-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการสวดมนต์และปฏิบัติอานาปานสติส่งเสริม อัตมโนทัศน์เชิงพุทธของผู้ปฏิบัติธรรม
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Model of Chanting and Ānāpānasati and Meditation Practice for Enhancing Buddhist Self-concept of Practitioners
- ผู้วิจัยพระพรชัย อาสโภ (เทพสาร)
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.ประยูร สุยะใจ
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
- วันสำเร็จการศึกษา15/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2177
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 17
- จำนวนผู้เข้าชม 30
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยเรื่อง รูปแบบการสวดมนต์และปฏิบัติอานาปานสติส่งเสริมอัตมโนทัศน์เชิงพุทธของผู้ปฏิบัติธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการแนวปฏิบัติการสวดมนต์และปฏิบัติอานาปนสติในสำนักปฏิบัติธรรม 2) พัฒนารูปแบบการสวดมนต์และการปฏิบัติอานาปานสติส่งเสริมอัตมโนทัศน์เชิงพุทธของผู้ปฏิบัติธรรม 3) นำเสนอรูปแบบการสวดมนต์และการปฏิบัติอานาปานสติส่งเสริมอัตมโนทัศน์เชิงพุทธของผู้ปฏิบัติธรรม การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร (Document Research) สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และสนทนากลุ่มย่อย โดยผ่านการบวนการวิเคราะห์สังเคราะห์ตามรูปแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารจัดการแนวปฏิบัติการสวดมนต์และปฏิบัติอานาปนสติในสำนักปฏิบัติธรรมในสังคมไทย พบว่า มี 7 ด้าน 1) ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อมควรมีความเป็นสัปปายะ
2) ด้านบุคลากร ได้แก่ เจ้าหน้าที่วัดและจิตอาสา จะช่วยอำนวยความสะดวกในการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ ตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดการในสำนักปฏิบัติและวิปัสสนาจารย์คือต้นแบบที่ดี
3) การบริหารจัดการและเทคโนโลยีสื่อสารสำนักปฏิบัติ การประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 4) การสวดมนต์ การกระทำที่ต้องพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ อันนำไปสู่กุศล 5) การปฏิบัติอานาปานสติแบ่งเป็น 4 หมวด คือ กายานุสติปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา และธัมมานุปัสสนา
6) รูปแบบการสวดมนต์และปฏิบัติอานาปานสติ เป็นกำหนดให้มีการสวดมนต์แปลเพื่อให้เกิดความเข้าใจในบทสวดและเกิดศรัทธาด้วยความเข้าใจความหมาย 7) การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมที่มีผลต่อการสวดมนต์และปฎิบัติอานาปานสติ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีที่เหมาะสมต่อการมาปฎิบัติธรรมส่งเสริมให้เกิดความสบายกายสบายใจช่วยให้เกิดดุลยภาพของชีวิตมากขึ้นทั้งทางกายใจและใจ เอื้ออำนวยส่งเสริมต่อการปฏิบัติ
2. พัฒนาและนำเสนอรูปแบบการสวดมนต์และการปฏิบัติอานาปานสติส่งเสริมอัตมโนทัศน์เชิงพุทธของผู้ปฏิบัติธรรมใน 4 ด้าน คือ 1) ด้านศีลธรรมจรรยา 2) ด้านความสม่ำเสมอแห่งตน 3) ด้านปณิธานความคาดหวัง 4) ด้านการยอมรับนับถือตนเอง พบว่า หลักไตรสิกขาสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการในวัดหรือสำนักปฏิบัติธรรมได้เพื่อการดูแลความสงบเรียบร้อย มีวินัยปฏิบัติเพื่อการควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติตามวิธีการปฏิบัติแนวพุทธทั้งการสวดมนต์และการเจริญสติในรูปแบบที่เป็นอานาปานสติ และประยุกต์ใช้ให้เกิดสมดุลกายใจต่อผู้ปฏิบัติธรรม ประกอบได้ด้วย
(1) ศีล คือวินัยและกฎข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อความสงบเรียบร้อยและเป็นปกติสุขในการอยู่ร่วมกัน ผู้เข้าปฏิบัติในสำนักปฏิบัติธรรมควรถือศีลแปด และกฎข้อบังคับที่มีพื้นฐานจากธุดงควัตรเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติในการฝึกพิจารณาอย่างแยบคาย และเป็นการฝึกขัดเกลากิเลส (2) การฟังธรรม (ธรรมสวนะ) เพื่อให้เรียนรู้และเข้าใจในหลักธรรมและแนวทางการปฏิบัติ นำไปสู่โยนิโสมนสิการคือการคิดใคร่ครวญอย่างเป็นระบบ (3) ก่อนการปฏิบัติธรรมด้วยวิธีอานาปานสติภาวนา ให้มีการทำวัตรสวดมนต์และกิจวัตรที่ช่วยฝึกสติ และปรับอินทรีย์ให้สมดุล เช่น การดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่, การบริหารกายอย่างมีสติ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research is entitled “A Model of Chanting and Ānāpānasati and Meditation Practice for Enhancing Buddhist Self-concept of Practitioners” with
