โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การสร้างศักยภาพเกษตรกรยุคใหม่ด้วยเกษตรแบบผสมผสาน : กรณีศึกษา บ้านลำแดง ตำบลหันตะเภา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Potential Building of Farmers in the New Era with Integrated Farming in BanLamdaeng, Hantapao Subdistrict, Wongnoi District, Phranakhonsiayuttha Province
  • ผู้วิจัยสิบตรี นิมิตร จันทร์คุ้ม
  • ที่ปรึกษา 1พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.วสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล
  • วันสำเร็จการศึกษา03/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2206
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 18
  • จำนวนผู้เข้าชม 72

บทคัดย่อภาษาไทย

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการสร้างศักยภาพเกษตรกรยุคใหม่ด้วยเกษตรแบบผสมผสาน ในบ้านลำแดง ตำบลหันตะเภา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการสร้างศักยภาพเกษตรกรยุคใหม่ด้วยเกษตรแบบผสมผสาน  ในบ้านลำแดง ตำบลหันตะเภา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3)เพื่อนำเสนอกระบวนการการสร้างศักยภาพเกษตรกรยุคใหม่ด้วยเกษตรแบบผสมผสาน ในบ้านลำแดง ตำบลหันตะเภา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระเบียบวิจัยแบบ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ จำนวน 16 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและ พรรณนาความ

                     ผลการวิจัยพบว่า

          1. ศักยภาพการจัดการเกษตรแบบผสมผสานในหมู่บ้านลำแดง เมื่อเกิดการเรียนรู้ภายใต้การจัดการการเกษตรแบบผสมผสาน จึงส่งผลให้เกษตรกรอำเภอวังน้อยเกิดศักยภาพ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัด ขจัดการใช้จ่ายรวมพลังกันในรูปแบบกลุ่มเพื่อการผลิตการตลาดรวมทั้งสวัสดิการการพัฒนาสังคม และสร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้หลากหลาย โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาคองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคราชการ การทำการเกษตรแบบผสมผสาน จึงมีความสำคัญและบทบาต่อภาคการเกษตร ที่จะส่งผลกระทบไปสู่การเจริญเติบโตของประเทศอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามต้องมีองค์ประกอบหลายประการ ที่จะทำให้การเกษตรวิธีนี้ ประสบความสำเร็จ เกษตรผสมผสานทำให้เกษตรกรได้รับการตอบสนองทั้งด้านส่วนตัวและสังคมระดับสูง ได้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น มีรายได้มากขึ้น ครอบครัวอบอุ่นมีความสุขมากขึ้น ในระดับหมู่บ้านและระดับสถาบัน เป็นส่งผลเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

          2. เกษตรกรมีการวางแผนการเกษตรแบบพอเพียงด้วยตนเอง เช่น เกษตรแบบพอเพียงการปลูกพืชตามหลักทฤษฎีใหม่ มีการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีการนำผลผลิตในรอบเดือนจำหน่าย และการทำกิจกรรมร่วมกับภาครัฐ ทำให้มีรายได้เข้าสู่หมู่บ้านเศรษฐกิจแบบพอเพียงอย่างต่อเนื่องและเกษตรกรที่ทำการเกษตรปลูกพืชอาหารจำหน่ายในรูปแบบพืชอาหารผสมผสาน จำหน่ายตลาดมีการวางแผนทางการเกษตรช่วยให้มีรายได้เข้าครอบครัว และหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องสร้างความมั่นคงทางรายได้ที่ชัดเจนสามารถส่งบุตรหลานเรียน และจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับรายได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังเป็นวิทยากรในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารกิจกรรมเชิงท่องเที่ยวทางการเกษตร และสมาชิกในครอบครัวยังเป็นส่วนหนึ่งของแรงงานหลักในการสร้างผลผลิต และสืบทอดองค์ความรู้ทางด้านการเกษตรแบบผสมผสานในการผลิตผลผลิตออกจำหน่ายสู่ตลาดเชื่อมโยงสมาชิกในครอบครัวอื่นของหมู่บ้านที่ประกอบอาชีพเศรษฐกิจแบบเกษตร

          3. เกษตรกรผ่านการทำการเกษตรแบบผสมผสานขับเคลื่อน ในการดำเนินกิจกรรมจนทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ เน้นการบริโภคภายในหมู่บ้านชุมชนเป็นหลัก และหมู่บ้านชุมชนยังใช้เครื่องในการขัดเกลาจิตใจ ที่ก่อให้เกิดความเสียสละ คือ หลักธรรมตามพระพุทธศาสนา และมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเป็นการใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีความซับซ้อน เน้นความเรียบง่ายสามารถควบคุมได้ง่ายจัดการกันเองได้ และมีต้นทุนที่ต่ำหรือไม่ต้นทุนสูงมากนัก ต้องไม่ทำลายทรัพยากรทั้งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฟื้นฟูภูมิปัญญาเริ่มจากการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับตนเอง ส่งต่อไปสู่หมู่บ้านชุมชนต่อไป

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

           The thesis consisted of the following objectives: 1) to study the conditions of the potential building of farmers in the new era with integrated farming at BanLamDaeng, HanTapao Subdistrict, WangNoi District, Ayutthaya Province; 2) to analyze problems and obstacles of the potential building of farmers in the new era with integrated farming at BanLamDaeng, HanTapao Subdistrict, WangNoi District, Ayutthaya Province; and 3) to present the process of the potential building of farmers in the new era with integrated farming at BanLamDaeng, HanTapao Subdistrict, WangNoi District, Ayutthaya Province. The study applied a qualitative research method. The key informants consisted of 16 persons. The data were collected by way of interviews. The obtained data were analyzed by means of explanation and descriptive method.

              From the study, the following results are found:

          1. The learning under the integrated farm management which results in the potentials of the farmers in WangNoi District is based on the principle of sufficiency, self-support, being economical, and cutting spending. There is cooperation among farmers by forming a group for the purposes of production, marketing, creating welfare for social development, creating a network of professional groups, and expanding economic activities to be of variety through collaborating with business sectors, non-governmental organizations, and government sectors. The integrated farming, therefore, plays an important role in the agricultural sector which can lead to the sustainable progress and prosperity of the country. However, there requires several factors for this farming method to be successful. The integrated farming is able to respond to the farmers both in personal aspects and high society in which they gain more agricultural products, more income, and their family become happier at both the village level and the institutional level.

          2. The farmer form a plan of self-sufficiency farming, for example, sufficiency farming, plant cultivation according to the new theory, the arrangement of activities on agri-tourism, the selling of monthly production, and joint activities with the government sectors. All of these bring stable income to the sufficiency economy village. There is also a cultivation of food crops for sale in the form of integrated food crops at the market. Farm planning provides farmers with stable income for families and villages allowing them to afford their children to school and organize the activities more appropriately according to the income. They also get to give lectures in order to spread the information and news on agri-tourism activities. The family members, apart from being the main labor in producing products and inheriting the body of knowledge on integrated farming for producing products to be sold in the market, they also get to connect with other families in the village who also work in the field of farming.

          3. After driving the activities on integrated farming, farmers are able to rely on themselves in which they emphasize the consumption within the community and village. The villagers have the Buddhist teachings to train their minds and learn to sacrifice. There is also the use of optimal and uncomplicated technology. The lifestyle that is revolved around simplicity where the villagers can control and manage by themselves at a low cost, and must not destroy the natural and environmental resources. The lifestyle where the local wisdom is restored and adopted. The economic stability must start from oneself and pass it on to the community and village.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6101204036 6101204036 7.76 MiB 18 5 ก.ย. 2564 เวลา 07:12 น. ดาวน์โหลด