-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาการบริหารความเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Risk Management According to Buddhism
- ผู้วิจัยพระเรืองศักดิ์ อธิมุตฺโต (อุนะพำนัก)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.พรหมเรศ แก้วโมลา
- ที่ปรึกษา 2พระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา26/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2208
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 61
- จำนวนผู้เข้าชม 62
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเสี่ยงที่มีต่อพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการบริหารความเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงของพระพุทธศาสนาในสังคมปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยค้นคว้าจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา แล้วนำมาเรียบเรียงเพื่อนำเสนอข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า
1) ความเสี่ยงที่มีต่อพระพุทธศาสนา มีอยู่ 2 ประการ คือ 1) ความเสี่ยงภายใน หมายถึง ความเสี่ยงหรือภัยที่เกิดจากพุทธบริษัท 4 โดยการประพฤติเสื่อม หรือทำให้วิปริต 2) ความเสี่ยงภายนอก หมายถึง ความเสี่ยงหรือภัยที่เกิดจากบุคคลภายนอกศาสนา การรุกรานจากศาสนาอื่น และปัจจัยทางสังคม ความเสี่ยงทั้ง 2 ประเภทนี้ถือแป็นภัยคุกคามในการดำรงอยู่ของพระสัทธรรมและความดีงามแห่งสงฆ์
2) การบริหารความเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นหลักการและวิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเพื่อการบริหารจัดการพระพุทธศาสนาครอบคลุมทั้งการปกครอง และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยในด้านการปกครองนั้นจะเห็นได้ชัดเจนว่ามีส่วนสำคัญในการทำให้พระพุทธศาสนาตั้งมั่น พระสัทธรรมดำรงอยู่มี 3 ประเด็น คือ (1) การบริหารความเสี่ยงด้านการบัญญัติพระธรรมวินัย ที่บัญญัติขึ้นเมื่อมีเหตุประพฤติเสื่อม เพื่อควบคุมการละเมิดพระวินัยให้เกิดความผาสุกแห่งคณะสงฆ์ (2) การบริหารความเสี่ยงด้านหลักธรรมคำสอน ทรงบัญญัติหลักมหาปเทส 4 เพื่อเป็นเกณฑ์ในการติดสินพระธรรมวินัยเมื่อเกิดปัญหาสัทธรรมปฏิรูป และการพัฒนาพุทธบริษัทที่จะออกไปเผยแผ่หลักธรรมคำสอนด้วยการฝึกอบรมตนให้เกิดปัญญาที่แท้จริง เพื่อยังความเลื่อมใสของประชาชนให้เกิดขึ้น
3) แนวทางการบริหารความเสี่ยงในสังคมปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ 1) แนวทางการบริหารความเสี่ยงภายใน ได้แก่ (1) การบริหารความเสี่ยงตามหลักพระธรรมวินัยของคณะสงฆ์ มีแนวทางการประยุกต์ใช้ที่สำคัญ คือ การยึดพระธรรมวินัยเป็นหลักการสูงสุดและมอบอำนาจให้คณะสงฆ์เป็นใหญ่ โดยเป็นผู้จัดการทั้งในด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาบุคคล และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับคณะสงฆ์ โดยมีการบูรณาการหรือประยุกต์ใช้ร่วมกับศาสตร์สมัยใหม่ ภูมิปัญญาสากล และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย คือ การรักษาสืบทอดพระธรรมวินัย การเผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมทั้งการพัฒนาบุคคลและสังคม (2) การบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารกิจการคณะสงฆ์ เป็นการพัฒนาการทำงานคณะสงฆ์ที่จะทำได้โดยตรงคือ การให้คำแนะนำทางจิตใจ เป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาชีวิตต่าง ๆ สามารถเป็นที่พึ่งทางจิตใจด้วยการประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ด้วยภารกิจ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง ด้านการศาสนศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่ ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณะสงเคราะห์ เป็นการดำเนินงานพื้นฐานที่อาศัยการมีส่วนร่วมกับชุมชน คือ วัดพึ่งชุมชน ชุมชนพึ่งวัด เพื่อให้เกิดความเจริญยิ่งขึ้นตามหลักการทางพระพุทธศาสนา และ 2) แนวทางการบริหารความเสี่ยงภายนอก ได้แก่ การบริหารความเสี่ยงด้านพื้นที่เครือข่ายองค์กรพระพุทธศาสนา โดยมีการปรับประยุกต์หลักพุทธธรรมเข้ากับบริบทของพื้นที่ชุมชน และวัฒนธรรมท้องถิ่น มีการวางแผนร่วมกับชุมชน ภาครัฐ เอกชน เพื่อพัฒนาให้เหมาะสมกับพื้นที่และตามหลักพระพุทธศาสนา โดยใช้กลไก คือ การประสานงาน การติดต่อสื่อสาร การติดตามประเมินผล และการทำกิจกรรมร่วมกัน รวมถึงการสามารถประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการทำงานอีกด้วย เช่น หลักอปริหานิยธรรม 7 เพื่อสร้างความมั่งคงมิให้เกิดความเสื่อมขององค์กร หรือการใช้ลักอริยสัจ 4 เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายในการทำงานที่แท้จริง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis consisted of the following objectives: 1) to study risks towards Buddhism; 2) to study risk management according to Buddhism; and 3) to propose the guidelines of risk management for Buddhism in the present society. The study applied a documentary research method by studying from the Tipiṭaka, commentaries, and sub-commentaries. The acquired data were compiled and presented. The results of the research are as follows:
