โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาวิเคราะห์ความงามของปราสาทหินเมืองต่ำตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of the Aesthetics in Prasart Muangtam according to Theravada Buddhist Philosophy
  • ผู้วิจัยพระครูวิฑูรธรรมาภิรม (แสงสุข)
  • ที่ปรึกษา 1รศ. วิเชียร ชาบุตรบุณฑริก
  • ที่ปรึกษา 2ดร.บรรพต แคไธสง
  • วันสำเร็จการศึกษา09/08/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาปรัชญา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2180
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 291
  • จำนวนผู้เข้าชม 88

บทคัดย่อภาษาไทย

            งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทและสถาปัตยกรรมของปราสาทหินเมืองต่ำ 2) เพื่อศึกษาหลักความงามในพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความงามของปราสาทหินเมืองต่ำตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท เอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

ปราสาทหินเมืองต่ำถือได้ว่าเป็นปราสาทของอารยธรรมขอมโบราณที่มีการออกแบบสวยงาม และมีการจำหลักอย่างประณีตถูกต้องตามรูปแบบของศิลปะยุคนั้น มีการเอาใจใส่เป็นพิเศษในการก่อสร้าง ด้วยการวางผังอย่างมีกฎเกณฑ์ ลวดลายจำหลักในส่วนต่าง ๆ ของปราสาทกระทำอย่างประณีตแบบช่างหลวง หน้าบัน ทับหลัง เสา กรอบประตู และหน้าต่าง ล้วนสลักลวดลาย กอปรด้วยความหมาย สำหรับสระน้ำล้อมรอบปราสาทกรุด้วยแท่งหินทรายเป็นขั้นบันไดลงไปถึงพื้นเบื้องล่าง มุมของสระน้ำทุกมุมติดตั้งหัวพญานาคไว้อย่างสวยงาม โดยใช้ขอบสระเป็นตัวนาคราชลาดลงสู่สระน้ำชั้นล่าง นอกจากนั้น รอบปราสาทยังมีบันไดหินและซุ้มประตูหินจำหลักลวดลายสวยงามอย่างประณีตเช่นกัน

สำหรับความงามในพุทธปรัชญาเถรวาท คือสิ่งที่ลึกซึ้งภายในจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งบริสุทธิ์ปราศจากการปรุงแต่ง อาจจะเป็นคุณสมบัติทางศีลธรรม หรือสิ่งที่โน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ความงามรอบตัว ทั้งเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติ โดยความงามนั้นมีทั้งงามภายนอกกับงามภายใน งามภายนอกคือรูปลักษณ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับค่านิยมของสังคมนั้น ๆ ว่าจะตีค่าของความงามภายนอกแบบไหน ส่วนงามภายในหรือจิตใจ เป็นความงามชั้นสูง เป็นความงามที่เป็นสากล ไม่ขึ้นอยู่กับการปรุงแต่งของคนในสังคม

                ส่วนความงามของปราสาทหินเมืองต่ำตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นความงามด้านจิตใจหรือความงามตามลักษณะของจิตนิยม อันเป็นความงามที่เกิดจากสภาวะจิตใจที่อิงสภาวธรรม หรือรูปลักษณ์ ซึ่งแสดงถึงการเลียนแบบธรรมชาติที่เห็นเป็นภาวะแห่งความอ่อนไหวละมุนละไม ความงามของปราสาทหินเมืองต่ำนั้นสามารถรับรู้ได้จากความสัมพันธ์กันของรูปลักษณ์ อันเกิดจากความประสานสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดทางปรัชญาศาสนาและความสมบูรณ์ด้านฝีมือช่าง องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้เกิดการประสานกลมกลืนระหว่างแนวคิดปรัชญาศาสนาและแนวคิดด้านปรัชญาศิลปะอันเป็นหนึ่งเดียวกัน ก่อให้เกิดความงามที่มีคุณค่าอย่างสูงยิ่ง

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objective of this research is 1) to study the history of Prasart Mueangtam, 2) to study the aesthetics of Theravada Buddhist philosophy and 3) to study and analyze the aesthetics of Prasart Mueangtam according to Theravada Buddhist philosophy. Research method is to study the Tipitaka, Buddhist texts, academic documents and related researches. Data are analyzed by a descriptive method.

The research’s results found that;

Prasart Mueangtam belongs to Khmer ancient civilization, which is designed a beautiful castle. It is finely carved with traditional style according to such a period.  It is a special attention for construction with strictly well regulations. Various designs of castle are well decorated by royal sculptors. Pediments, lintels, pillars and doorframes are finely decorated with various meaning. For the pond surrounds the castle, it is covered inside sandstone, making staircases to below ground floor. All corner of pond are beautifully carved serpents, making them to edge of pond down to below. Besides, there are many stone staircases and beautiful decorated door-stones.

The beauty in Buddhist philosophy is the profound in our mind, which purifies without convention. It perhaps would be moral qualities or persuades  a sense of appreciation. Both Beauty is what we make and what nature makes. Such the beauty is inward and outward. Outward beauty means features which depends on social value, whether society estimates such beauty. Inward beauty or mind is the highest beauty and universal beauty, which not depends on the convention of one's society.

                 The beauty of Prasart Mueangtam according to Buddhist philosophy is the beauty of mind or the beauty of Idealism. This beauty depends on state of mind which is based on natural condition or feature. It is discernible from nature which experiences state of tenderness and softness. The beauty of Prasart Mueangtam could recognizes from the relations of feature which springs from combination between concepts of religious philosophy together with the perfection of a craftsman. Those combinations make compromise and absorb between concepts of religious philosophy together with concept of art philosophy. Those concepts create the highest valuable beauty.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 2.26 MiB 291 11 ก.ย. 2564 เวลา 06:14 น. ดาวน์โหลด