โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การอนุรักษ์พันธุ์พืชเพื่อความมั่นคงทางอาหารของชุมชนกะเหรี่ยงโปว์ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPlant Conservation for Food Security of the Pwo Karen Community in the Area of Western Thung Yai Naresuan Wildlife Sanctuary of Kanchanaburi Province
  • ผู้วิจัยพระซาแหม่ ชยเมธี (ชยเมธาวงศ์)
  • ที่ปรึกษา 1ดร.วสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล
  • ที่ปรึกษา 2พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา03/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2205
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 44
  • จำนวนผู้เข้าชม 31

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ 2 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของชาวกะเหรี่ยงโปว์ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี  2) เพื่อศึกษากระบวนการอนุรักษ์พันธุ์พืช สภาพปัญหาอุปสรรคในการอนุรักษ์พันธุ์พืช โดยการใช้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนกะเหรี่ยงโปว์ ในพื้นที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี  วิทยานิพนธ์นี้ เป็นงานวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบลงภาคสนามโดยการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์      เชิงลึก (In-depth interview) และการทำกลุ่มสนทนา (Focus Group Discussions) จากกลุ่ม  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants)แบ่งเป็น 4 กลุ่ม จำนวน 27 ท่าน

ผลการศึกษาพบว่า                       

             1)  ชาวกะเหรี่ยงโปว์ในตำบลไล่โว่ หรือที่เรียกตัวเองว่า “โผล่ว” ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ราว 300-400 ปีมาแล้ว โดยมีหลักฐานสำคัญที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน คือพระพุทธรัตนสังขละบุรีศรีสุวรรณ หรือพระแก้วขาว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้พระราชทานไว้ให้กับเจ้าเมืองสังขละบุรีในสมัยนั้น ชาวบ้านมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตัวเอง โดยใช้ตัวอักษรโผล่วยุว์เป็นภาษาเขียน มีประเพณีและวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง ประเพณีและวัฒนธรรมส่วนใหญ่แล้วเกี่ยวข้องกับความเชื่อ ชีวิตความเป็นอยู่ ป่าไม้ และธรรมชาติทั้งสิ้น ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต คือไร่หมุนเวียน  มีการนับถือพุทธศาสนาเป็นหลัก มีเพียงบางกลุ่มเล็กน้อยที่นับถือศาสนาคริสต์ ชาวบ้านมีความเชื่อดั้งเดิมที่ยังแน่นแฟ้น คือนับถือฤาษี และไหว้บรรพบุรุษ มีการสืบทอดและปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย พึ่งพาอาศัยป่าและธรรมชาติ รักสันโดษ ไม่ชอบความวุ่นวาย รักสงบและสันติ

       2) การอนุรักษ์พันธุ์พืชของชาวกะเหรี่ยงโปว์ในตำบลไล่โว่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์พืช วิธีการสำคัญสิ่งหนึ่งที่อยู่ในกระบวนของการอนุรักษ์พันธุ์พืชของชาวกะเหรี่ยงโปว์ คือไร่หมุนเวียน  การทำไร่หมุนเวียนจึงเป็นตัวสำคัญที่ก่อให้เกิดความยังคงอยู่ของเมล็ดพันธุ์พืช ทุกกระบวนการเพาะปลูกล้วนแล้วแต่ใช้วิธีธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ในการเพาะปลูก รวมถึงเมล็ดพันธุ์ที่นำมาเพาะปลูก  ก็ล้วนแล้วแต่เป็นเมล็ดที่เก็บรักษาเอง ไม่ได้ซื้อขายจากภายนอกแต่อย่างใด  ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นหลัก เมื่อเก็บเมล็ดพันธุ์พืชมาแล้วก็นำมาห่อไว้ในเศษผ้าบ้าง ใส่ไว้ในลูกน้ำเต้าแห้งบ้าง รวมถึง ใส่ไว้ในกระบอกไม้ไผ่ แล้วนำไปไว้บนหิ้งไฟ ซึ่งในทุกบ้านจะมีหิ้งไว้ในห้องครัว ความร้อนจากไฟ  ช่วยรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้อย่างดี เพราะปราศจากมอดและแมลงที่จะมารบกวนเมล็ดพันธุ์พืช

