-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการตรวจชำระและศึกษาหลักธรรมในคัมภีร์สืบชาตา ฉบับพระครูประโชติสิริวัฒน์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Revision and Dhamma Study of Seub Chata Scripture of Phrakhru Prachotisiriwat's Edition
- ผู้วิจัยพระมหาณัฐพล พลาธิโก (กาศสนุก)
- ที่ปรึกษา 1พระราชเขมากร, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา26/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2212
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 219
- จำนวนผู้เข้าชม 80
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง “การตรวจชำระและศึกษาหลักธรรมในคัมภีร์สืบชาตาฉบับพระครูประโชติสิริวัฒน์” มี 3 วัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาและความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมสืบชาตาในสังคมล้านนา 2) ตรวจและชำระคัมภีร์สรากริวิชชาสูตรและคัมภีร์ทิพย์มนต์หลวงสืบชาตาฉบับพระครูประโชติสิริวัฒน์ และ 3) ศึกษาหลักธรรมในคัมภีร์สรากริวิชชาสูตรและคัมภีร์ทิพย์มนต์หลวงสืบชาตา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาประวัติความเป็นมา ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมสืบชาตา การตรวจชำระ และศึกษาหลักธรรมในคัมภีร์ดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่า
1. พิธีกรรมสืบชาตาเป็นพิธีกรรมหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของประชาชนในสังคมล้านนาอย่างยาวนาน เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับมงคลที่เสริมสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคคลทั่วไปในวาระโอกาสต่าง ๆ เช่น งานที่เป็นสิริมงคล หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยโดยนำมาจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับ “อายุวัฒนกุมาร” เมื่อครั้งยังเป็นทารก ถูกทำนายว่าจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 7 วัน ด้วยความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก จึงได้นำทารกไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงรับรู้ด้วยญาณ จึงตรัสรับสั่งให้พระสงฆ์เตรียมสถานที่ และทรงเป็นประธานในการสวดพระปริตร ใช้เวลาในการสวน 7 วัน เพื่อขจัดปัดเป่าอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับทารก ภายหลังทารกดังกล่าวจึงมีอายุยาวนานถึง 120 ปี พิธีกรรมสืบชาตาถูกนำมาประยุกต์ให้เข้ากับสังคมร่วมสมัยมากขึ้น เช่น พิธีกรรมสืบชาตาเมือง พิธีกรรมสืบชาตาแม่น้ำ และพิธีกรรมสืบชาตาป่าไหม้ ดังที่ปรากฏในสังคมปัจจุบัน
2. การตรวจและชำระคัมภีร์สรากริวิชาสูตรและคัมภีร์ทิพย์มนต์หลวงสืบชาตาฉบับของพระครูประโชติสิริวัฒน์ทั้ง 5 คัมภีร์ พบว่า การเขียนแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ รูปแบบที่หนึ่ง คือ เป็นการเขียนตามสำเนียงของภาษาพื้นเมือง ทำให้การออกเสียงผิดเพี้ยนไปบ้างรูปแบบที่เขียนด้วยภาษาบาลี รูปแบบที่สอง เป็นการแต่งประโยคและศัพท์อักขระที่ผิดจากไวยากรณ์ของภาษาบาลี ทำให้ไม่สามารถตีความหมายของประโยค หรือเนื้องหาได้ ก็ยังคงรูปเดิมไว้ ส่วนประโยคไหนที่ที่มีความผิดพลาดเล็กน้อย และสามารถตีความหมายได้ ก็ได้ตรวจชำระให้ได้ใจความสมบูรณ์ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลี
3. หลักธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์สืบชาตา พบว่า มีหลักคารวธรรม ๖ ที่ว่าด้วยการเคารพนบน้อมพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ในศีล ในความไม่ประมาท และมีใจเอื้อเฟื้อต่อเพื่อนมนุษย์ หลักโพชฌงค์ 7 มี สติ ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา หลักการสร้างบารมีของพระโพธิสัตย์ หรือเรียกว่า บารมี ๓๐ ทัด มีทานบรมี สีลบารมี เนขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี โดยแบ่งระดับของบารมีออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับต้น เรียกว่าบารมี ระดับกลาง เรียกว่า อุปบารมี และระดับสูง เรียกว่า ปรมัตถบารมี และหลักเมตตาภาวนา 3 ที่กล่าวถึงการแผ่เมตตาแบบเจาะจง การแผ่เมตตาแบบไม่เจาะจง และการแผ่เมตตาไปในทิศทั้ง 10
