-
ชื่อเรื่องภาษาไทยปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบรรพชาสามเณรของเยาวชน ในเขตพื้นที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษFactors Affecting the Novice Ordination Ordinance of the Youth in Sampran District, Nakhon Pathom Province
- ผู้วิจัยนางอัญชนา สุทธานุกูล
- ที่ปรึกษา 1ดร.กฤติยา ถ้ำทอง
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.ธวัช หอมทวนลม
- วันสำเร็จการศึกษา11/07/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2194
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 10
- จำนวนผู้เข้าชม 14
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการบรรพชาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การบรรพชาของเยาวชนชายไทยลดลง และ3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจบรรพชาสามเณรของเยาวชนชายไทยในเขตพื้นที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา หนังสือ ผลงานวิจัยและเอกสารวิชาการเกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยพบว่า
การบวชในพระพุทธศาสนาสมัยพุทธกาลนั้น มีผู้สนใจและขอบวชเป็นจำนวนมาก เพราะผู้ที่เข้ามาบวชเป็นนักบวชอยู่แล้ว และมีจุดประสงค์คือการหาทางพ้นทุกข์ ส่วนมากมีอายุในช่วงชั้นสันยาสี คือ ช่วงปลายของชีวิต ตามคติความเชื่อของพราหมณ์ โดยพุทธานุญาติการบวชไว้ 3 แบบคือ คือ 1) เอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นการบวชเฉพาะของพระพุทธองค์ 2) ติสรณคมนูปสัมปทา เป็นการบวชแบบรับตรัยสรณะ และ3) ญัตติจตุตถกัมมวาจา เป็นการบวชแบบสวดสี่ครั้งเพื่อให้สงฆ์ยอมรับ เป็นการบวชที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน การบวชในสังคมไทยนิยมบวชเป็นสามเณรกับบวชเป็นพระภิกษุ และนิยมกันบวชมากในสมัยก่อน ๆ เพราะการบวชทำให้ได้รับการศึกษา ทั้งยังปลอดภัยจากราชภัยด้วย
ปัจจุบันการบรรพชาอุปสมบทส่วนมากเหลือเพียงแค่การบวชตามประเพณีเท่านั้น ทำให้ศาสนาทายาทลดลงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นใหม่ ไม่อยากบรรพชาเป็นสามเณรหรือเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา จากการศึกษาพอสรุปปัญหาและอุปสรรคในการบรรพชาสามเณรได้ดังนี้ 1) นโยบายการศึกษาของภาครัฐ เปิดโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชนมากขึ้น ให้ทุนสนับสนุน มีกองทุนกู้ยืม 2) สถานบันทางการศึกษามีมากขึ้น เป็นทางเลือกให้เยาวชนมีทางเลือกในการศึกษา 3) ค่านิยมในการบรรพชาสามเณรเพื่อศึกษาเล่าเรียนเปลี่ยนไป ด้วยปัจจัยทั้ง 2 ข้อดังกล่าว และการเปลี่ยนแปลงของโลก 4) ระบบการศึกษาโรงเรียนปริยัติไม่ทันสมัย เกิดการเปรียบเทียบเรื่องคุณภาพกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และ 5) ปัญหาและอุปสรรคระหว่างบวช เช่น พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ไม่ดูแลเอาใจใส่ สอนธรรมวินัยไม่ค่อยเป็น ภารกิจเยอะเกินไป ตลอดจนถึงความประพฤติที่ทำให้เกิดความไม่น่าเลื่อมใส เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้เป็นปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การบรรพชาสามเณรลดลงอย่างเห็นได้ชัด
จากปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การบรรพชาสามเณรลดลง จึงพอวิเคราะห์สิ่งที่จะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้การบรรพชาสามเณรเพิ่มขึ้น ซึ่งมีปัจจัยดังต่อไปนี้ 1) การส่งเสริมนโยบายการศึกษาจากภาครัฐ ให้การสนับสนุนส่งเสริมให้ความสำคัญการศึกษาหลักธรรมคำสอน ซึ่งจะทำให้ความเป็นอยู่ในสังคมดีขึ้น 2) สถาบันการศึกษาต่าง ๆ เปิดโอกาสให้สามเณรได้ศึกษาร่วมกับเยาวชนทั่วไป 3) จัดระบบการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมให้ได้มาตรฐาน เพื่อผลิตสามเณรให้มีคุณภาพ 4) รณรงค์ปลูกฝังค่านิยมและความสำคัญของการบรรพชา เพื่อธำรงค์ไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา และ 5) เมื่อเข้ามาบรรพชาสามเณรแล้ว พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ต้องคอยดูแลอบรม เอาใจใส่ให้การสนับสนุนเต็มที่ไม่ปล่อยประละเลย และประพฤติให้เห็นเป็นแบบอย่าง เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “The Factors Affecting the Decision to Become a Novice of Youth in Sam Phran District, Nakhon Pathom Province” consisted of 3 objectives: 1) to study the ordination in Buddhist scriptures; 2) to study the problems and obstacles causing the reduced number of becoming a novice among Thai youth; and ๓) to analyze the factors affecting the decision to become a novice of Thai youth in Sam Phran district, Nakhon Pathom province. The study was a documentary research by studying data from Tipiṭaka, commentaries, sub-commentaries, books research works and related academic documents.
