-
ชื่อเรื่องภาษาไทยคัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกาภาคที่ 3 : การแปลและศึกษาวิเคราะห์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Sāratthamañjūsā Aṅguttaraṭīkā Part 3: Translation and Analytical Study
- ผู้วิจัยพระมหาชิด วชิรญาโณ (ศรีวิริยกุลชัย)
- ที่ปรึกษา 1พระเทพวัชราจารย์ (เทียบ สิริญาโณ), รศ. ดร
- ที่ปรึกษา 2พระเมธีวรญาณ (สายเพชร วชิรเวที), ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา20/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2165
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 4
- จำนวนผู้เข้าชม 8
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง คัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกา ภาคที่ 3: การแปลและศึกษาวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติและโครงสร้างของคัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกา ภาคที่ 3 และความสัมพันธ์กับคัมภีร์อื่น 2) เพื่อแปลคัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกา ภาคที่ 3 จากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย 3) เพื่อวิเคราะห์การอธิบายหลักธรรมและคุณค่าของคัมภีร์ สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกา ภาคที่ 3 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research)
ผลการวิจัยพบว่า คัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกา ภาคที่ 3 รจนาโดยพระสารีบุตรเถระ ชาวลังกา เป็นคัมภีร์ในสุตตันตฎีกาที่จัดพิมพ์แบ่งเป็น 3 ภาค คือ 1) คัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกา ภาคที่ 1 2) คัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกา ภาคที่ 2 และ 3) คัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกา ภาคที่ 3 มีโครงสร้างการจัดลำดับพระสูตรเข้าไว้เป็นหมวดหมู่ตามจำนวนหัวข้อธรรมเป็นสำคัญ มีเนื้อหาที่จัดเป็นหมวดว่าด้วยนิบาต มีทั้งหมด 7 นิบาต คือ ปัญจกนิบาต ฉักกนิบาต
สัตตกนิบาต อัฏฐกนิบาต นวกนิบาต ทสกนิบาต และเอกาทสกนิบาต มี 15 ปัณณาสก์ 68 วรรค 288 สูตร รูปแบบการแต่งคัมภีร์เป็นแบบร้อยกรองผสมร้อยแก้ว มีความสัมพันธ์กับพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา โดยพระสารีบุตรเถระ ชาวลังกา ผู้รจนาได้ยกหลักฐานจากพระไตรปิฎก อรรถกถาและฎีกา มาสนับสนุนแนวการอธิบายความหมายของศัพท์ต่าง ๆ ในคัมภีร์สารัตถมัญชูสา
อังคุตตรฎีกา ภาคที่ 3 ตามลำดับ ที่ท่านพิจารณาเห็นว่าเป็นบทที่มีความหมายลึกซึ้ง (ลีนัตถบท)
ทั้งคาถาและจุณณิยบท ให้มีความสมบูรณ์และชัดเจนมากยิ่งขึ้น.
คัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกา ภาคที่ 3 นี้ เป็นผลงานแปลที่ผู้วิจัยแปลจากคัมภีร์ภาษาบาลีอักษรไทย ฉบับของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2536 ซึ่งปริวรรตจากคัมภีร์อังคุตตรฏีกาต้นฉบับเดิมในคราวการสังคายนาครั้งที่ 6 จากอักษรพม่า ให้เป็นภาษาบาลีอักษรไทย การอธิบายหลักธรรมในคัมภีร์นี้มีรูปแบบการอธิบายหลักธรรมสอดคล้องกับหลักเทสนาหาระ 6 คือ 1) อัสสาทะ (Assãda) ความยินดีพอใจเป็นเหตุให้หลงติด เป็นสมุทัยสัจ 2) อาทีนวะ (Ãtĩnava) โทษของทุกข์ทั้งหมด เป็นทุกขสัจ 3) นิสสรณะ (Nissarana) การออกจากทุกข์ ความดับทุกข์ เป็นนิโรธสัจ 4) ผละ (Phala) ผลจากการแสดงธรรมและฟังธรรม เป็นทุกขสัจ 5) อุปายะ (Upãya) อุบายวิธีเพื่อความดับทุกข์ เป็นมรรคสัจ และ 6) อาณัตติ (Ãnatti) การแนะนำชี้ชวนให้ละชั่ว ทำดี เป็นมรรคสัจ มีการอธิบายธรรมโดยใช้อุปมาและอุปมัยแบบบุคคลาธิษฐานและแบบธรรมาธิษฐาน เปรียบเทียบบุคคลกับบุคคลบ้าง สภาวธรรมกับบุคคลบ้าง และสภาวะธรรมกับสิ่งอื่นบ้าง เพื่ออธิบายและสื่อความธรรมะในบริบทต่างๆ และมีการอธิบายหลักธรรมแบบโวหาร 5 คือ
1) บรรยายโวหาร 2) พรรณนาโวหาร 3) เทศนาโวหาร 4) สาธกโวหาร และ 5) อุปมาโวหาร ทำให้เนื้อหาของคัมภีร์สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฎีกา ภาคที่ 3 นี้ มีคุณลักษณะเด่นในด้านวิธีการแต่ง
การเลือกใช้ถ้อยคำ สำนวน ลีลา ประโยค และความเรียงต่าง ๆ เป็นระบบแบบตันติภาษา นับเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าทางพุทธศาสนา ที่จรรโลงไว้ซึ่งพระสัทธรรมอันล้ำค่า ดุจดั่งหีบตู้ที่เก็บรักษา
พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ อันบริบูรณ์ไปด้วยสาระแห่งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธอย่างครบถ้วน.