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study entitled “A Revision and Dhamma Study of Seub Chata Scripture of Phra Prachotisiriwat's Edition” consisted of 3 objectives as follows: 1) to study the background and belief of Seub Chata or prolongation ritual in Lanna society; 2) to examine and revise Sarakarivicha Sutta Scripture and Thipmon Luang Seub Chata Scripture of Phrakhru Prachotisiriwat's Edition; and 3) to analyze the Dhammas appeared in both Sarakarivicha Sutta Scripture and Thipmon Luang Seub Chata Scripture. The study applied a documentary research by studying the definitions, background, beliefs about Seub Chata ritual, as well as analyzing and revising Sarakarivicha Sutta Scripture and Thipmon Luang Seub Chata Scripture. The results of the study are found as follows:
1) Seub Chata or prolongation ritual has influenced the way of life of people in Lanna society for a long time. It is an auspicious ritual to strengthen the morale of the general public on various occasions such as any auspicious ceremony or even when for prolonging the life of a patient based on Buddhist belief in Ayuvadhanakumaravathu story. The story portrays a baby whose life was predicted that he would not live more than 7 years but due to the affection of his parent so they brought him to see the Buddha, the Buddha acknowledged the situation through his insight, he then told other monks to prepare the venue where he would preside the ceremony of chanting Paritta sutta which took place for 7 days in order to eliminate the danger that would occur with the baby. Later on, the baby could live for 120 years. The Seub Chata ritual, therefore, is adapted to perform in a contemporary society such as Seub Chata Mueang, Seub Chata Mae Nam, and Seub Chata Pa Mai, as appeared in the present society.
2) A revision of Sarakarivicha Sutta Scripture and Thipmon Luang Seub Chata Scripture of Phrakhru Prachotisiriwat's Edition in all 5 scriptures, it is found that the writing is divided into 2 styles: The 1st style is the writing in Pali language and is written according to the accent of the local language which results in the distortion of pronunciation and the 2nd style is the composing of sentences and words that are grammatically wrong in Pali which results in the uninterpretation of sentences or contents, therefore, the researcher has left it the same. Any sentence that has minor mistakes and is able to be interpreted, the researcher has revised for complete and correct grammar in Pali.
3) The Dhammas appeared in Sarakarivicha Sutta Scripture and Thipmon Luang Seub Chata Scripture are found as follows: Gārava-dhamma refers to the reverence for the Master, the Buddha, the Dhamma, the Order, the Training, the earnestness, and the hospitality; Bojjhaṅga refers to enlightenment factors which are sati (mindfulness), dhammavicaya (truth investigation), viriya (effort), pīti (zest), passaddhi (tranquility), samādhi (concentration), and upekkhā (equanimity); Pāramī (the 10 perfections performed by the Bodhisattva) which are dāna (giving), sīla (morality), nekkhamma (renunciation), paññā (wisdom), viriya (effort), khanti (tolerance), sacca (truthfulness), adhiṭṭhāna (self-determination), mettā (loving-kindness), and upekkhā (equanimity), by which Pāramī is divided into 3 steps, namely, Pāramī (ordinary perfections), Upapāramī (superior perfections), and Paramatthapāramī (supreme perfections); and lastly, Mettā-bhavanā (the cultivation of loving-kindness) refers to the spread of loving-kindness specifically, unspecifically, and to all 10 directions.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6208205009 | 6208205009 | 1.01 MiB | 219 | 17 ก.ย. 2564 เวลา 12:07 น. | ดาวน์โหลด |