From the research, the results are found as follows:
Back in the Buddha’s lifetime, there were many people who were interested in being ordained in Buddhism. Many of those who received ordination in Buddhism were already a priest and their goal were to find the path leading to the cessation of dukkha (suffering). Most of them were already late in life or at the stage of renounced life (sannyasa). According to the Brahmin belief, there are 3 kinds of ordination approved by the Buddha: 1) Ehi Bhikkhu Upasampada, an ordination given directly by the Buddha himself; 2) Tisaranagamana Upasampada, an ordination by taking refuge in the Buddha, Dhamma and Sangha; and 3) Natticatutthakamma Upasampada, an ordination whereby the Sangha gathers to hear the motion that requests acceptance into the Sangha, and then listens in silence to three announcements, which is the customary method used at the present time. The ordination in Thai society can be divided into two: to be ordained as a novice (samanera) or a monk (bhikkhu). In the past, ordination was very popular because it was a way to get an education and helped to keep one safe from danger as well.
At the present, youth become a novice only to follow the tradition, therefore, there have been a reduced number of novices and monks, especially among the new generation, to inherit the religion. From the study, the problems and obstacles can be concluded as follows 1) Education policies from the government by providing more educational opportunities for youth including support fund and loan fund; 2) There are more educational institutions as an alternative for youth to study; 3) The values of becoming a novice for the sake of education have been changed due to the first two factors as well as the changing of the world; 4) The educational system of Pariyatti schools is not up to date which causes comparison of quality with other educational institutions; 5) Problems and obstacles during the time of being a novice such as the preceptors do not pay enough attention and are not able to teach the Dhamma and Vinaya, or they have too much work to do, as well as their own inappropriate behavior that makes the people suspicious; 6) The process for screening those who would like to become ordained by background checks which can take up to 25 days, such process has affected the decision to become a novice. All of these problems have reduced the number of youth becoming a novice. From the study, the factors that encourage the decision to become a novice are found as follows: 1) The government to regulate the education policies by emphasizing the importance of studying the Buddha’s teachings, which will help to improve the well-being of the society; 2) Educational institutions to provide more opportunities for the novices to study together with other youth in general; 3) The Pariyatti schools to arrange an educational system that meets the standard in order to produce novices with more quality; 4) The campaign to cultivate the values and importance of becoming a novice in order to preserve Buddhism; and 5) After becoming a novice, the preceptors should spend time to teach, pay attention, and provide full support to a novice, and behaving as a role model in order to earn faith.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6250205018 | 6250205018 | 5.9 MiB | 10 | 17 ก.ย. 2564 เวลา 07:12 น. | ดาวน์โหลด |