-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักอิทธิบาท 4 ของเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษSolid Waste Management according to Iddhibāda IV of Banwieng Municipal District, Rongwaung District, Phrae Province
- ผู้วิจัยนายนัทธพงศ์ เวียงสาม
- ที่ปรึกษา 1พระครูสังฆรักษ์บุญเสริม กิตฺติวณโณ, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.ดำเนิน หมายดี
- วันสำเร็จการศึกษา12/03/2016
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2115
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 494
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักอิทธิบาท 4 ของเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักอิทธิบาท 4 ของเทศบาลตำบลบ้านเวียงอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักอิทธิบาท 4 ของเทศบาลตำบลบ้านเวียงอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาในการนำหลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือประชากรผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ จำนวน 7,420 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนโดยเทียบสัดส่วน (Proportional Multi-Stage Random Sampling) ตามขั้นตอนคือ ทำการหากลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง คือ 380 คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหา ค่าความถี่(Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference:LSD) ในส่วนของข้อคำถามปลายเปิดที่แสดงปัญหาอุปสรรค และ
ข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มตามประเด็นที่กำหนดไว้ในแบบสอบถามปลายเปิด จากนั้นทำการ วิเคราะห์ โดยใช้แจกแจงความถี่ (Freguemce) และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่ม ข้อมูล (Data Grouping) สาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ( Comteut Anelysis Technigue)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักอิทธิบาท 4ของเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พบว่าประชาชนมีระดับความคิดเห็นต่อการจัดการขยะมูลฝอยเชิงพุทธตามหลักอิทธิบาท 4 ของเทศบาล บ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x̄ = 3.44, S.D. = 0.51)
2) การเปรียบเทียบการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักอิทธิบาท 4 ของเทศบาล บ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และอาชีพ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, รายได้ต่อเดือน และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักอิทธิบาท 4 ของเทศบาลบ้าน เวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
3) ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักอิทธิบาท 4 ของเทศบาลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พบว่า ปัญหา คือ ขยะมูลฝอยซึ่งเกิดจากการทิ้ง ขยะไม่เป็นที่เป็นทาง รวมไปถึงประชาชนยังไม่ให้ความร่วมมือดีพอ หรือประชาชนบางส่วนยังไม่ พร้อมที่จะนำวัสดุเหลือทิ้งกลับมาดัดแปลงใช้งาน ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรมีการสนับสนุนมากกว่านี้ในการส่งเสริมให้ประชาชนมาสนจขยะเพื่อให้เกิดรายได้เสริม แต่เจ้าหน้าบางส่วนก็มีความใส่ใจงาน จริงแต่ไม่ค่อยทำกัน และยังขาดเจ้าหน้าที่มีการควบคุมดูแลอย่างแท้จริง ส่วนปัญหาจากการที่ไม่มีถัง ขยะตามท้องถนนทำให้แขกที่มาเยือนในชุมชน หรือเด็กที่ทานขนมตามถนนหนทางไม่สามารถหาที่ทิ้งขยะได้ทำให้ต้องทิ้งตามถนนหนทางซึ่งไม่เกิดความเรียบร้อย
4) แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักอิทธิบาท 4 ของเทศบาล บ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พบว่า เจ้าหน้าที่ของเทศบาลมีความพอใจ และรักที่จะแก้ไข ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องการที่จะลดปัญหาขยะล้นถังและปัญหาขยะ ล้นสถานที่กำจัดขยะของเทศบาล และมีการสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะในครัวเรือนก่อนนำไปทิ้งขยะส่วนขยะที่สามารถรีไซเคิล หรือนำไปขายได้ก็ให้มีการคัดแยกและนำไปขายเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวส่วนเจ้าหน้าที่ก็มีความเอาใจใส่ และรับผิดซอบต่องานเป็น อย่างมากเนื่องจากต้องการให้ตำบลบ้านเวียงน่าอยู่ประชาชนมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนภายใต้แนวความคิดของนายกเทศมนตรีบ้านเวียงน่าอยู่มุ่งสู่วิถีชีวิตพอเพียง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of this study were 1 ) to study solid waste managemnent
according To Iddhibada V of Banwieng Municipal District, Rongwaung District, Phrae Province,
2) to compare the opinion of people towards management according To Iddhibada IV
of Banwieng Muniapal District, Rongwaung District, Phrae Province by classified personal
factors, 3) to study the study the problems, obstacles and suggestions about solid
waste managemnent according To Iddhibada N of Banvieng Municipal District, Rongwaung
District, Phrae Province and 4) to study the guideline for development solid waste
management according To Iddhibada V of Banweng Municipal District, Rongwaung District,
Phrae Province.
The study was a mixed methods research. Population and sample were
7,420 people. The samples were 380 people by using the formula of Taro Yamane.
The data were collected by using questionnaire and analyzed by using computer
program in social sciences research for finding frequency, percentage, mean and
standard deviation to describe general information. To test the hypothesis by t-test
and F-test with One Way ANOVA found that was difference then test by the least
significant difference. In the part of open-end showed the problerns, obstacle, and
suggestions, the researcher arranged the group according to the issues of open-end.
Then, there was to analyze by frequency and data from interviews, the researcher
will gather data on the essence of the interview, and then content analyzed,
The results of the study were as follows
1. Level of opinion of people on the solid waste management according To
Iddhibada /V of Banwieng Municipal District, Rongwaung District, Phrae Province was found
that people had the opinion level towards solid waste management according To
Iddhibada V of Banwieng Municipal District, Rongwaung District, Phrae Province overall was
at the moderate level (x̄ = 3.44, S.D. = 0.51).
2 . Comparison of solid waste managemnent according To Iddhibada IN of
Banwieng Municipal District, Rongwaung District, Phrae Province by base hypothesis and
analysis classification personal factors: sex, age, incomes, education, occupation was
found that the people who had sex, incomnes, education, occupation were not
different mean rejected hypothesis.
3. Results of the study problems, obstacles, and suggestions the solid
waste management according To Iddhibada N of Banwieng Municipal District, Rongwaung
District, Phrae Province were found that the people was not throw away the solid on
the bin and there were somne people did not bring the solid to recycle again. They
should promote people throw away the solid on the bin every time and no had
enough the officer for taking care in the community.
4 . The guidelines for developmnent for the solid waste management
according To Iddhibada M of Banwieng Municipal District, Rongwaung District, Phrae Province
found that the municipal officials are satisfied. And loves to tackle solid waste is
huge, especially the need to reduce waste and overflow tank overflowing garbage
problem of municipal waste disposal site. They should have the awareness to the
people to sorting household waste before dumping the waste that can be recycled.
Or to sell it to a sorting and selling to generate income for the family, the staff was
attentive. And is a very responsible job, because you want to make your home
livable town residents healthy sustainable under the concept of livable town house,
the Load mayor Banwieng raised towards life sufficiency.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|