-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม ของสถานีตํารวจภูธรทากาศ อําเภอแม่ทา จังหวัดลําพูน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPublic Service According to Sangahavatthudhamma of Thakat Police Station Maeta District Lamphun Province
- ผู้วิจัยดาบตํารวจปรีชา แสงผาบ
- ที่ปรึกษา 1พระครูสุนทรสังฆพินิต, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.นิกร ยาอินตา
- วันสำเร็จการศึกษา22/03/2015
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2112
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 236
- จำนวนผู้เข้าชม 449
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชน ที่มีต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสถานีตํารวจภูธรทากาศ อําเภอแม่ทา จังหวัดลําพูน 2) เพื่อ เปรียบเทียบความพึงพอใจการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสถานีตํารวจภูธร ทากาศ อําเภอแม่ทาจังหวัดลําพูน ตามทัศนะของประชาชนผู้มาใช้บริการ จําแนกตามปัจจัยส่วน บุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ต่อการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสถานีตํารวจภูธรทากาศ อําเภอแม่ทา จังหวัดลําพูน 4) เพื่อศึกษาแนวทางการ ประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน ของสถานีตํารวจภูธร ทากาศ อําเภอแม่ทา จังหวัดลําพูน ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) โดยมีกลุ่ม ตัวอย่างได้แก่ ประชาชนในเขตตําบลทากาศ อําเภอแม่ทา จังหวัดลําพูน ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งมีจํานวน 4,226 คน และกําหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้สูตรการคํานวณขนาด ของกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ (Yamana) ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจํานวน 375 คน โดยใช้ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติสําหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่า เบียงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานด้วย การทดสอบค่าที (T - test) และ การทดสอบค่าเอฟ (F - test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ ความแปรปรวน ทางเดียว(One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทําการเปรียบเทียบความแตกต่าง รายคู่ด้วยวิธีการ (L.S.D) โดยกําหนดระดับนัยสําคัญ ทางสถิติที่ 0.05 และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยจะทําการจัดกลุ่มข้อมูลตามสาระ สําคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทําการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นที่มีต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสถานีตํารวจภูธร ทากาศ อําเภอแม่ทา จังหวัดลําพูน พบว่าประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นใน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.39) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสมานัตตตา อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านทาน ปิยวาจาและอัตถจริยา อยู่ในระดับปานกลาง
2. การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสถานีตํารวจภูธรทากาศ อําเภอแม่ทา จังหวัดลําพูน การทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ ความแตกต่างตามการจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ความถี่ใน การมาใช้บริการ พบว่า ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษาและอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีต่อการ ให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 สําหรับเพศและความถี่ในการมาใช้บริการ มีความคิดเห็นที่มีต่อการให้บริการไม่แตกต่างกัน
3. ปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสถานีตํารวจภูธร ทากาศ อําเภอแม่ทา จังหวัดลําพูน สรุปได้คือ 1) ด้านทาน เจ้าหน้าที่ตํารวจไม่มีการประชาสัมพันธ์ แนะนําขั้นตอนการให้บริการเท่าที่ควร ซึ่งเจ้าหน้าที่ตํารวจควรมีการแนะนําขั้นตอนต่างๆ แก่ ประชาชนให้ทราบด้วย 2) ด้านปิยวาจา การพูดจาของเจ้าหน้าที่ตํารวจยังไม่เป็นปิยวาจาเท่าที่ควร ซึ่งเจ้าหน้าที่ควรมีการพูดจาที่ไพเราะอ่อนหวาน ให้บริการด้วยความเป็นมิตร 3) ด้านอัตถจริยา เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการติดต่อประสานงานฝ่ายต่างๆ และเจ้าหน้าที่ ตํารวจที่ประจําสถานีมีน้อย ซึ่งเจ้าหน้าที่ตํารวจควรปฏิบัติหน้าที่ประจําสถานีบ้างเพื่อคอยให้บริการ ประชาชนยามจําเป็น 4) ด้านสมานัตตตา การให้บริการยังไม่มีความยืดหยุ่นเท่าใดนัก เพราะอาจต้องปฏิบัติไปตามหน้าที่ แต่เจ้าหน้าที่ตํารวจก็ควรมีความยืดหยุ่นบ้างในบางกรณี
4. ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสําคัญส่วนใหญ่เน้นในเรื่องของการ ให้บริการที่สอดคล้องกับหลักสังคหวัตถุ 4 โดยเฉพาะรูปแบบการให้บริการที่สะดวกรวดเร็วและเป็น ธรรมกับทุกฝ่าย มีการพูดจาที่ไพเราะ การช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่ประชาชน เพื่อให้เกิดความ ประทับใจแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of the study were: 1) to examine the satisfaction level of people toward the service according to sangavatthus of Takad Police Station, Meata district, Lamphun province. 2) to compare the satisfaction toward the service according to sangavatthus of Takad Police Station, Meata district, Lamphun province. 3) to explore the problems, the obstacles and the recommendations toward people sevice according to sangavatthus of Takad Police Station, Meata district, Lamphun province and 4) to investigate the application of Sangahavatthus for efficiency development toward people service of Takad Police Station, Meata district, Lamphun province. This research was a mixed research method. The samples were 4,226 people, the sample size was determined by Taro Yamane Table form the 375 people. The data was collected by questionnaires. The data analysis was done with social sciences SPSS. The statistics used were values of frequency, percentage, mean and standard deviation. Hypothesis test with T - test, F-test. It is also analyzed by the one-way Anova. In the case of independent variable since 3 group up found that difference with Least Significant Difference: LSD by statistically significant at the 0.05 level and data from interviews, the researcher will form into data groups according to important part of the interview and then content analysis technique.
The findings of this research were found as follows:
1. The opinion level toward the services according to sangavatthus of Takad Police Station, Meata district, Lamphun province found that the overall was at the medium level (X̅ = 3.39, when considering into each aspect, it was found that samanattata was at the high level but Dana, Piyavaca and Atthacariya was at the medium level.
2. The comparison of opinion level toward the service according to sangavatthus of Takad Police Station, Meata district, Lamphun province, The hypothesis test that different analysis according to classify by personal factors, including gender, age, education, occupation, frequency to use the service, it found that different age, education and occupation there is the opinion toward the different service was statistically significant at the 0.01 and 0.05 level, for gender and frequency of the service, the opinion into the service is no different.
3. The problems and the obstacles toward the service according to sangavatthus of Takad Police Station, Meata district, Lamphun province conclude that 1) Dana aspect: the police officer do not have public relations, recommendation and procedure toward the service that police officer should be suggested or various procedure about the service. 2) Piyavaca aspect: the speech of police station is still not polite properly that the officer should be spoken polite word and friendly service. 3) Atthacariya: the officers do not help the people in connecting with other section and there are at least the officers, should be at station for service the people and 4) Samanattata aspect: the service has not the flexible because they have to follow by regulation but should have the flexible.
4. The result of qualitative study found that the most informants on the subject of the services that concern with the four Sangahavatthus. Particularly, the service model that is convenient, fast and fair to all. There are polite word, various helping to people and impression into users service.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 9.28 MiB | 236 | 12 ส.ค. 2564 เวลา 10:29 น. | ดาวน์โหลด |