โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    วิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติเพื่อเป็นเทวดาในพระไตรปิฎก
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analysis of the Guidelines for Practice to Become Devatā According to the Tipiṭaka
  • ผู้วิจัยพระมหานิยม ญาณสิทฺธิ (พันธ์โนฤทธิ์)
  • ที่ปรึกษา 1พระราชเขมากร, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา26/08/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2211
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 19
  • จำนวนผู้เข้าชม 64

บทคัดย่อภาษาไทย

          การวิจัยเรื่อง วิเคราะห์แนวทางปฏิบัติเพื่อเป็นเทวดาในพระไตรปิฎกมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาเทวดาที่ปรากฏในพระไตรปิฎก 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเป็นเทวดาในพระไตรปิฎก และ 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติเป็นเทวดาในพระไตรปิฎก เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Resarch) โดยศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิ ได้แก่ จากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และเอกสารทุติยภูมิ ได้แก่ หนังสือ ตำรา รายงานการวิจัย และบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติเพื่อเป็นเทวดาในพระไตรปิฎก ผลการวิจัยพบว่า

               1. ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงเทวดาไว้ 3 ประเภท คือ 1. สมมติเทพ เป็นเทวดาโดยสมมติ 2. อุปปัตติเทพ เป็นเทวดาโดยกำเนิด และ 3. วิสุทธิเทพ คือ การเป็นเทวดาโดยความบริสุทธิ์ ภพภูมิของเทวดามีทั้งหมด 16 ชั้น แต่ละชั้นต่างก็ได้กำหนดช่วงอายุในการอาศัยต่างกัน โดยพิจารณาจากผลบุญที่ได้กระทำไว้เมื่อยังเป็นมนุษย์  ประกอบไปด้วย อรูปพรหม 4 ชั้น เทวโลก คือ อาณาจักรของเทวดา ได้แก่ สวรรค์ 6 ชั้น หรือกามาวจร 6 ได้แก่ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี และปรนิมมิตสวัตตี

               2. แนวทางการเป็นเทวดาในพระไตรปิฎกมี มีทั้งหมด 3 ทางด้วยกัน คือ การทำบุญด้วยการให้ทาน การทำบุญด้วยการรักษาศีล และการทำบุญด้วยการเจริญภาวนา เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 3 ในอิตถีวิมานและปุริสวิมาน มีแนวทางการเป็นเทวดา คือ 1) การเป็นเทวดาด้วยการให้ทานมีอยู่ทั้งหมด 102 วิมาร แบ่งออกเป็นการให้ทานแบบอามิสทาน คือ การให้ทานสิ่งของ เช่น ตั่ง อาหาร ร่ม ดอกไม้ ผลไม้ เป็นต้น และให้ทานแบบธรรมทาน คือ ให้ธรรมะเป็นทาน  2) แนวทางการเป็นเทวดาด้วยการรักษาศีล มีทั้งหมด 18วิมาน เป็นการรักษาศีล 5 และศีล 8 หรืออุโบสถศีล ในวันพระ 8 ค่ำและ 15 ค่ำ และ 3) แนวทางการเป็นเทวดาจากการเจริญภาวนา มีทั้งหมด ๑๒ วิมาน เป็นวิมานที่เกิดจากการเจริญภาวนา และการพิจารณาธรรมจากการที่ได้รับฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า รวมถึงการน้อมจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัย

                3. การปฏิบัติเป็นเทวดาในพระไตรปิฎกนั้น จะต้องอาศัยองค์ประกอบ 5 อย่าง คือ 1) เรื่องกรรม หรือการกระทำ ผู้ที่ปรารถนาที่เป็นเทวดาจะต้องประกอบกรรมดี หรือกรรมที่เป็นกุศล เป็นประจำ เนื่องจากกรรมถือเป็นกระบวนการสำคัญที่จะส่งผลให้ได้ไปเกิดในภพภูมิต่อไปที่อาจจะเป็นสุคติภูมิ หรือทุกคติภูมิก็ได้ 2) เรื่องจิตดวงสุดท้าย คือ ภาวะที่จิตใกล้ดับ มีผลต่อการนำไปเกิดในภพภูมิที่อาจจะเป็นสุคติหรือทุคติ เนื่องจากกรรมที่ประกอบด้วยเจตนามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการตายและการเกิดใหม่ของมนุษย์ โดยจะมีอยู่ 2 ช่วงสำคัญ คือ ช่วงแรกเรียกว่า มรณาสันนกาล หรือ กาลเวลาใกล้ดับจิต และช่วงที่สอง เป็นช่วงการทำงานครั้งสุดท้ายของจิต เรียกว่า มรณาสันนวิถี หรือ วิถีใกล้ดับจิตหรือใกล้ตาย 3) การให้ทาน เป็นแนวทางปฏิบัติที่สามารถกระทำได้โดยง่าย  เพราะเทวดาแต่ละชั้นโดยส่วนมากจะมีทานเป็นพื้นฐานของกุศลกรรม ดังที่ปรากฏในวิมานวัตถุที่เป็นเทวดาจากการให้ทานมากถึง 102 วิมาน 4) การปฏิบัติด้วยการรักษาศีล ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการทำบุญในบุญกิริยาวัตถุที่มีการกล่าวถึงมากเช่นกัน โดยเฉพาะการรักษาศีล 5 ศีล 8 เป็นประจำก็สามารถที่จะเป็นแนวทางไปสู่การเป็นเทวดาในสวรรค์แต่ละชั้นได้ และ 5) การปฏิบัติด้วยการภาวนา คือ การเจริญภาวนาเพื่อให้เกิดปัญญารู้เท่าทันสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น ถือว่าเป็นแนวทางที่พระพุทธเจ้าได้ให้ความสำคัญมาก เนื่องจากการเจริญภาวนาสามารถที่จะนำไปสู่การเป็นเทวดาในชั้นกามาวจรภูมิ รวมถึง ชั้นรูปาวจรภูมิ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