             สาเหตุที่ชุมชนชาวกะเหรี่ยงโปว์ต้องอนุรักษ์พันธุ์พืช เพราะพื้นที่อยู่ห่างไกลความเจริญ รวมถึงการใช้เงินในการซื้อเมล็ดพันธุ์พืชมีข้อจำกัด ทำให้เกิดกระบวนการอนุรักษ์พันธุ์พืชเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารในการดำรงชีวิต โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นตัวเชื่อมในการอยู่ร่วมกัน มีหลักธรรมที่นำมาใช้คือศีล 5 และสาราณียธรรม ทำให้ชุมชนเกิดความมั่นคงทางอาหาร และเกิดการอนุรักษ์พันธุ์พืชอย่างยั่งยืน 

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

            The thesis entitled “Plant Conservation for Food Security of Pwo Karen Community in the Area of Western Thung Yai Naresuan Wildlife Sanctuary of Kanchanaburi Province” consisted of the following objectives: 1) to study the background of Pwo Karen people in the  area of Western Thung Yai Naresuan Wildlife Sanctuary of Kanchanaburi Province; and 2) to study the plant conservation process as well as problems and obstacles in plant conservation by using the local wisdom and local culture of Pwo Karen people in the area of Western Thung Yai Naresuan Wildlife Sanctuary of Kanchanaburi Province. The study applied a qualitative research method by way of field study. The data were collected from studying documents, in-depth interview, and focus group discussion with key informants that were divided into 4 groups, in a total of 27 persons.

 

                 From the study, the following results are found:

          1) The Pwo Karen people in Liwo Subdistrict have resided in the area of Western Thung Yai Naresuan Wildlife Sanctuary of Kanchanaburi Province for more than 300 – 400 years based on the existing important evidence, that is, Phra Buddharattana Sangkhlaburi Srisuwan or Phra Kaew Khao which is the Buddha statue that was given to the ruler of Sangkhla Buri at that time by King Phra Nangklao Chaoyuhua, or King Rama III. The people have their own spoken and written language. Most of their tradition and culture are related to their beliefs, lives, living, forest, and nature while crop rotation is most related to their livelihood. Most people believe in Buddhism, only some groups follow Christianity. Apart from this, the faith in Ruesi or Rishi and ancestor worship are what have been passed down and practiced strictly from the past until the present day. The people have a simple and modest life where they depend on forest and nature. They also love being solitude and peaceful.

 

                 2) The plant conservation of Pwo Karen people in Liwo Subdistrict in the area of Western Thung Yai Naresuan Wildlife Sanctuary of Kanchanaburi Province have applied local wisdom to conserve seeds. One important method in the plant conservation process of the Pwo Karen people is crop rotation. Therefore, crop rotation is an important factor contributing to the persistence of seed. All processes of the cultivation use natural methods without using any chemical substance, including the seeds used for cultivation are all self-preserved seeds rather than purchased seeds, which shows the use of local wisdom. Once the seeds are collected, they are wrapped in the rags, put in the dried bottle gourd or bamboo tube, placed on the fire shelf which exists in the kitchen of every house where the heat from the fire helps to preserve the seed well as there are no moths or insects to disturb the seeds.

            The reasons why the Pwo Karen community have to conserve plant because their area is far away from progress and prosperity, including the use of money to purchase seeds is limited. This leads to the plant conservation process for food security by applying the Buddhist teachings as a link for coexisting which are Sīla (5 precepts) and Sāraṇīyadhamma (states of conciliation), resulting in the community with food security and sustainable plant conservation.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6101204035 6101204035 13.49 MiB 44 5 ก.ย. 2564 เวลา 06:00 น. ดาวน์โหลด