-
ชื่อเรื่องภาษาไทยคติความเชื่อในการปิดทองพระพุทธรูปของประชาชนในตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Beliefs in the Gilding of Buddha Statues of People in Pa Maet Sub-district, Mueang Phrae District, Phrae Province
- ผู้วิจัยพระนิเทศก์ โรจนญาโณ (คำมูล)
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.รวีโรจน์ ศรีคำภา
- ที่ปรึกษา 2พระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา26/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2204
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 24
- จำนวนผู้เข้าชม 77
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการปิดทองพระพุทธรูปในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาคติความเชื่อในการการปิดทองพระพุทธรูปในพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อวิเคราะห์คติความเชื่อในการปิดทองพระพุทธรูปของประชาชนในตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ ตำรา บทความวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ประชาชนในตำบลป่าแมต จำนวน 20 คน สรุปผลการศึกษาวิจัยว่า
1. การปิดทองพระพุทธรูปในพระพุทธศาสนา ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าเริ่มมีการปิดทองพระพุทธรูปตั้งแต่ปีไหน แต่มีการกล่าวถึงอานิสงส์ของการทำบุญด้วยทองที่ปรากฏในประวัติของพระมหากัจจายนะว่า ท่านมีผิวพรรณสดใสดุจทองคำ เนื่องจากในอดีตชาติได้ทำบุญด้วยการถวายแผ่นอิฐทองคำสร้างเจดีย์ ในประเทศไทยมีการค้นพบพระพุทธรูปที่มีการปิดด้วยทองคำในสมัยทวารวดี มีการค้นพบพระพุทธรูปที่ถ้ำเขางู จังหวัดราชบุรี ในสมัยสุโขทัยมีการค้นพบพระพุทธรูปที่ปิดทอง โดยมีปรากฏในหลักฐานเป็นพระพุทธรูปที่วัดศรีชุม รวมถึงหลักฐานที่จารึกไว้ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า มีพระอัฏฐารศที่ปิดด้วยทองคำ ในสมัยอยุธยารัชสมัยของพระเอกาทศรถก็ได้มีการจารึกว่ามีการนำเอาแผ่นทองเปลวอย่างหนาไปปิดพระพุทธชินราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็เช่นกัน มีการนำเอาทองคำไปปิดพระพุทธรูปและเจดีย์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และในปัจจุบันก็นิยมนำเอาแผ่นทองคำเปลวไปปิดพระพุทธรูปประจำวัน รวมถึงรูปหล่อพระเกจิต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมนั้นใช้แผ่นทองคำเปลวบริสุทธิ์ในการปิด เพื่อให้เกิดความสวยงามและมีคุณค่า ปัจจุบันได้มีการพัฒนานำเอาแผ่นทองคำทางวิทยาศาสตร์ประประยุกต์ใช้แทนแผ่นทองคำเปลว เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่า
2. คติความเชื่อในการปิดทองพระพุทธรูปในพระพุทธศาสนามี 3 คติที่สำคัญ คือ 1) คติความเชื่อเรื่องการบูชา คือ การปิดทองพระพุทธรูปถือเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าโดยตรง ความเชื่อเรื่องการปิดทองพระพุทธรูปจึงมาพร้อม ๆ กับแนวคิดเรื่องการบูชาสิ่งที่ควรบูชาในพระพุทธศาสนา มีการนำเอาสิ่งของที่มีค่า เช่น เงิน ทอง มาเป็นส่วนหนึ่งของการบูชา 2) คติความเชื่อเรื่องโลกนี้และโลกหน้า ถือเป็นคติความเชื่อที่พุทธศาสนิกชนไทยได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการทำบุญ ด้วยความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ทำให้เกิดการกระทำที่เรียกว่ากุศลหรือการทำบุญขึ้น เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจว่า หากได้สร้างกุศลหรือการทำบุญไว้ในปัจจุบันชาติก็จะส่งผลให้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีในโลกหน้า และ 3) คติความเชื่อเรื่องการมีส่วนร่วม คือ คติความเชื่อที่จะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนจากหลายภาคส่วน ในการสร้างพระพุทธรูปและการร่วมปิดทอง เนื่องจากการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาหนึ่งองค์นั้นจะต้องอาศัยกำลังทรัพย์ และกำลังฝีมือของช่างเป็นสำคัญ บางคนไม่สามารถที่จะสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาเพียงลำพังได้ จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการสร้างโดยการปิดทองพระพุทธรูป
3. คติความเชื่อในการปิดทองพระพุทธรูปของประชาชนในตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พบว่ามี 4 ด้าน คือ 1) คติความเชื่อด้านเป้าหมายของการปิดทองพระพุทธรูป ประชาชนในตำบลป่าแมตมีความเชื่อเรื่องเป้าหมายของการปิดทองพระพุทธว่าการปิดทองพระพุทธรูปทำให้พระพุทธรูปมีความสวยงามและมีคุณค่า เป็นการทำบุญทางพระพุทธศาสนา ผลที่เกิดขึ้นจากการปิดทองพระพุทธรูปสามารถช่วยให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ มีโชคลาภ และทำให้เกิดความสบายใจต่อผู้ปฏิบัติ 2) คติความเชื่อด้านตำแหน่งของการปิดทองพระพุทธรูป พบว่า ประชาชนมีความเชื่อที่แตกต่างกัน 4 ลักษณะ คือ (1) กลุ่มที่เชื่อการปิดทองพระพุทธรูปตำแหน่งต่าง ๆ มีอานิสงส์ส่งผลทำให้สิ่งที่ปรารถนาสำเร็จทั้งในโลกนี้และโลกหน้า (2) กลุ่มที่เชื่อว่าการปิดทองไม่จำเป็นต้องระบุตำแหน่งเพราะถือเป็นการทำบุญที่จะก่อให้เกิดความสบายใจ (3) กลุ่มที่เชื่อว่าการปิดทองเป็นเพียงตกแต่งพระพุทธรูปเพื่อให้เกิดความสวยงามและเกิดคุณค่าทางด้านพุทธศิลป์ และ (4) กลุ่มที่เชื่อว่าการปิดทองตำแหน่งต่าง ๆ เป็นเพียงกุศโลบายในการสร้างความสบายใจแก่ผู้ปฏิบัติและเป็นกุศโลบายในการเชิญชวนคนเข้าวัดทางพระพุทธศาสนา 3) คติความเชื่อด้านกระบวนการขั้นตอนการปิดทองพระพุทธรูป พบว่า กระบวนการขั้นตอนในการปิดทองพระพุทธรูปนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความมั่นใจในการปิดทองพระพุทธรูป และ 4) คติความเชื่อเรื่องอานิสงส์ของการปิดทองพระพุทธรูป พบว่า ประชาชนมีความเชื่อเรื่องอานิสงส์ของการปิดทองพระพุทธรูปในแต่ละตำแหน่งว่าจะสามารถช่วยให้ชีวิตประสบแต่ความสุขความเจริญ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ มีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์ และส่งผลให้ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีในโลกหน้า
