โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    กระบวนการเสริมสร้างจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อสังคม ของเยาวชนนานาชาติ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Process of Enhancing the Volunteering Spirit and Social Responsibility of the International Youths
  • ผู้วิจัยนางสาวอรศิริ ไม้ทอง
  • ที่ปรึกษา 1พระสุธีรัตนบัณฑิต,รศ.ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระเทพวัชราจารย์,รศ.ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา14/08/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2183
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 755
  • จำนวนผู้เข้าชม 562

บทคัดย่อภาษาไทย

               งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนนานาชาติ 2) เพื่อพัฒนาจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนนานาชาติ และ3) เพื่อนำเสนอกระบวนการเสริมสร้างจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนนานาชาติ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) ควบคู่กับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method) แบบคู่ขนาน (Convergent Parallel) ซึ่งการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีวิจัยแบบให้ความสำคัญแก่ปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นบนฐานคติของการตีความ (Interpretative) ภายใต้ระเบียบวิธีวิจัยภาคสนามแบบกรณีศึกษา (Case Studies) ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) ซึ่งไม่เน้นการมีกลุ่มควบคุมและไม่มีการสุ่ม (Non-Randomized) แต่มุ่งเน้นกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (Intervention Activities) ที่คาดว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนนานาชาติที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า (Inclusion Criteria) จำนวน 30 ราย จาก 6 ประเทศ คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน 4 ราย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2 ราย สาธารณรัฐแห่งสภาพเมียนมาร์ 2 ราย สหพันธรัฐไนจีเรีย 4 ราย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 3 ราย และไทย 15 ราย แนวคิด ทฤษฎี ที่ใช้ในการวิจัยมี 6 แนวคิด คือ แนวคิดจิตอาสา แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม แนวคิดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แนวคิดการเรียนรู้ (Ecosystem Learning, Experiential Learning, Service Learning) แนวคิดพลเมืองดี และแนวคิดการฝึกสติเพื่อพัฒนาจิตสำนึกและความรับผิดชอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) และการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ชุดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ The Hybrid Digital Module [HDM] และ แบบประเมินกระบวนการ

               ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนนานาชาติตั้งอยู่บนฐานคติเดียวกัน คือ ความรักและความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรม คือ บริบทประเทศ ครอบครัว เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา และความเชื่อ 2. การพัฒนาจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนนานาชาติมี 2 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการพัฒนาจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนนานาชาติด้วยชุดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ The Hybrid Digital Module [HDM] ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความท้าทายท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ที่สามารถดำเนินการได้จริงทั้งแบบออนไลน์ (Online) และแบบออนไซท์ (Onsite) ภายใต้โครงการค่ายอาสานานาชาติ (The International Volunteer Youths Camp) ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าเยาวชนนานาชาติมีระดับความคิดเห็นต่อกระบวนการอบรมด้านจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านจิตอาสามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (CC. = 0.544) ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (CC. = 0.494) ผลการวิเคราะห์นี้ยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ 2) รูปแบบการพัฒนาจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนนานาชาติด้วยการทำโครงการในพื้นที่พัฒนา และ3. กระบวนเสริมสร้างจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนนานาชาติเป็นกระบวนการที่สามารถดำเนินการได้ในรูปแบบของ LEIST Model คือ แบบจำลองของแนวคิดและกระบวนการที่เชื่อมโยงเข้าหากันด้วยการบูรณาการแบบองค์รวมจาก 4 ประเด็น คือ การเรียนรู้ (Learning = Ecosystem Learning, Experience Learning, Service Learning) แรงบันดาลใจ (Inspiration) เครือข่ายทางสังคม (Social Network) และการเปลี่ยนแปลง (Transformation)

          สรุปข้อค้นพบจากงานวิจัยครั้งนี้ คือ นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ชื่อว่า The Hybrid Digital Module [HDM] และ LEIST MODEL ซึ่งเป็นโมเดลเชิงกระบวนการเพื่อเสริมสร้างจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนนานาชาติ อันก่อให้เกิดผลกระทบของการวิจัย (Impact Research) 2 ด้าน คือ ด้านสังคม และ ด้านวัฒนธรรม  

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               This research aims to 1) examine volunteering spirit and social responsibility behaviors of the international youths, 2) develop volunteering spirit and social responsibility behaviors of the international youths, and 3) suggest the enhancing process to improve volunteering spirit and social responsibility behaviors of the international youths. Mixed-methods research methodology with convergent parallel design was implemented in the research. Qualitative research, specifically the Case Studies approach, was firstly applied to clarify a clear picture of social phenomenon based on interpretative approach. Quantitative research with Quasi Experimental Research Design was applied to create intervention activities for the international youths. The One Group Pretest-Posttest Design was used to test the international youths from 6 countries including 4 youths from People’s Republic of China, 2 youths from Lao People’s Democratic Republic, 2 youths from Republic of the Union of Myanmar, 4 youths from Federal Republic of Nigeria, and 3 youths from Socialist Republic of Vietnam, and 15 youths from Kingdom of Thailand. Six concepts and theories were implemented in research including volunteering spirit, social responsibility, learner developing activity, learning, citizenship, and mindfulness to improve individual’s consciousness and responsibility. Qualitative research tools consisted of semi-structured interview guideline and focus group discussion , while quantitative research tools consisted of The Hybrid Digital Module [HDM] and questionnaire.

               Research results found that 1. The Volunteering spirit behaviors and social responsibility behaviors among international youths are based on the same motto: love and compassion for human beings. The factors affecting behavior are country context, family, economy, society, culture, religion and belief. 2. The development of international youth’s volunteering spirit and social responsibility appeared in two forms: 1) training-based development model with The Hybrid Digital Module [HDM], which is used to train the international youths in the International Volunteer Youths Camp in both online and on-site platforms. HDM was an effective training tools for learner to achieve learning outcomes amid the COVID-19 pandemic. The results of the data analysis revealed that international youths had a high level of opinion on the training process in volunteerism and social responsibility. The statistical significance at the 0.01 level in which the volunteers had a moderate correlation coefficient (CC. = 0.544). The Social Responsibility had a moderate correlation coefficient (CC. = 0.494). This analysis accepts the research hypothesis 2) the area-based development projects which were implemented in each country to improve volunteering spirit and social responsibility behaviors among the international youths. The enhancing process to improve the volunteering spirit and social responsibility behaviors of the international youths which was a process that operated in form of the LEIST Model. The LEIST Model was a blended model with concepts and processes that are linked by holistic integration among 4 issues: 1) Learning = Ecosystem Learning, Experience Learning, Service Learning 2) Inspiration, 3) Social Network, and 4) Transformation.

               Summarizing the findings from this research is a creative innovation called HDM and LEIST MODEL, which are process models, which causes the impact of the research  in 2 aspects, namely, the social  and the cultural.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6201104161 6201104161 8.3 MiB 755 3 ก.ย. 2564 เวลา 02:33 น. ดาวน์โหลด