โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    กระบวนการส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนวพระพุทธศาสนา ของประชาชนในเขตอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Process of Promoting Care for terminally ill Patients According to Buddhism of People in Tron District, Uttaradit Province
  • ผู้วิจัยพระปลัดกมลมาศ เลขธมฺโม (พรหมสนธิ์)
  • ที่ปรึกษา 1พระศักดิธัช สํวโร, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.พรหมเรศ แก้วโมลา
  • วันสำเร็จการศึกษา26/08/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2207
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 15
  • จำนวนผู้เข้าชม 74

บทคัดย่อภาษาไทย

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนวพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในเขตอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ 3) เพื่อเสนอกระบวนการส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในเขตอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  โดยการศึกษาเอกสาร ผนวกกับสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) ผลการวิจัยพบว่า

          1) หลักการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนวพระพุทธศาสนา เน้นการดูแลใน 2 มิติ คือ การดูแลด้านร่างกายและจิตใจเป็นพื้นฐาน และเชื่อมโยงไปสู่การดูแลที่ให้ความสำคัญกับมิติแห่งความเป็นมนุษย์ หรือมิติแห่งการพัฒนาศักยภาพมนุษย์จนถึงวินาทีสุดท้ายแห่งชีวิต ไม่ว่าจะเป็นชีวิตทางด้านกาย ศีลหรือสังคม จิตใจ และปัญญา มุ่งให้ผู้ป่วยเกิดความงอกงามตามหลักไตรสิกขา เป็นการดูแลที่มุ่งพัฒนาปัญญาให้รู้เท่าทันโลกและชีวิต มุ่งช่วยให้ผู้ป่วยรู้เท่าทันความตาย ไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อความตาย เพื่อช่วยประคับประคองจิตใจของผู้ป่วยให้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ทำชีวิตให้มีจิตผ่องแผ้วในวาระสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต เมื่อจากโลกนี้ ย่อมไปสู่สุคติ โลกสวรรค์

          2) หลักพุทธธรรมที่นำมาใช้ในกระบวนการส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ หลักธรรมสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย และหลักธรรมสำหรับผู้ป่วยเองซึ่งประกอบไปด้วยพรหมวิหารธรรม สังคหวัตถุ กัลยาณมิตตตา อภิณหปัจเวกขณ์ โยนิโสมนสิการ อัปมาทะ และการเจริญสมถะและวิปัสสนา เป็นต้น ล้วนเป็นหลักธรรมที่ประสานสอดคล้องกับหลักการดูแลผู้ป่วยตามหลักการทางพระพุทธศาสนา คือ การดูแลที่ครอบคลุมด้านร่างกายและจิตใจเป็นหลัก

          3) ด้านกระบวนการส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในเขตอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งได้พัฒนากระบวนการมาจากแนวคิดและวิธีการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามหลักการทางพระพุทธศาสนา โดยบูรณาการกับหลักการทางการแพทย์แผนปัจจุบันของโรงพยาบาลตรอนที่ใช้กระบวนการดูแลแบบประคับประคอง (Paliative care) สามารถสรุปเป็น 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ประเมินสภาพผู้ป่วยเพื่อค้นหาความต้องการการดูแลแบบประคับประคอง, ขั้นตอนที่ 2 แจ้งข้อมูลการรักษาอย่างค่อยเป็นค่อยไปแก่ผู้ป่วยและญาติ ตลอดจนช่วยประสานงานเกี่ยวกับความต้องการการรักษา, ขั้นตอนที่ 3 ดูแลประคับประคองจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในด้านสังคมเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถปรับตัวกับภาวะที่เป็นอยู่ได้อีกทั้งตอบสนองต่อความต้องการที่ผู้ป่วยเห็นว่ามีคุญค่า, ขั้นตอนที่ 4 การส่งต่อเครือข่ายเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้าน และขั้นตอนที่ 5 ประเมินความเหมาะสมเกี่ยวกับการดูแลรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต โดยทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ ครอบคลุมกระบวนการดูแลตามแนวพระพุทธศาสนาแบบองค์รวมใน 4 มิติ คือ ด้านกาย ใช้หลักการจัดสัปปายะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับอาการและสภาพผู้ป่วย ร่วมกับการดูแลรักษาตามหลักการแพทย์ปัจจุบัน, ด้านจิตใจ ใช้หลักการปฏิบัติตามความเชื่อความศรัทธาของผู้ป่วย ได้แก่ การถวายสังฆทาน การสวดมนต์สืบชะตา การบายศรีสู่ขวัญ ผูกข้อมือ ใช้หลักสมถะภาวนา และการสวดมนต์ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยอย่างสม่ำเสมอ ด้านสังคม ใช้หลักการรับฟัง การสัมผัส และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนในครอบครัวและผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย และด้านปัญญา ใช้หลักการรับฟังและการสัมผัสด้วยความรักความเมตตาการสนทนาธรรมการแสดงธรรม และการเจริญวิปัสสนาภาวนา เมื่อกระบวนการทั้ง 4 มิติ มีความประสานสอดคล้องกัน ย่อมที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ทำชีวิตให้มีคุณภาพ มีจิตผ่องแผ้ว ในวาระสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต ที่เรียกว่า การตายดีและสมศักดิ์ศรี