the following objectives: 1) to study the problems on managing a model of chanting and Ānāpānasati meditation practice at the meditation centers; 2) to develop
a model of chanting and Ānāpānasati meditation practice to enhance Buddhist
self-concept of practitioners; and 3) to present a model of chanting and Ānāpānasati meditation practice to enhance Buddhist self-concept of practitioners. This is
a qualitative research by studying document, using an In-depth Interview, sub-group discussion with the process of analysis and synthesis based on the qualitative research.
The result of research was found as the following.
1. In managing a model of chanting and Ānāpānasati meditation practice at the meditation centers in Thai society, it was found for 7 aspects; 1) Regarding
the place and environment, it should be comfortable, 2) Regarding the personnel,
i.e. temple staff and volunteers will give the convenience in providing
the suggestions, help give the answers on management at the meditation centers and the meditation masters are good examples, 3) The management and information technology at the meditation centers, and public relations to access the target group, 4) the chanting, and bodily, verbal and mental action will lead to the wholesomeness,
5) Ānāpānasati meditation can be divided into 4 categories, namely Kāyānupassanā, Vedanāanupassanā, Cittānupassanā, and Dhammānupassanā, 6) a model of chanting and Ānāpānasati meditation practice is required to have a translating recitation to be easily understood that will bring about the faith that occurs from understanding its meaning, 7) the management of the meditation centers that has an effect on chanting and Ānāpānasati meditation practice should be taken into consideration of an environment that is suitable for meditation practice, and brought about
the comfort in balancing the life of people and enhancing meditation practice.
2. Developing and presenting a model of chanting and Ānāpānasati meditation practice to enhance Buddhist self-concept of practitioners in 4 sides, namely 1) morality,
2) self-consistency, 3) expecting determination, and 4) self-esteem that were found that
the Three Characteristics can be applied in managing the temples or meditation centers for the orders of the practitioners based on a model of chanting and Ānāpānasati meditation practice and being applied for balancing the body, speech and mind of practitioners that consist of (1) Vinaya (discipline) and regulations in keeping
the orders and peace in staying together with others. The practitioners should observe the 8 precepts and basic rules of austerity practices (Dhūtaṅga) to support the intriguing practice and to get rid of kilesa (defilements), (2) Dhamma listening to understand the Dhamma principles and the way of practice that will lead to Yonisomasasikāra, the systematic thinking, (3) before Dhamma practicing by a model of Ānāpānasati meditation practice, there should be of the reciting and regular mindfulness practicing to balance the body, speech and mind, i.e. looking after
the place and body management mindfully.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6101103036 | 6101103036 | 18.01 MiB | 17 | 26 ส.ค. 2564 เวลา 15:11 น. | ดาวน์โหลด |