-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานี ตำรวจภูธรเมืองลำพูน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Administration in Accordance With Good Governance Of Lamphun Police Staion
- ผู้วิจัยดาบตำรวจณัชพน กัญญภัคชัญปภัช
- ที่ปรึกษา 1พระครูสิริสุตานุยุต, ดร
- ที่ปรึกษา 2ดร.วิชญ์พล ผลมาก
- วันสำเร็จการศึกษา31/03/2015
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2144
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 655
- จำนวนผู้เข้าชม 681
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยเรื่อง การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูนจังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของเจ้าพนักงานตำรวจต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน 2) เพื่อเปรียบเทียบควาคิดเห็นของเจ้าพนักงานตำรวจต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน 4) เพื่อศึกษาแนวทางการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงนสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งครอบคลุมหลักธรรมาภิบาล 6ด้าน ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบหลักการมีส่วนร่วม และหลักความคุ้มค่า ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสม ( Mixed Method Research)ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูนกำหนดกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีโควตา (Quota) โดยเปรียบเทียบจำนวนประชากรกับตารางมาตรฐานว่าด้วยขนาดประชากรและขนาดตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จำนวนตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 152ตัวอย่าง
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงาน สถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน (X = 3.72) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักนิติธรรมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือหลักความรับผิดชอบ หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความคุ้มค่า หลักการมีส่วนร่วม ตามลำดับผลการทดสอบสมมติฐาน การเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน โดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตามการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ ตำแหน่ง เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ พบว่า เจ้าพนักงานตำรวจที่มีตำแหน่งงาน เพศอายุ และรายได้ต่างกัน มีระดับการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานไม่แตกต่างกัน ส่วนเจ้าพนักงานตำรวจที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 1.05 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จากคำถามปลายเปิดและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิพบปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคลากรความโปร่งใสในการใช้งบประมาณ การมีส่วนร่วมของผู้ใต้บังคับบัญชา ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ โดยมีแนวทางในการแก้ไขคือ ควรยึดถือหลักตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับโดยให้มีการอบรมเพิ่มเติมความรู้ด้านกฎหมายและปรับทัศนคติของผู้บังคับใช้กฎหมาย ควรมีการประเมินผลงานให้เป็นรูปธรรมทุกด้าน ผู้บังคับบัญชาควรประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ควรมีการชี้แจงการใช้ งบประมาณของหน่วยงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบ ควรเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการรับทราบปัญหา ควรส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ปรับอัตรากำลังพลให้เหมาะสมในแต่ละหน่วยงาน และใช้กำลังพลที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of the study were 1) to study the police officer opinion toward the administration in accordance with good governance principle of Lamphun police station, 2) to compare the police officer opinion toward the administration in accordance with good governance principle of Lamphun police station, classified by personal factors, 3) to study the problems, obstacles and recommendations to the administration in accordance with good governance principle of Lamphun police station, 4) to explore the method to the administration in accordance with good governance principle of Lamphun police station for having efficiently, that covers all six aspects namely; the rule of law, the moral principle, the transparency, the responsibility, the participation and the main value. This research used the mixed method research (Mixed Method Research). The sample was Lamphun police station officer, the sample using quota (Quota) by comparing the population with standard tables of Krejcie and Morgan (Krejcie& Morgan) with 95% of reliability. The example of samples were 152 The results showed that the police officer opinion toward the administration in accordance with good governance principle of Lamphun police station, the overall of opinion was at high level in all aspects (X = 3.72) when considering into each aspect of the rule of law was at highest. Inferior to the responsibility, the moral principle, the
transparency, the main value and the participation respectively.Hypothesis testing of Comparison of administration in accordance with goodgovernance principle of Lamphun police station by analyzing differences of personal factors namely; position, gender, age, education and income of police officer, it was found that position, age and income did not have different there is good governance principles to the administration did not have different, the education of the police officer did have different there different there is good governance principles to the administration did have different that was statistically significant differences at the 0.05 level. Problems, obstacles and recommendations about taking the principle of good governance to the administration of Lamphun police station from open - end question and in - depth interviews from special expert found the problems about enforcement of the law and various regulations. The regulation of selecting personnel, the transparency of using the budget, the participation of subordinates and worthiness of spending the budget. There is the solution method is persist in the law and the regulation by additional training in the law and viewpoint of enforcer, should be the evaluation in all aspects. Commander should be a good model, having explanation of using the budget of organization to subordinates, the opened opportunity into the subordinates by participation of knowing the problem, promoting the development of personnel, changing the forces of each organization properly and using the forces that there are the highest efficiently.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 6.79 MiB | 655 | 17 ส.ค. 2564 เวลา 09:00 น. | ดาวน์โหลด |