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This dissertation entitled “The Sāratthamañjūsā Aṅguttaraṭīkā Part 3: Translation and Analytical Study” has three objectives: 1) to study the history and structure of Sāratthamañjūsā Aṅguttaraṭīkā Part 3 and its relationship with other scriptures, 2) to translate the Sāratthamañjūsā Aṅguttaraṭīkā Part 3 from Pali into Thai language, and 3) to analyze Dhamma explanation and values of Sāratthamañjūsā Aṅguttaraṭīkā Part 3. This is the documentary research.
The research reveals that the Sāratthamañjūsā Aṅguttaraṭīkā Part 3 was historically composed by a Sri Lankan Buddhist monk named Sãrĩputta as the Sutta Sub-commentary published in three parts, namely 1) Sāratthamañjūsā Aṅguttaraṭīkā Part 1, 2) Sāratthamañjūsā Aṅguttaraṭīkā Part 2, and 3) Sāratthamañjūsā Aṅguttaraṭīkā Part 3. Its content was arranged into 7 Sutta-Nipātas in sequence of numbers of Dhamma topics contained in each Sutta, namely Pancakanipāta, Chakkanipāta, Sattakanipāta, Atthakanipāta, Navakanipātas, Dasakanipata, and Ekadasakanipāta. It totally possesses 15 Pannāsakams, 68 Vaggas, 288 Suttas. The style of composition is the mixture of verse and prose. As regards the relationship with other scriptures, the writer brought evidence from Tipiṭaka, Commentaries, and Sub-commentaries to support explanation of words in the Sāratthamañjūsā Aṅguttaraṭīkā Part 3 upon his consideration that those words both in verse and prose had profound meanings, hence, in need of explicitness.
The Sāratthamañjūsā Aṅguttaraṭīkā Part 3 was translated from Pāli into Thai language based on the Mahachulalongkornrajavidyalaya University, a version of B.E. 2536 that was transliterated from the original version in Burmese language from the sixth revision into Pāli using Thai alphabets. The way of Dhamma explanation corresponds with the six principles of Desanãhãra, which are: 1) Assãda is the pleasant of obsession that causes suffering considered as Samudayasacca, 2) Ãtĩnava is all sufferings considered as Dukkhasacca, 3) Nissarana is the cause of overcoming the suffering considered as Maggasacca, 4) Phala is the effect of dhamma teaching and listening considered as Dukkhasacca, 5) Upãya is the ways of suffering cessation or extinction considered as Maggasacca, and 6) Ãnatti is the advice to ignore evil and do good deeds considered as Maggasacca. Meanings of dhamma are explained and conveyed by using metaphor through the personification and the reference to the ideas to compare persons with persons, natural conditions with persons, and natural conditions with things to explain Dhamma in various contexts. The Dhamma principles was explained by using five literary styles of writing: 1) narrative writing, 2) descriptive writing, 3) preaching writing, 4) exemplification writing, and 5) figure of speech. This makes the content of Sāratthamañjūsā Aṅguttaraṭīkā Part 3 look outstanding and systematic as a classical language in terms of the composition, use of wording, eloquence, stylistics, sentencing, and essay writing. It is, therefore, considered a valuable Buddhist literature that sustains invaluable Dhamma as a cabinet keeping the Dhamma teachings of the Lord Buddha fully completed with the content of study, practice, and realization respectively.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
5701505148 | 5701505148 | 6.87 MiB | 4 | 22 ส.ค. 2564 เวลา 08:23 น. | ดาวน์โหลด |