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study consisted of the following objectives: 1) to study the background of the gilding of Buddha statues in Buddhism; 2) to study the beliefs in the gilding of Buddha statues in Buddhism; and 3) to analyze the beliefs in the gilding of Buddha statues of people in Pa Maet sub-district, Mueang Phrae district, Phrae Province. The study applied a qualitative research method by collecting data from documents, books, academic articles, related researches, and in-depth interviews with a population in Pa Maet subdistrict in a total of 20 persons. From the study, it was found as follows:
1) There is no clear evidence when was the start of the gilding of Buddha statues in Buddhism but there is a reference of the benefits from making merit with gold that appears in the story of Mahākaccāyana that he had a bright complexion like gold because in the past life, he made merit by offering gold bricks to build a pagoda. In Thailand, the gilded Buddha statues were discovered during the Dvaravati Kingdom. In the Sukhothai period, the gilded Buddha statues were also discovered at Wat Srichum, including the evidence in King Ramkhamhaeng’s stone inscription that there was the glided Phra Attharassa (a large standing Buddha statue). In the Ayutthaya period during the reign of Phra Aeka Tosarot, there was an inscription that a thick gold leaf was gilded on the Buddha Jinnaraja statue. In the Rattanakosin period, the Buddha statues and Chedi were also gilded at Wat Phra Si Rattana Satsadaram. At present, people like to gild the 7 Buddha postures, including the casting of Buddha statues and various instructor statues. Originally, the pure gold leaf was used for the gilding to make the Buddha statues beautiful and valuable, however, nowadays the scientific gold leaf is used instead as it has a cheaper price.
2) There are 3 beliefs in the gilding of Buddha statues in Buddhism as follows: 1) The belief in worship by which the gilding of Buddha statues is direct worship to the Buddha. Therefore, the belief in the gilding of Buddha statues occurred simultaneously with the idea of worshiping the things that should be worshiped in Buddhism. Some valuable things are taken for worship such as money, gold, etc.; 2) The belief in this world and the next by which Thai Buddhists give a lot of importance to merit-making as they believe in the decease and rebirth of beings. Therefore, merit-making or wholesome actions are performed as the refuge for the mind with the belief that the merits in this life will result in the next life; and 3) The belief in participation which relies on the participation of people from various sectors in building and gilding the Buddha statues as to build one Buddha statue, it requires a lot of money and skill of the craftsmen. The building and gilding of Buddha statue cannot be built alone, it must rely the participation of various people.
3) There are 4 aspects to the beliefs in the gilding of Buddha statues of people in Pa Maet sub-district, Mueang Phrae district, Phrae province: 1) The belief in the goal of gilding the Buddha statues as the people believe that after the gilding, the Buddha statues will become more beautiful and valuable. It is merit-making in Buddhism and will result in having a fortune, strong health without disease or illness as well as bringing peace upon the doers; 2) The belief in the position of gilding the Buddha statues, it is found that people have 4 different kinds of belief which are (1) those who believe that the gilding of Buddha statues in different positions will benefit in having wishes come true both in this and next life, (2) those who believe that the position for gilding does not need to be identified as it is a merit-making that will bring peace upon the doers, (3) those who believe that the gilding is merely the decoration of the Buddha statues for beauty and values in Buddhist arts, and (4) those who believes that the gilding position is merely the strategy to bring about peace upon the doers and invite people to visit temples more often; 3) The belief in the process and procedures of gilding the Buddha statues, it is found to be a part of building confidence in the gilding of the Buddha statues; and 4) The belief in the benefits of gilding the Buddha statues, it is found that people believe that to gild the Buddha statues in different positions will result in a life that is happy, prosperous, healthy and without any disease or illness, including to be born in a good realm in the next life.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6208205003 | 6208205003 | 5.66 MiB | 24 | 17 ก.ย. 2564 เวลา 12:18 น. | ดาวน์โหลด |