggestions the researchers grouped the issues set out in an openended questionnaire. Then analyzed by using Frequency and essence data from interviews. The researcher to group the essence of the interview afterward analyzed its contents.
The results showed that
1. Level of satisfaction on quality of service based on the Sangahavatthudhamma principles of the Lee Police Station, Lee District, Lamphun Province found that the respondents are satisfied with the quality of the services provided by the Sangahavatthudhamma principles. The overall average level at a high. Considering in each aspect it was found that. The aspect of the Dàna, Atthacariyà, and Samànattata, ware in at high levels and Piyavách, was at a medium level.
2. The result of this hypothesis showed that the personal factors such as age, marital status, education, occupation and income differences, satisfied with different services and gender differences were found to be satisfied not different.
3. Problems and suggestions about the quality of service based on the Sangahavatthudhamma Principles of the Lee Police Station, Lamphun Province found that the aspect of the Dàna, the staff lack of care in providing services with the average at the highest level, the Piyavácà, the officers greeting not pleasantly, unwillingly, the Atthacariyà, the officers not taking care to serve the public, the Samànattatà, the officers provide the inequality and discrimination.
4. The qualitative study found that the informants emphasized on attention services with accurate timely. Intend to service, assist with counseling, introducing of the service, to the people thoroughly, provide the facilities to the public. Introduced or explained the process to give the public a clear understanding.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 6.38 MiB | 391 | 12 ส.ค. 2564 เวลา 09:50 น. | ดาวน์โหลด |