-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนวิถีพุทธตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of Buddhadhamma for the Buddhist Community Development According to the Project on “Village, Monastery, School” in Si Satchanalai District, Sukhothai Province
- ผู้วิจัยพระใบฎีกานพดล ธีรปญฺโญ (มายรรยงค์)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.พรหมเรศ แก้วโมลา
- ที่ปรึกษา 2พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา26/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2209
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 43
- จำนวนผู้เข้าชม 104
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนวิถีพุทธตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย” มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบริบทชุมชนวิถีพุทธตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 3. เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนวิถีพุทธ ตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนวิถีพุทธตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 15 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า
1. บริบทชุมชนวิถีพุทธตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย พบว่า มีคณะสงฆ์อำเภอศรีสัชนาลัย ร่วมกับสำนักวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 องค์กรปกครองส่วนถิ่น ผู้นำชุมชนและประชาชนในพี้นที่ร่วมกันขับเคลื่อนโดยมีรากฐานทางด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรมเป็นวิถีปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และมีการดำเนินกิจกรรมตามนโยบายที่ทางคณะสงฆ์ ส่วนราชการและประชาชนอย่างสม่ำเสมอ
2. หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า บ้าน (ผู้นำชุมชนและประชาชน) วัด (พระสงฆ์) โรงเรียน (ครูและนักเรียน) นำมาบูรณาการ ได้แก่ หลักสังคหวัตถุ 4 คือ 1) ทาน มีการแบ่งปันด้วยปัจจัย ๔ และธรรมทานซึ่งกันและกันภายในชุมชนอย่างเหมาะสมในยามปกติและในยามประสบภัยต่าง ๆ 2) ปิยวาจา มีการสื่อสารกันด้วยถ้อยคำที่สุภาพและเป็นกันเองระหว่างสมาชิกในชุมชน 3) อัตถจริยา มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างเครือญาติและคนในชุมชนด้วยจิตอาสา 4) สมานัตตตา มีการประพฤติปฏิบัติกิจกรรมทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวัน
3. แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนวิถีพุทธ ตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย พบว่า มี 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. ส่วนบุคคล สำหรับพระสงฆ์ ผู้นำชุมชน ประชาชน ครู นักเรียน 1) ใช้ในกิจวัตรประจำวันซึ่งได้รับการปลูกฝังตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2) ได้รับองค์ความรู้จากคนในครอบครัว โรงเรียนและพระสงฆ์เป็นผู้ถ่ายทอด 3) ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในชุมชนและสังคมอย่างสม่ำเสมอ 2. ส่วนงาน ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน 1) ผู้นำ และประชาชนถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกันในการอยู่ร่วมกันในสังคม 2) พระสงฆ์ทำหน้าที่เป็นผู้นำจิตใจด้วยการประพฤติตนเป็นแบบอย่างและอบรมจิตใจพุทธศาสนิกชน 3) ครูบาอาจารย์ทำหน้าที่อบรมกุลบุตรกุลธิดาให้มีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม 3. ส่วนรวม (นโยบาย) คือ ระดับจังหวัดถึงประเทศ 1) สนับสนุนและส่งเสริมงบประมาณ บุคลากรและสื่อที่ช่วยขับเคลื่อนพันธกิจ บวร อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง 2) สร้างเครือข่าย บวร ในระดับจังหวัด ภูมิภาคและประเทศ 3) มีการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานและนำไปพัฒนา บวร อย่างชัดเจน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The research entitled “An Application of Buddhadhamma for the Buddhist Community Development According to the Project on “Village, Monastery, School” in Si Satchanalai District, Sukhothai Province” consisted of the following objectives: 1) to study the context of Buddhist community according to the “village, monastery, and school” project in Si Satchanalai district, Sukhothai province; 2) to study the Buddhadhamma for community development in Theravada Buddhist scriptures; and 3) to propose the guidelines for applying the Buddhadhamma for Buddhist community development according to the “village, monastery, and school” project in Si Satchanalai district, Sukhothai province. The study was qualitative research by collecting data from Tipiṭaka, commentaries, documents, and related research works, including interviewing 15 people on the application of Buddhadhamma for Buddhist community development according to the “village, monastery, and school” project in Si Satchanalai district, Sukhothai province. The results of the research are as follows:
1) From studying the Buddhist community context according to the “village, monastery, and school” project in Si Satchanalai district, Sukhothai province, it is found that the Sangha of Si Satchanalai district together with Sukhothai Provincial Cultural Office, Sukhothai Secondary Educational Service Area Office 38, Sukhothai Primary Educational Service Area Office 2, local administration organizations, community leaders, and people in the area help to mobilize the project based on religions, arts, and cultures as the way of practice in daily life, including the implementation of activities of the Sangha, public administration and the people.
2) From studying the Buddhadhamma for community development in the Theravada Buddhist scriptures, it is found that there is an integration of Buddhadhamma for village (community leaders and the people), monastery (monks), school (teachers and students) by applying Saṅgahavatthu (the Four Bases of Social Solidarity) as follows: (1) Dāna refers to an appropriate giving of the four requisites and Dhamma within the community in normal times and in time of disaster; (2) Piyavācā refers to having a kind and polite speech among community members; (3) Atthacariyā refers to being dependent on each other among relatives and community members with a voluntary mind; and 4) Samānattatā refers to the practice of religious and cultural activities that are consistent with the way of life.
3) The guidelines for applying the Buddhadhamma for Buddhist community development according to the “village, monastery, and school” project in Si Satchanalai district, Sukhothai province are found in 3 aspects: (1) Personal level for monks, community leaders, people, teachers, and students to 1.1) apply in their daily lives in which they have been cultivated since from the past to the present, 1.2) gain body of knowledge from members of the family, school, and temple with monks as the ones to pass on the knowledge, 1.3) regularly participate in Buddhist activities in the community and society; (2) Functional aspect including village, monastery, and school as follows: 2.1) leaders and people coexist and mutually depend on each other, 2.2) monks perform the role of spiritual leader by being a role model and give mind training to Buddhists, 2.3) teachers perform the duty of teaching children with both conventional and Dhamma knowledge; (3) Social aspect (policies) from provincial to national level as follows: 3.1) support and promote budget, human resources and media to drive the mission of “village, monastery, and school” project in a concrete and continuous manner, 3.2) build a network of “village, monastery, and school” project in provincial, regional and national level, and 3.3) measure and evaluate the results of the performance for a clear development of the “village, monastery, and school” project.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6208205006 | 6208205006 | 5.42 MiB | 43 | 17 ก.ย. 2564 เวลา 12:12 น. | ดาวน์โหลด |