          The thesis entitled “An Analysis of the Guidelines for Practice to Become Devatā According to the Tipiṭaka” consisted of the following objectives: 1) to study devatā in the Tipiṭaka; 2) to study the guidelines to become devatā in the Tipiṭaka; and 3) to analyze the guidelines for practice to become devatā in the Tipiṭaka. The study applied a documentary research approach by studying from primary documents, namely, Tipiaka, commentaries, subcommentaries, sub-subcommentaries; and the secondary documents, namely, books, research reports, and researches related to the way of practice to become devatā according to the Tipiṭaka. The results of the research are as follows:

               1) The Tipiṭaka mentions about 3 kinds of devatā which are: (1) Sammati-deva refers to gods by convention; (2) Upapatti-deva refers to gods by rebirth; and (3) Visuddhi-deva refers to gods by purification. There are 16 planes for devatā and each plane has different ranges of time for living depending on the merits made as a human being. The 16 planes are as follows: arūpāvacara-bhūmi refers to the 4 formless planes; devaloka refers to world of gods which are the 6 heavenly worlds; and kāmasugati-bhūmi refers to the 6 sensuous blissful planes for human beings which are cātummahārājika, tāvatisa, yāma, tusita, nimmānaratī, and paranimmitavasavattī.

               2) The guideline to become devatā in the Tipiṭaka, there are 3 ways which are merit-making through dāna (giving), merit-making through observing sīla (precepts), and merit-making through cultivating bhāvanā (mental development); all together are called puññakiriyā-vatthu (the 3 bases of meritorious action). In itthivimāna (women’s heavenly palace) and purisavimāna (men’s heavenly palace), the ways to become devatā are as follows: 1) Dāna which is divided into 2 types, namely, āmisadāna refers to the donation of requisites or material gift i.e., food, lodging, umbrella, flowers, fruits, etc., and dhammadāna refers to gift of truth or spiritual gift. There are 102 vimāna-s (heavenly palaces); 2) The observance of sīla which refers to the 5 and 8 precepts on the observance day. There are 18 vimāna-s; and 3) The cultivation of bhāvanā which consists of 12 vimāna-s. The cultivation of bhāvanā together with the contemplation of dhamma from listening to the Buddha and taking refuge in the Triple Gem give rise to these 12 vimāna-s.

               3) The guideline to become devatā in the Tipiṭaka relies on 5 components as follows: (1) Kamma or action in which those who want to become devatā must regularly do good or kusala (wholesome) kamma because it is an important process that will result in being born in sugati-bhūmi (blissful plane) or dukkha-gati-bhūmi (painful plane); 2) The death-consciousness which will result in being born in sugati-bhūmi or dukkha-gati-bhūmi. Kamma with intention plays a significant role towards death and rebirth of human beings in which there is an important period called maraṇasanna-kāla or maraṇasanna-vithī (death-proximate consciousness); 3) Dāna which is the practice that can be done easily because most devata-s in each plane commit wholesome kamma through dāna. This can be seen that in vimānavatthu, there are 102 vimāna-s of those who become devatā from practicing dāna; 4) The observance of precepts which is the merit-making through puññakiriyā-vatthu, especially the 5 and 8 precepts. This is the practice leading to become devatā in heaven; and 5) The cultivation of bhāvanā to have wisdom and be mindful of the occurring reality. This practice is emphasized by the Buddha as it will result a person to become devatā in kāmāvacara-bhūmi (sensuous plane), including rūpāvacara-bhūmi (form-plane).

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6208205008 6208205008 1.62 MiB 19 17 ก.ย. 2564 เวลา 12:08 น. ดาวน์โหลด