-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไป
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of People’ s Political Awareness in Democracy Regime Affecting to General Election
- ผู้วิจัยนางสาวสุมาลี บุญเรือง
- ที่ปรึกษา 1รศ. อนุภูมิ โซวเกษม
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- วันสำเร็จการศึกษา06/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2182
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 13
- จำนวนผู้เข้าชม 17
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรคการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไป 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไป และ 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไป โดยการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และสนทนากลุ่มเฉพาะ 12 รูปหรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรคการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไป มีดังนี้ 1) สถาบันการกล่อมเกลาทางการเมือง เช่น สถาบันการศึกษา จัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยให้กับนักศึกษา ปลูกฝังทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจและจัดกิจกรรมทางการเมือง กลุ่มเพื่อนเป็นกลุ่มกระตุ้นและชักชวนกันไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
2) คุณลักษณะของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งเข้าไม่ถึงประชาชน เข้าถึงเฉพาะบางกลุ่ม ผู้สมัครใหม่เป็นคนรุ่นใหม่ขาดประสบการณ์ทำงาน 3) การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง หาเสียงแบบใช้หัวคะแนน มีตัวแทนหรือหัวคะแนนเป็นผู้คอยช่วยหาเสียง การใช้รถโดยติดเครื่องขยายเสียงและสิ่งต่าง ๆ เช่น วิทยุ การติดป้ายตามสถานที่ต่าง ๆ 4) นโยบายของพรรคการเมือง การเสนอนโยบายของพรรคการเมืองเพื่อเป็นตัวกระตุ้นให้ประชาชนเกิดการตื่นตัวทางการเมืองซึ่งจะมีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 5) พรรคที่สังกัดของผู้สมัคร พรรคการเมืองในประเทศไทยพัฒนาคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง 6) อิทธิพลของสื่อ สื่อมวลชนเป็นหน่วยการเรียนรู้ที่มีบทบาทอย่างยิ่งต่อการรับข่าวสารทางการเมือง สื่อกระตุ้นทั้งคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ให้เกิดการตื่นตัวทางการเมือง ส่วนปัญหาการตื่นตัวทางการเมืองที่สำคัญคือ ขาดการจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน ขาดความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ปัญหาในการใช้ระบบอุปถัมภ์ใช้เครือญาติใช้พรรคพวกก่อให้เกิดกลุ่มอำนาจหรือกลุ่มผลประโยชน์ การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง มีการประชาสัมพันธ์ที่ยังไม่ครอบคลุมและทั่วถึง นโยบายของพรรคการเมืองไม่สามารถทำตามนโยบายที่ให้ไว้เน้นแค่หาเสียง ขาดผู้นำพรรคที่เข้มแข็ง กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประชาชน สื่อออนไลน์ประชาชนเข้าถึงได้ไม่ครอบคลุมและเนื้อหาของสื่อก่อให้เกิดความรุนแรงทางการเมือง
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย พบว่า ประชาชนมีระดับการตื่นตัวทางการเมืองที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไป โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x bar = 3.83, S.D. = 0.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สถาบันการกล่อมเกลาทางการเมือง (x bar = 3.58, S.D. = 0.66) คุณลักษณะของผู้สมัครรับเลือกตั้ง (
x bar= 3.54, S.D. =0.69) อิทธิพลของสื่อ (
x bar= 3.53, S.D. = 0.60) การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง (
x bar= 3.53, S.D. =0.67) พรรคที่สังกัดของผู้สมัคร (
x bar= 3.52, S.D. = 0.66) และนโยบายของพรรคการเมือง (
x bar= 3.49, S.D. = 0.73) ตามลำดับ ปัจจัยการตื่นตัวทางการเมืองส่งผลต่อการเลือกตั้งทั่วไป และหลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อการพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไป ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไป ที่มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง การมีทัศนคติที่ดีทางการเมืองและการมีพฤติกรรมทางการเมืองโดยการใช้หลักอิทธิบาท 4 มาบูรณาการในการส่งเสริมการพัฒนาการตื่นตัวทางการเมือง ทำให้เกิดมีความรักความชอบทางการเมือง มีความเพียรพยายามเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง มีจิตใจฝักใฝ่และมุ่งมั่นทางการเมือง และมีสติปัญญาควบคุมในการมีส่วนร่วมทางการเมืองอยู่เสมอ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1.To study general conditions, problems and obstacles of people’s political awareness in democracy regime affecting general election, 2.To study factors affecting the development of people’s political awareness in democracy regime that affected general election and 3. To propose Buddhadhamma integration for development of people’s political awareness in democracy regime that affected general election. Methodology was the mixed methods: The qualitative method, data were collected from 18 key informants by in-depth-interviewing and from 12 participants in focus group discussion and analyzed data by descriptive interpretation. The quantitative research, data were collected from 400 samples with Questionnaires and analyzed data with frequency, percentage, mean and standard deviation and Simple Linear Regression Analysis.
Findings were as follows:
1. General conditions, problems and obstacles of people’s political awareness in democracy regime affecting general election were found that: 1) political socialization institution, such as educational institution organized democratic promotion activities for students to cultivate good attitude, knowledge and understanding and political activities. Peer group was the group that encouraged and persuaded friends to go for election, 2) candidates; characteristics; candidates did not access to people in general, only some groups, new candidates lacked of experiences in working, 3) election campaign; campaign by using canvassers or representatives, mobile vans with public address system or other devices such radio and billboards display, 4) political party policy; party policy presentation encouraged people to be politically awareness and used their rights to vote, 5) political party that the candidates affiliated; political parties in Thailand should develop the candidates’ qualifications, 6) Media influence; mass media are good learning units that have important roles in political news and information dispatch. Mass media encourage both old and new generations to be politically awareness. As for important problems of political awareness were that: lack of people training for political knowledge and understanding. The problems of patronage system, kinship and relatives resulted pressure and interest groups. Election campaign still lacked full coverage public relations, parties policies cannot be implemented only for election campaign. Lack of strong party leaders who dare to make decision and unity with people, Online media cannot be accessed by all people and media contents indicted political violence.
2. Factors affecting development of people’s political awareness in democracy regime were found that people’s political awareness affecting general election, by overall, were at high level (x bar= 3.35, S.D.=0.56). Each aspect: political socialization institution were at (x bar= 3.58, S.D.=0.66), candidates characteristics were at (x bar= 3.54, S.D.=0.67,media influence was at (x bar= 3.53, S.D.=0.64), election campaign was at (x bar= 3.53, S.D.=0.67), political parties that candidates affiliated was at (x bar= 3.52, S.D.=0.66), Political party policies was at (x bar= 3.49, S.D.=0.73) accordingly. Factors affecting people’s political awareness affecting general election and Itthipadha4 affected the development of people’s political awareness affecting general election at statistically significant level at 0.01.
3. Buddhadhamma integration for development promotion of people’s political awareness in democracy regime affecting general election to create political knowledge and understanding, political good attitude and political behaviors by integrating Itthipadha 4 for political awareness resulting political love and like with effort to join political activities, political seeking and determining minds and mindfulness to always control political participation.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201104124 | 6201104124 | 5.13 MiB | 13 | 19 ก.ย. 2564 เวลา 07:42 น. | ดาวน์โหลด |