-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ของคณะรัฐมนตรีตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษOath of Office to the King by Cabinet Under the Constitution
- ผู้วิจัยนายเฉลิมชัย ก๊กเกียรติกุล
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ยุทธนา ปราณีต
- วันสำเร็จการศึกษา31/05/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2203
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 9
- จำนวนผู้เข้าชม 14
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาที่มาและพัฒนาการของแนวคิด หลักการ หรือทฤษฎีทางรัฐศาสตร์และกฎหมายเกี่ยวกับการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ของคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2) เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ของคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไม่ครบถ้วน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการในกรณีเกิดปัญหามีการปฏิบัติตามเงื่อนไขการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ของคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไม่ครบถ้วน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 17 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ที่มาและพัฒนาการของแนวคิด หลักการ หรือทฤษฎีทางรัฐศาสตร์และกฎหมายเกี่ยวกับการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ของคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้แก่ การถวายสัตย์ปฏิญาณของคณะรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์ถือเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนการเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี หากนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรียังไม่ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณ การเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีนั้นยังไม่สมบูรณ์ แม้จะมีการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้งคณะครบแล้ว หลักการการถวายสัตย์ปฏิญาณของคณะรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์สะท้อนแนวคิดและหลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย รัฐธรรมนูญนิยม การประกันความมั่นคงของรัฐธรรมนูญ และจารีตประเพณีความเชื่อสืบทอดที่ยึดถือพิธีการที่แสดงถึงการให้คำมั่นสัญญาของผู้นำประเทศที่จะเข้าบริหารประเทศต่อพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐและตัวแทนของประชาชนผู้มอบอำนาจอธิปไตย และถ้อยคำของการถวายสัตย์ของคณะรัฐมนตรีมุ่งเน้นสามหลักการคือ 1) จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ 2) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน และ 3) รักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ของคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้แก่ 1) ปัญหาจุดเปลี่ยนผ่านการส่งมอบอำนาจของรัฐบาล 2) ปัญหาการถวายสัตย์ต่อหน้าองค์พระมหากษัตริย์ 3) ปัญหาการแสดงถ้อยคำถวายสัตย์ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ และ 4) ปัญหาการบังคับให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
3. แนวทางการดำเนินการในกรณีเกิดปัญหาเกี่ยวกับการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ของคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไม่ครบถ้วน สามารถแบ่งได้เป็น 5 แนวทาง ได้แก่ 1) การดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องโดยคณะรัฐมนตรี 2) กลไกการตรวจสอบโดยรัฐสภาและทางการเมือง 3) กลไกการตรวจสอบโดยศาลรัฐธรรมนูญ 4) กลไกการตรวจสอบโดยประชาชน และ5) หลักพุทธธรรมโดยเฉพาะหลักอาชชวะ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1) To study origins and development of concepts, principles and theories in political science and law in regard to Oath of Office to the King by Cabinet Under Thai Constitution; 2) To study the problem of the compliance with the conditions of Cabinet’s Oath of Office; and 3) To study solutions to mishap of Cabinet’s Oath of Office. The research methodology was the qualitative research, collected data from relevant document and 17 key informants by in-depth-interviewing, and then the data was analyzed using descriptive content analysis technique.
Findings of the research were as follows:
1. The Cabinet's oath to the King is regarded as the pre-requirement for official inauguration. If the Prime Minister or Minister has not taken oath of office, the status of prime minister or minister is not complete and cannot run the country. The Cabinet's oath of office to the King reflects the concepts and principles of sovereignty of people, the constitutionalism, the protection of the constitution, and the pledge of the leaders. In addition, there are three key principles on the words of the cabinet's allegiance according to the Constitution: 1) loyalty to the King, 2) honestly perform duties for interests of the nation and people, and 3) protection and comply with the Constitution.
2. The problems of mishap of Cabinet’s Oath of Office were as follows: 1) the transfer of government power, 2) the taking oath of office in front of the King, 3) the addressing incomplete words and 4) the complying with the constitution.
3. The solutions to mishap of Cabinet’s Oath of Office were as follows: 1) Corrective action by the Cabinet; 2) check and balance mechanism by the Parliament and politics; 3) review by the Constitutional Court; 4) active political participation of citizen; and 5) the Buddhist principles, in particular the Integrity (Ashwa).
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201204021 | 6201204021 | 9.72 MiB | 9 | 4 ก.ย. 2564 เวลา 04:48 น. | ดาวน์โหลด |