-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหา ยาเสพติดในพื้นที่ตําบลบ้านกลาง ของสถานีตํารวจภูธร เมืองลําพูน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe People's Participation in Drug Prevention in Banklang Sub-District, Muang Lamphun Police Station.
- ผู้วิจัยดาบตํารวจนิวาส วิรัช
- ที่ปรึกษา 1พระครูสุนทรสังฆพินิต, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.ไพเราะ สุวภาพ
- วันสำเร็จการศึกษา22/03/2015
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2116
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 2,714
- จำนวนผู้เข้าชม 660
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตําบลบ้านกลาง ของสถานีตํารวจภูธรเมืองลําพูน 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่ตําบล บ้านกลาง ของสถานีตํารวจภูธรเมืองลําพูน จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหา ยาเสพติดในพื้นที่ตําบล บ้านกลาง ของสถานีตํารวจภูธรเมืองลําพูน 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ตําบลบ้านกลาง ของสถานีตํารวจภูธรเมืองลําพูน
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัย คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตําบลบ้านกลาง อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน รวมทั้งสิ้น จํานวน 9,372 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง โดยการกําหนดกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีโควตา (Quota) เปรียบเทียบ จํานวนประชากรกับตารางมาตรฐานว่าด้วยขนาดประชากรและขนาดตัวอย่าง ของเครจซี่และมอร์ แกน (Krejcie & Morgan) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % จํานวนตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จํานวน 370 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การทดสอบค่าที่และเอฟ (t-test และ F-test) การวิเคราะห์ ความแปรปรวน ทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และเก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ จากเจ้าพนักงานตํารวจ สถานีตํารวจภูธรเมืองลําพูน กํานันและผู้ใหญ่บ้านของตําบลบ้าน กลาง อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน รวมทั้งสิ้น 14 คน
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า
1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ตําบลบ้าน กลาง ของสถานีตํารวจภูธรเมืองลําพูน โดยภาพรวม ประชาชนมีระดับการมีส่วนร่วมโดย รวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (X̅ = 3.79) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วม ในการดําเนินกิจกรรม ด้านการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน ดําเนินการ ประชาชนมีระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการมีส่วนร่วมในการรับรู้ และด้านการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ประชาชนมีระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลําดับดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการดําเนินกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย (X̅ = 4.03) ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนดําเนินการมีค่าเฉลี่ย (X̅ = 4.02) ด้านการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามีค่าเฉลี่ย (X̅ = 3.98) ด้านการมีส่วนร่วมในการรับรู้ มีค่าเฉลี่ย (X̅ = 3.47) และด้านการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นมีค่าเฉลี่ย (X̅ = 3.43)
2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่ตําบลบ้านกลาง ของสถานีตํารวจภูธรเมืองลําพูน จําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน
3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน แก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตําบลบ้านกลาง ของสถานีตํารวจภูธรเมืองลําพูน พบว่า ปัญหาเกี่ยวกับ ยาเสพติดส่วนใหญ่ คนที่นําเข้ามาในเขตพื้นที่ตําบลบ้านกลาง จะเป็นคนต่างจังหวัด ที่มาทํางานใน นิคมอุตสาหกรรมลําพูน และมาพักอาศัยในหอพัก ซึ่งไม่มีทะเบียนบ้านอยู่ในตําบลบ้านกลาง ทําให้ ยากต่อการควบคุมดูแล ไม่มีการรณรงค์เกี่ยวกับปัญหายาเสพติดทําให้ประชาชนในพื้นที่ไม่มีความรู้ ความสามารถในการป้องกัน และขาดการแก้ไขปัญหา ผู้ที่ติดยาเสพติดในชุมชน ส่วนมากไม่ให้ ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ในเรื่องของการจําหน่าย การเสพ ตลอดจน การนําตัวผู้เสพไปบําบัด ทําให้ยากต่อการควบคุมและการดําเนินงาน
4. แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่ตําบลบ้านกลาง ของสถานีตํารวจภูธรเมืองลําพูน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ควรที่จะ มีการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงโทษของยาเสพติดให้มากขึ้น เตรียมตัวรับมือ และหาแนวทาง เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ให้ความรู้แก่ผู้นําชุมชน และประชาชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาของยาเสพติดในปัจจุบัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of the study were to 1) Study level of the people's participation in drug prevention in Ban Klang Subdistrict, Mueang Lamphun Police Station 2) Compare level of the people's participation in drug prevention in Ban Klang Subdistrict, MueangLamphun Police Station. 3) Study the problem and suggestion of the people's participation in drug prevention in Ban Klang Subdistrict, Mueang Lamphun Police Station. 4) Study solving guideline of the people's participation in drug prevention in Ban Klang Subdistrict, Mueang Lamphun Police Station
This research was Mixed Method by quantitative research and qualitative research. A sample was selected from the people who live in Ban Klang Subdistrict, Mueang, Lamphun 9,372 cases. Determining the sample was using by quota to compare quantity of the people with standard table with size of the people and size of the example of Krejcie & Morgan at confidence level at 95%. The number of samples used to collect data is 370 samples. The data were analyzed by Frequency, Percentage, Mean and Standard deviation, T-test and F-test, One Way Analysis of Variance and collected data by interviewing from the police officers of Banklang Subdistrict police station 14 cases.
The results of the study were as follows:
1. The people's participation in drug prevention in Ban Klang Subdistrict, Mueang Lamphun Police Station by overview there was a high level. Average (X̅ = 3.79) and when considered by side found that the participation of joining activities, the participation of solving the problem and the participation of planning, the people had participated in high level. The participation of acknowledging and the participation of giving an opinion, the people had participated in medium level with average of descending sequence. The participation of joining activities, (X̅ = 4.03). The participation of planning, (X̅ = 4.02). The participation of solving problem, (X̅ = 3.98). The participation of acknowledging, (X̅ = 3.47). The participation of giving an opinion, (X̅ = 3.43)
2. Comparison of the people's participation in drug prevention in Ban Klang Subdistrict, Mueang Lamphun Police Station base on gender age education background and income found that there was no difference of the people's participation of narcotic control.
3. Regarding to an investigation of people's participation in problems, obstacles and suggestions at Banklang subdistrict Meuang Lamphun police station in order to prevent and solving drug problems, we found out that the main cause of drug problems is from workers who emigrated from other areas to Lumphun industrial estates and live in dormitories. They do not have Banklang census registration; therefore, it is hard to control and regulate drug problems. Moreover, the people have not been encouraged and provided knowledge of protections and solutions of drug problems. Plus, they deny coordinating with police officers in order to provide the information of drug trading including arresting drug addicted people to a drug addicted treatment, accordingly, it is hard to control drug problems.
4. To encourage people in Banklang subdistrict Mueang lamphun police station to participate in drug controls effectively, we should educate and motivate them and their leaders to understand about disadvantages and dangers of drugs. Consequently, people in the locations would be more concerned and able to protect and prepare solutions of drug problems.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 6.02 MiB | 2,714 | 13 ส.ค. 2564 เวลา 03:51 น. | ดาวน์โหลด |