โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการพัฒนาสุขภาวะตนเองเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 (หนองคาย-บึงกาฬ)
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษModel of Buddhist Based Self-Health Care Development of School Administrators under the Secondary Educational Service Area Office 21 (Nongkhai-Bueng Kan)
  • ผู้วิจัยนางสาวธนัญชาภาวิ์ ชัยประภา
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สมศักดิ์ บุญปู่
  • ที่ปรึกษา 2ดร.อธิเทพ ผาทา
  • วันสำเร็จการศึกษา11/03/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2156
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 189
  • จำนวนผู้เข้าชม 183

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพสุขภาวะตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 (หนองคาย-บึงกาฬ) 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสุขภาวะตนเองเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 (หนองคาย-บึงกาฬ) และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาสุขภาวะตนเองเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 (หนองคาย-บึงกาฬ) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Research Method) ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) จำนวน 280 ชุด และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi -Structural Interview) จำนวน 18 รูป/คน และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 8 รูป/คน เพื่อตรวจสอบรูปแบบ การวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ơ)

ผลการวิจัย พบว่า

1.  ผลด้านภาพรวม ของสภาพสุขภาวะตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 (หนองคาย-บึงกาฬ) มีสภาพสุขภาวะตนเองอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายด้านแล้ว ปรากฏว่า สภาพสุขภาวะของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง และระดับน้อย โดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ตามสภาพสุขภาวะตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง คือสุขภาวะตนเองด้านปัญญา (µ = 3.11) และอยู่ในระดับน้อยประกอบด้วย สุขภาวะตนเองด้านสังคม (µ = 2.47) สุขภาวะตนเองด้านจิตใจ (µ = 2.11) และสุขภาวะตนเองด้านร่างกาย (µ = 2.08)

2.  ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสุขภาวะตนเองเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 (หนองคาย-บึงกาฬ) ประกอบด้วยการพัฒนาสุขภาวะตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา 4 ด้าน คือ 1) ด้านกาย (กายภาวนา) คือการพัฒนาสุขภาวะตนเองทางกายให้สมบูรณ์ 2) ด้านจิต (จิตภาวนา) คือการพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็ง มั่นคง 3) ด้านศีล (ศีลภาวนา) หรือสังคม คือการพัฒนาความตระหนักรู้ในความรับผิดชอบต่อสังคมและศีลธรรม และ 4) ด้านปัญญา (ปัญญาภาวนา) คือ การพัฒนาระบบคิด

3.  การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาสุขภาวะตนเองเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 (หนองคาย-บึงกาฬ) โดยใช้ ภาวนา 4 ประกอบด้วย 1) สภาพปัญหาสุขภาวะตนเองเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ทฤษฎีและกระบวนการในการพัฒนาสุขภาวะตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักภาวนา 4 และ 3) ผลลัพธ์ของการพัฒนาที่ให้ผล 3 ด้านก็คือ ด้านการครองตน ครองคน และครองงาน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were: 1) to study the state of self-health care of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 21 (Nongkhai-Bueng Kan), 2) to develop a model of Buddhist based self-health care development of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 21 (Nongkhai-Bueng Kan), and 3) to propose the model of Buddhist based self-health care development of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 21 (Nongkhai-Bueng Kan). The mixed research method was used in the study. The quantitative data were collected by questionnaires from 280 samples and analyzed by percentage, frequency, mean and standard deviation. The qualitative data were collected by semi-structural interview with 18 informants and focus group discussions with 8 experts, and then analyzed by content analysis.

The results of the study showed that:

1.The state of self-health care of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 21 (Nongkhai-Bueng Kan) was at a low level overall. When considered in aspects, it showed that the state of self-health care of school administrators was at a moderate level and at a low level. In descending order, it started with intellectual self-health (µ = 3.11), followed by social self-health (µ = 2.47), mental self-health (µ = 2.11), and physical self-health (µ = 2.08) respectively.

2. The development of Buddhist based self-health care development model of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 21 (Nongkhai-Bueng Kan) consists of 4 components; (1) Body or physical development to be healthy, (2) Mind or emotional development to keep one’s mind firm and strong, (3) Sila or moral development to be responsible to morality and society, and (4) Paññā or intellectual and thinking system development.

3. The proposed model of Buddhist based self-health care development of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 21 (Nongkhai-Bueng Kan) is based on the 4 principles of Bhāvanā consisting of (1) the state of self-health care of school administrators, (2) theory and process in self-health care development of school administrators based on the principles of Bhāvanā, and (3) the outcome of development resulting in 3 ways; self-management, man-management and work-management.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6101102020 6101102020 8.74 MiB 189 21 ส.ค. 2564 เวลา 23:40 น. ดาวน์โหลด