-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องจิตในพุทธปรัชญาเถรวาทกับปรัชญาสำนักจิตนิยมตะวันตก
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Comparative Study of the Concept of Mind in Theravada Buddhist Philosophy and Idealism in Western Philosophy
- ผู้วิจัยพระครูปริยัติวีรธรรม (แท่งทองหลาง)
- ที่ปรึกษา 1รศ. วิเชียร ชาบุตรบุณฑริก
- ที่ปรึกษา 2ดร.บรรพต แคไธสง
- วันสำเร็จการศึกษา09/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาปรัชญา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2178
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,304
- จำนวนผู้เข้าชม 210
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องจิตในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องจิตในปรัชญาสำนักจิตนิยมตะวันตก และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องจิตในพุทธปรัชญาเถรวาทกับปรัชญาสำนักจิตนิยมตะวันตก ด้วยการศึกษาจากพระไตรปิฎก คัมภีร์ทางพุทธเถรวาท เอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
จิตในพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึง ความคิด สภาพนึกคิด ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ การรับรู้ทั้งภายนอกและภายในอยู่เสมอ จิตเป็นสังขารธรรมอย่างหนึ่ง เป็นธรรมที่ปรุงแต่งได้ มีลักษณะเกิดดับอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย จนดูเหมือนว่าจิตนั้นดำรงอยู่อย่างนั้นอย่างไม่เคยดับ จิตคือธรรมชาติรู้ แต่ธรรมชาติของจิตเองหาได้เป็นเพียงแค่รู้อย่างเดียวไม่ แต่มีอย่างอื่นที่เป็นธรรมชาติของจิตด้วย จิตสามารถปรุงแต่งธรรมใดธรรมหนึ่งขึ้นมากล่าวคือเวทนา ไม่ว่าจิตนั้นประกอบไปด้วยปัญญาหรืออวิชชา ล้วนแต่ปรุงแต่งเวทนาขึ้นมาด้วยทั้งนั้น จิตทำหน้าที่สืบทอดต่อกันเป็นลำดับ และความเป็นไปแห่งจิตนั้นเร็วดุจแล่นไปในอารมณ์
จิตในปรัชญาสำนักจิตนิยมตะวันตก เชื่อว่าเป็นความแท้จริงเพียงสิ่งเดียว สสารเป็นเพียงปรากฏการณ์ของจิตเท่านั้น คุณค่าเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง เช่น ความดี ความงาม ความถูก ความผิด จิตมีลักษณะเป็นนิรันดร์มีอยู่จริง ไม่ใช่สิ่งที่สมมติขึ้น ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ตัดสิน ความแท้จริงมีเพียงจิตดวงเดียว เรียกว่าสิ่งสัมบูรณ์ สามารถแบ่งออกเป็น ๓ ระยะ กล่าวคือ จิตดั้งเดิมหมายถึงจิตบริสุทธิ์ จิตขัดแย้งเป็นการแสดงตัวออกมาเป็นสสาร และจิตสังเคราะห์เป็นสสารสำนึกตัวเองว่าเป็นจิต จิตเป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่งในโลก เป็นพื้นฐานที่สำคัญของสิ่งทั้งหลาย แม้ว่ามนุษย์จะประกอบด้วยร่างกายจิตวิญญาณ แต่ส่วนที่สำคัญซึ่งเป็นตัวบงการร่างกายหรือบังคับให้ร่างกายแสดงพฤติกรรมออกมานั่นคือจิต
ความเหมือนระหว่างพุทธปรัชญาเถรวาทกับปรัชญาจิตนิยม คือต่างมองจิตว่าเป็นนามธรรม มีลักษณะของการรับรู้อารมณ์ มีการเปลี่ยนแปลงและสืบต่อกันตลอดเวลา ไม่มีสรีระร่างกาย ไม่มีรูปร่างสัณฐาน ไม่มีน้ำหนัก ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีการกินที่ และเชื่อว่าจิตประกอบด้วย ร่างกายและจิต เมื่อร่างกายสลายหรือตาย จิตยังอยู่ไม่สูญสลายตามร่างกาย แต่จิตจะหาร่างใหม่อยู่หรือไปเกิดใหม่ ส่วนความต่างกันนั้น พุทธปรัชญาเถรวาทมองว่าจิตมีสภาวะเป็นภาพรวม ไม่ได้เป็นของเฉพาะบุคคล มีลักษณะเกิดขึ้นกับใครก็ได้ มีธรรมชาติรู้อารมณ์ มีการดำเนินไปทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต จิตดำเนินไปด้วยอาการที่มีทั้ง ดี ชั่ว หรือ เฉย ๆ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีองค์ประกอบให้เกิด เกี่ยวเนื่องกับสิ่งที่มากระทบทางอายตนะ จึงทำให้เกิดสภาวะการรับรู้อารมณ์ และเป็นอนิจจัง ส่วนปรัชญาจิตนิยมตะวันตกมองว่าจิตเป็นลักษณะของบุคคล มีการเปลี่ยนแปลง เกิดประสบการณ์ มีความคิด การแสดงออกเป็นของเฉพาะบุคคล มีลักษณะรู้อารมณ์เฉพาะบุคคล มีความอิสระ มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของการมีเหตุผล มีอยู่ทั่วไปสำหรับทุกชีวิต และเป็นสิ่งที่ผ่านเข้ามาจากประสบการณ์ส่วนตัว จิตเป็นชุดของการเคลื่อนที่ทั้งหมดของชีวิต และพื้นฐานของการเคลื่อนที่ต้องมาจากสิ่งนิรันดร์เท่านั้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objective of this research is 1) to study the concept of mind in Theravada Buddhist philosophy, 2) to study the concept of mind of philosophy of Idealism and 3) to compare the concept of mind in Theravada Buddhist philosophy and philosophy of Idealism. The research methodology is to study of the Tipitaka, Buddhist texts, academic documents and related researches. Data are analyzed by a descriptive method.
The research’s results found that;
Mind citta in Buddhist Theravada philosophy means thought, condition of thought, the nature of knowing, the recognizing both outward and inward. Mind is one of compounded Dhamma Saṅkhāra-dhamma, conventional thing, rising and disappearing continuously. It seems that mind remains permanent. Mind is the nature of knowing, the nature of mind is not only knowing but there is another nature of mind. Mind could create kind of Dhamma namely, feeling vedanā. Whether mind composes of wisdom paññā or ignorance avijjā, it creates only feeling vedanā. The duty of mind is to carry on condition respectively. Condition of mind runs so fast as if rises through sense-objects Arammaṇa.
Mind of Idealism philosophy views that that is only reality. The matter is phenomena of mind. Value is reality such as goodness, beauty, right and wrong. Condition of mind is eternal, not a matter of convention and not the satisfaction of a judge. Mind is only one called Absolute Reality. Mind divides into 3 categories; 1) Original mind means purity, 2) contradicted mind demonstrates of matter and 3) synthetic mind means matter repenting of oneself. Mind is the source of all things in the world and the essential basic of all things. Even if human beings composes of body and mind, but the most important part which controls the body or forces the body to behave is mind.
The similarity between Buddhist Theravada philosophy and philosophy of Idealism is that both views that mind is abstract. Mind has quality to experience emotionally sensitive, always changing and inheriting, no body, no physical form, no weight, no color, no smell and no space. It believes that mind composed of body and mind. When the body breaks down or dies, mind did not perish but finding a new body or being reborn. For different way, the Buddhist Theravada philosophy is of view that mind is overview, not individual. It brings about to anyone, being nature of knowing, processing in the past, present and future. Mind processes with goodness, badness and non-emotion. It depends on various factors and relations to involve senses Ayatana, which makes condition of knowing. Mind follows to impermanent. Philosophy of Idealism views that mind is personality. It could be change, experience, and thought, individual expression, individual emotion, freedom, changing as rationality, common to all life and personal experience. Mind is the set of all life's movement and the basis of the movement must come from eternity.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 1.83 MiB | 1,304 | 1 ก.ย. 2564 เวลา 03:08 น. | ดาวน์โหลด |