โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับผู้สูงอายุในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 1
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Model for Promoting Lifelong Learning Based in Family Institution on Tisikkhāfor Preparing of Elderly Society of the Sangha in Thailand Section 1
  • ผู้วิจัยพระครูสมุห์นพดล ปิยธมฺโม (เขาแก้ว)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.ทองดี ศรีตระการ
  • วันสำเร็จการศึกษา11/03/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2159
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 112
  • จำนวนผู้เข้าชม 148

บทคัดย่อภาษาไทย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงวัย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับผู้สูงอายุในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาคกลาง 1 และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับผู้สูงอายุในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาคกลาง 1 เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูป/คน และสนทนากลุ่ม 10 รูป/คน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณ (Content Analysis) และวิจัยเชิงปริมาณ ได้กลุ่มตัวอย่าง 120 คน สถิติที่ใช้ค่าร้อยละ และสถิติเชิงพรรนณา โดยเขียนเป็นความเรียง

ผลการวิจัย พบว่า:

1. ผู้สูงอายุมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับผู้สูงอายุในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 1 โดยภาพรวม ร้อยละ 4.77 และรายด้านคือ อธิปัญญาสิกขา ส่งเสริมการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 4.65 อธิศีลสิกขา รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 4.71 และอธิจิตตสิกขา ตามขั้นตอนการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา คิดเป็นร้อยละ 4.78 โดยการสังเคราะห์เป็นรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับผู้สูงอายุ

2. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ใช้กิจกรรม 3 สุข 1) กิจกรรมสุขภาพ สุขกาย โดยการเหวียงมือซ้าย และขวา 3 นาที ลุก และนั่งเก้าอี้ ประมาณ 3 นาที 2) กิจกรรม สุขภาพ สุขสนุก จะเน้นไปที่กิจกรรมนันทนาการ การร้องเพลง หรือรำวงสามัคคี ซึ่งเป็นการเสริมสุขภาพทางร่างกาย และจิตใจให้เกิดความสนุกสนาน และ 3 กิจกรรมสุขภาพ สุขสว่าง ผู้สูงอายุได้ร่วมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ บูรณานากรเข้ากิจกรรมทางศาสนา

3. ได้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา สำหรับผู้สูงอายุในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 1 สะท้อนแนวคิดร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และวางแผนเพื่อกิจกรรม 3 สุข 1) กิจกรรมสุขภาพ สุขกาย 2) กิจกรรม สุขภาพ สุขสนุก 3) กิจกรรมสุขภาพ สุขสว่าง บูรณาการกับหลักไตรสิกขา คือ อธิปัญญาสิกขาส่งเสริมการเรียนรู้ อธิศีลสิกขาและลงมือปฏิบัติตามแผนงาน สังเกตผลจากการปฏิบัติอธิปัญญาการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้สุขวิถีชีวีตผู้สูงอายุในสังคมไทย

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The purposes of this research were 1) to study the principles, concepts and theory of learning promotion for the elderly, 2) to develop a model of learning promotion according to the Threefold Training for elderly in Sangha Administration Region 1, and 3) to propose the model of learning promotion according to the Threefold Training for elderly in Sangha Administration Region 1. Participatory Action Research was designed. Qualitative data were collected using interview from 10 key informants and using focus group discussion with 10 experts. Content analysis was used to analyze qualitative data whereas quantitative data was analyzed by using descriptive statistics.

Results indicated that

1. the elderly had opinions on the model of learning promotion according to the Threefold Training for elderly in Sangha Administration Region 1 in overall was at 4.77 percent. Considering in each aspect, Athipanya Sikka promote learning accounted for 4.65 percent, Atitsilasikha was at 4.71 percent, and Athichittasikha according to the learning promotion process according to the Threefold Training accounted for 4.78 percent by synthesis as a form of learning promotion activities following the Threefold Training for the elderly.

2. Development of a learning promotion model according to the Threefold Training using the 3 happiness activities consisted of 1) physical health activities by practicing 3 minutes of left-hand and right-hand swinging, 3 minutes of up and sitting in a chair. 2) Healthy and enjoyable activities focus on recreational activities, singing or dancing which is to enhance physical health and the mind to have fun. These three healthy activities have brought happy and bright by integrating with religious activities.

3. A model of learning promotion according to the Threefold Training for elderly in Sangha Administrative Region 1 reflected the common concept exchange knowledge and plan for 3 happiness activities which were 1) healthy physical health activities, 2) happy health activities, and 3) bright happy healthy activities integrated with the Threefold Training (Trisikkhā), namely “Athipanyasikkha” to promote learning. "Atisin Sikka" and acted according to the plan observe the results of the "Athipanya" practice, the change of learning, well-being, lifestyles of the elderly in Thai society.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6101102028 6101102028 7.36 MiB 112 22 ส.ค. 2564 เวลา 02:08 น. ดาวน์โหลด