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

          The thesis consisted of 3 objectives as follows: 1) to study the principles of care for terminally ill patients according to Buddhism; 2) to study the Buddhist teachings promoting care for terminally ill patients according to Buddhism of people in Tron district, Uttaradit province; and 3) to propose the process of promoting care for terminally ill patients according to Buddhism of people in Tron district, Uttaradit province. The study applied qualitative research by studying documents as preliminary data together with in-depth interviews and focus group discussion. The results of the research are as follows:

          1) The principles of care for terminally ill patients according to Buddhism emphasize two dimensions: physical and mental care as a basis and care that values the dimension of human being or the development of human potential up to the very last moment of life, be it physical, moral, social, mental, and intellectual aspect. All of which focus on a fruitful life of patients that is based on Trisikkhā (the Threefold Training) and the development of wisdom in order to have awareness towards life and the world. In addition, this type of care aims at helping patients to be aware of death and not in the fear of death. This will support the patients to have Sati-Sampajañña (mindfulness and awareness), resulting in a pure mind at terminally ill patiens so that they can rest in peace and enter the heavenly world after they leave the world of a man. 

          2) The Buddhist teachings promoting care for terminally ill patients can be divided into 2 parts: the teachings for the caregivers and for the patients. For patients, the necessary Buddhist teachings are Brahmavihāra (Sublime States of Mind), Sagahavatthu (Bases of Social Solidarity), Kalyāṇamitta-dhamma (Qualities of a Good Friend), Abhihapaccavekkhaa (Ideas to be Constantly Reviewed), Yonisomanasikāra (Analytical Reflection), Appamāda (Non-negligence), and the practice of both Samatha and Vipassanā meditation, etc. All of which are the principles for taking care of patients according to the Buddhist teachings which cover both physical and mental aspect.

          3) The process of promoting care for terminally ill patients according to Buddhism of people in Tron district, Uttaradit province has been developed based on the concepts and methods of care for terminally ill patients according to Buddhism integrating with the conventional medicine of Tron hospital that applies the palliative care consisting of 5 steps as follows: 1) The 1st step is to assess the conditions of patients in order to find the needs and kind of palliative care; 2) The 2nd step is to inform patients and relatives of the treatment step by step, including performing the necessary coordination on the needs of treatment; 3) The 3rd step is to provide palliative care mentally and emotionally, as well as social assistance so the patients and their families will be able to adjust to their ongoing state and respond to the needs that the patients find valuable; 4) The 4th step is to forward the network for continuous care at home; and 5) The 5th step is to cover the process of holistic care according to Buddhism in the following 4 dimensions: (1) Physical aspect by applying the principle of Sappāya (beneficial conditions) including hairs, teeth, and skin, as well as residence and environment that are appropriate to the symptom and condition of the patients, together with the application of conventional medicine; (2) Mental aspect by practicing according to the belief of the patients such as Saṅghadāna (offering dedicated to the Sangha), Seub Chata (prolongation chanting ritual), Baisrisukwan (blessing ceremony), hand-tying ritual, the principle of Samatha Bhāvanā (concentration development), and chanting regularly for taking refuge in the Triple Gem; (3) Social aspect by listening, touching, and building a good relationship with the patients’ family and caregivers; (4) Intellectual aspect by listening and touching based on loving-kindness, Dhamma discussion, expounding the Dhamma, and practicing the Vipassanā Bhāvanā (insight development). When all 4 dimensions are consistent with each other, patients will have complete mindfulness and awareness which results in a life of quality and a pure mind at the end of life before passing away, namely, a good and dignified death.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6208205004 6208205004 5.1 MiB 15 17 ก.ย. 2564 เวลา 12:16 น. ดาวน์โหลด