โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    กลไกการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษMechanisms for Conflict Management of Bangsai District Sangha Council, Phranakhon Si Ayutthaya Province
  • ผู้วิจัยพระครูประทีปวัชราภรณ์ (วิเชียร ปญฺญาทีโป)
  • ที่ปรึกษา 1พระสุธีวีรบัณฑิต, รศ.ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.ประเสริฐ ธิลาว
  • วันสำเร็จการศึกษา31/07/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2198
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 270
  • จำนวนผู้เข้าชม 282

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยเรื่องนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระภิกษุสงฆ์ที่มีต่อการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนากลไกการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยใช้ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระภิกษุสงฆ์ในอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 151 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามและความคิดเห็นของพระภิกษุสงฆ์ที่มีต่อการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกลไกการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธีหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 

ผลการวิจัยพบว่า

1.ความคิดเห็นของพระภิกษุสงฆ์เกี่ยวกับหลักการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด พบว่า ด้านแยกประเภทปัญหา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60   ด้านแยกคนออกจากปัญหา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ด้านความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 ด้านการบังคับลงโทษ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 และด้านแยกเครื่องมือออกจากปัญหา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 ตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระภิกษุสงฆ์ที่ต่อหลักการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พระภิกษุสงฆ์ที่มีอายุ พรรษา และตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อหลักการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนพระภิกษุสงฆ์ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อหลักการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

3. แนวทางการพัฒนากลไกการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ จัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือทางคณะสงฆ์เป็นประจำทุกเดือน โดยกำหนดให้พระภิกษุสงฆ์ปฏิบัติตามหน้าที่ตามวินัยและกฎหมาย และที่ผ่านมาคณะสงฆ์ได้ดำเนินการกับพระภิกษุสงฆ์ที่ปฏิบัติผิดพระธรรมวินัย ตามความเหมาะสมของแต่ละรูปพระสังฆาธิการในอำเภอบางไทรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำหน้าที่เป็นไปตามลำดับชั้น คือเจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ จนถึงเจ้าคณะจังหวัด เรียกประชุมทั้งสองฝ่ายเพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งผู้ถูกกล่าวหา และผู้กล่าวหา เพื่อสรุปข้อมูลทั้งสองฝ่าย และตัดสินอธิกรณ์ ถ้าผู้ถูกกล่าวหาผิดอาบัติขั้นร้ายแรง คณะสงฆ์ก็ลงมติให้ลาสิกขาบท ถ้าไม่ถึงขั้นร้ายแรง ก็ลงโทษไปตามขั้นตอนหนัก-เบา และต้องปฏิบัติตามหรือยึดหลักของกฎมหาเถรสมาคม รวมถึงพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ เป็นเครื่องมือในการระงับอธิกรณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were 1. To study the mechanisms for conflict management of Bangsai District Sangha Council, Phranakhon Si Ayutthaya Province, 2. To compare the monks’ opinions on the principle of conflict management of Bangsai District Sangha Council, Phranakhon Si Ayutthaya Province classified by personal factors and 3. To study the problem, obstacles and suggestions for the conflict management mechanisms of Bangsai District Sangha Council, Phranakhon Si Ayutthaya Province.

Methodology was the mixed Research Methods. The quantitative research by survey method collected data with questionnaires from the populations of 151 monks who lived at Bangsai District, Phranakhon Si Ayutthaya Province and data were analyzed with frequency, percentage, mean and standard deviation and One-way Analysis of Variance to find out the result of F-test and analyzed the paired variables differences with Least Significant Differences, LSD.with the set statistically significant value at 0.05. 

Findings were as follows:

1. The monks’ Opinions on the conflict management principle of BangSai District Sangha in Phranakhon Si Ayutthaya Province, by overall, were at the highest level with the mean value at 4.50.Each aspect, from high to low levels was that the case separation was at highest level with the mean value at 4.60, separation man from the problems was at high level with the mean value at 4.51, the proble solving expediting was at 4.45, the punishment enforcement was at 4.44 and the separation of instrument from the problems was at 4.39 respectively. 

2. The results of the monks’ opinions comparison on the conflict management principle of Bangsai District Sangha in Phranakhon Si Ayutthaya Province classified by personal factors were found that the monks with different ages, Lent and positions, did not have different opinions on the conflict management principle of Bangsai District Sangha in Phranakhon Si Ayutthaya Province, rejected the set hypothesis. The monks with different educational levels had different opinions on the conflict management principle of Bangsai District Sangha in Phranakhon Si Ayutthaya Province at the statistically significant level at 0.05, accepted the set hypothesis

. 3. Mechanism of conflict management of Bangsai District Sangha in Phranakhon Si Ayutthaya Province were as follows: there was regular monthly meeting to inforce the monks to abide by duties, Dhamma-Vinaya and laws. In the past, the Sangha Order punished monks who were not adhering to the rules and regulations appropriately and individually. Bangsai District Administrative monks enforced the laws and rules according to hierarchy from abbots, Sub-District, District Administrative monks to the Provincial Administrative monks, organized meetings with two parties, accuser and the accused to conclude and judge the conflict. If the accused violated the acute rules, he would be ordered to disrobe. If not, he would be punished according to the degree of mistakes. He must abide by the rules and regulations of Supreme Sangha Council as well as the Sangha Order Council Act. That were used as guideline for conflict resolution.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6301204202 6301204202 9.66 MiB 270 25 ก.ย. 2564 เวลา 06:09 น. ดาวน์โหลด