1) There are two risks towards Buddhism: 1) Internal risk refers to risks or dangers arising from the four Buddhist communities through unwholesome action and 2) External risk refers to risks or dangers arising from people of other religions, the invasion from other religions, and social factors. Both risks pose a threat to the existence of true doctrine and the Sangha.
2) Risk management according to Buddhism refers to the principles and methods laid down by the Buddha to administrate Buddhism in all aspects whether on governance or the propagation of Buddhism. On governance, risk management plays an important role in the preservation of Buddhism. The true doctrine or Saddhamma consists of three aspects: 1) Risk management through Pariyatti-saddhamma (the textual aspect of the true doctrine) in order to regulate the violation of the disciplines which will result in the well-being of the Sangha; 2) Risk management through Paṭipatti-saddhamma (the practical aspect of the true doctrine) in which the Buddha laid down Mahāpadesa (the four principal references or citations) for judging the disciplines when there is a problem of Saddhammapaṭirūpaka (false doctrine) and for developing the four Buddhist communities who will propagate the Buddhist teachings by training themselves in order to have true wisdom. This will also result in the increasing faith of the people.
3) The guidelines of risk management for Buddhism in the present society consist of 2 aspects as follows: 3.1) Internal risk management which are 1) risk management according to the disciplines of the Sangha by adhering to the disciplines as the highest principles and giving authority to the Sangha as a manager in both the promotion of learning, the personnel development, and problem-solving that arises with the Sangha. In this regard, there is also an integration or application of the modern sciences, universal and local wisdom in order to lead to the goals of maintaining the disciplines, propagating Buddhism as well as developing personnel and society, 2) risk management on the administration of the Sangha which is to develop the work of the Sangha that can be implemented directly such as giving advice on the mental aspect and being an advisor on various problems in life. In this regard, monks can behave themselves as an example in the following six aspects which are governance, religious education, education welfare, propagation, monastic compound construction, and public welfare. This is the basic work operation based on community participation, namely, temple relies on community and community relies on temple which will lead to prosperity according to Buddhism; and 3.2) External risk management which is the area of the Buddhist organization network by adjusting and applying the Buddhadhamma with the contexts of the community area and local culture, planning with the community, public sector, and private sector in order to suit the community area and according to Buddhism. This can be implemented by applying the mechanism of coordination, communication, monitoring, evaluation, and joint activities, including the application of Buddhadhamma in working such as Aparihāniyadhamma (seven conditions of welfare) for building stability and preventing the organization from decline, Ariyasacca (the four noble truths) for leading to the real goal achievement in working.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6208205005 | 6208205005 | 1.51 MiB | 61 | 17 ก.ย. 2564 เวลา 12:14 น. | ดาวน์โหลด |