-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์คำสอนเรื่องการรักษาโรคในพระพุทธศาสนาสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of Buddhist Teaching Concerning Desease Treatment in Daily Life
- ผู้วิจัยพระครูสมุห์จักรกฤษณ์ ปญฺญาวโร (ปิยโสภา)
- ที่ปรึกษา 1พระครูสิริสุตานุยุต, ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระอธิการสมนึก จรโณ, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา25/02/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/221
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,475
- จำนวนผู้เข้าชม 391
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การประยุกต์คำสอนเรื่องการรักษาโรคในพระพุทธศาสนา สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องโรคในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องการรักษาโรคที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อประยุกต์คำสอนเรื่องการรักษาโรคในพระพุทธศาสนาสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน
ผลการศึกษาพบว่า โรคและความเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน มาจากรากศัพท์ภาษาบาลีว่า รุช แปลว่า เสียบแทง มี 2 ประเภท คือ โรคทางกาย (กายิกโรค) และโรคทางใจ (เจตสิกโรค) โรคทางกายทั้งหมดมีสมุฏฐานการเกิดโรคมาจาก ธาตุ อุตุ อายุ สัตว์ วิธี อาหาร จิต และกรรม รวมทั้งความร้อน ความหิว ความกระหาย การไม่รู้จักประมาณในการบริโภค และการถูกทำร้าย ส่วนสำเหตุของการเกิดโรคทางใจ คือ ความโลภ ความโกรธและความหลง
ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงวิธีการรักษาโรคทางกายไว้ 5 กลุ่ม คือ การรักษาโรคโดยใช้สมุนไพร การรักษาโรค โดยหลักโภชนปฏิบัติ การรักษาโรค โดยวิธีทางการแพทย์ การรักษาโรค โดยใช้ธรรมะ และการรักษาโรค โดยวิธีการอื่นๆ เช่น การใช้สัจกิริยา การสร้างกุศลกรรม เป็นต้น ส่วนการรักษาโรคทางใจนั้นใช้หลักความพอเพียง พรหมวิหาร และการพัฒนาจิต
การประยุกต์แนวทางการรักษาโรคที่ปรากฏในพระไตรปิฎกในชีวิตประจำวัน สามารถประยุกต์ได้ 4 แนวทาง คือ 1) การประยุกต์หลักนิยาม 5 เพื่อการรักษาโรค คือ การทำความเข้าใจกับลักษณะธรรมดาของสรรพ และปรับตัวให้เข้ากับลักษณะธรรมดาของสรรพสิ่งเหล่านั้น 2) การประยุกต์ใช้หลักโภชเนมัตตัญญุตาในการรักษาโรค คือ การบริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์ พิจารณาอาหารก่อนรับประทาน เพื่อให้มีสติในการบริโภค ไม่กินแบบมัวเมา หลงใหลในรสชาติของอาหารจนทำให้เกินพอดี 3) การประยุกต์ใช้หลักบริหารกายในการรักษาโรค คือ การประยุกต์การบริหารอิริยาบถทั้ง 4 ให้มีความสมดุล การออกกาลังกาย การสัมผัสพื้นดิน นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแลความสะอาดของร่างกายและที่พักอาศัยด้วย 4) การประยุกต์หลักการทำให้เกิดความเหมาะสมในสัปปายะทั้ง 7 และ 5) การประยุกต์หลักภาวนา 4 เพื่อฝึกฝน อบรมพัฒนาร่างกายให้แข็งแรง และทำจิตใจให้มีปัญญานามาพัฒนาชีวิตให้มีความสุข
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis entitled “An Application of Buddhist Teaching Concerning Desease Treatment in Daily Life”. The objectives of this research as follows: 1) to study the teaching of diseases in Buddhism, 2) to study the teachings on the treatment of diseases in Buddhism, and 3) to apply the teachings on the treatment of diseases in Buddhism for use in daily life.
It was found that disease and illness are all related and it is derived from Pali language that “Ruja” means “To lampoon” there are two kinds namely, physical disease (Kãyikaroga) and mental disease (Cetasikaroga). All physical diseases have pathogenesis from element (Dhãtü), season (Utu), age, animal, method, food, mind and action (Kamma), including heat, hunger, thirst, not estimated in consumption assault. The causes of mental disease are greed, anger and delusion.
In the Tipitaka mentioned, there are five groups of disease treatment, including the treatment of diseases by using herbs, nutritional practice, medical treatment, the Dharma and other means such as the use of Saccakiriyã or the truth and collective merit or good deeds etc. The treatment of mental disease is based on the principle of sufficiency, Brahmavihãra or four sublime states of mind and mental development.
The application of therapeutic approaches appearing in Tipitaka of daily life that can be applied in four ways, including 1) The application of Niyãma (the five aspects of natural law) in order to treat the diseases that is understanding the nature of the common and adapts to the common traits of those, 2) The application of Bhojane Mattaññutã in the treatment of diseases, including good food consumption and useful, considering food before eating in order to conscious consumption, do not eat passion and passionate in the taste of food until excessive fit, 3) The application of physical management in the treatment of diseases, including the application of the four postures to balance such as the exercise, ground contact It also includes cleanliness of the body and shelter, 4) the application of the principles of appropriateness in Sappãya or things favorable to mental development, and 5) the application of 4 Bhãvanã to improve the body to be strength and develop the mind full in wisdom for the happy life.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 1.8 MiB | 1,475 | 25 พ.ค. 2564 เวลา 21:29 น. | ดาวน์โหลด |