-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาคติธรรมในประเพณีกวนข้าวทิพย์ของประชาชนในตำบลพญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Buddhist Doctrine in Khao Thip Stirring Tradition of People in Phaya Man Sub-district, Phichai District, Uttaradit Province
- ผู้วิจัยพระครูพิมลกิตติคุณ (เบี้ยว สมบัติทองใบ)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.พรหมเรศ แก้วโมลา
- ที่ปรึกษา 2พระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา26/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2213
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 164
- จำนวนผู้เข้าชม 342
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีกวนข้าวทิพย์ของวัดบ้านดง ตำบลพญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อศึกษาคติธรรมที่ปรากฏในประเพณีกวนข้าวทิพย์ของประชาชนในตำบลพญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของประเพณีกวนข้าวทิพย์ของประชาชนในตำบลพญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาภาคเอกสาร และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth-interviews) ประชาชนในพื้นที่ จำนวน 20 คน และทำการวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
1. ประเพณีกวนข้าวทิพย์ของวัดบ้านดง ตำบลพญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประเพณีที่มีคติความเชื่อจากการถวายข้าวมธุปายาสของนางสุชาดา เพื่อระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหตุการณ์ที่นางสุชาดาได้กวนข้าวทิพย์ในวันขึ้น 14 ค่ำ แล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้ 1 วัน โดยถือว่ามีผลานิสงส์มาก ด้วยเหตุนี้ประชาชนนำตำบลพญาแมนจึงพร้อมใจกันกวนข้าวทิพย์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เทิดทูนพระเกียรติคุณด้วยความกตัญญูกตเวทิตาธรรม ข้าวทิพย์หรือข้าวมธุปายาสนี้เชื่อกันว่า เมื่อทำครบถ้วนตามพิธีแล้ว จะเป็นสิริมงคลแด่ผู้ทำและผู้บริโภค สมควรจะเซ่นสรวงเทพารักษ์ ผู้ที่ได้บริโภคข้าวทิพย์แล้ว จะประสบโชคลาภ ปราศจากโรคาพยาธิ ภัยพิบัติ ประสบสิ่งที่เป็นมงคล สำหรับประเพณีกวนข้าวทิพย์ของวัดบ้านดงนั้น เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) ซึ่งตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 และเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาคือวันวิสาขบูชา โดยหลวงพ่อสำเนียง ศรีสุนทร (พระครูวิรุฬห์ศีลวัตร) อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านดง เจ้าคณะอำเภอพิชัย โดยอิงหลักฐานทางศาสนาพุทธเกี่ยวกับเรื่องข้าวมธุปายาสหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าข้าวทิพย์ ข้าวทิพย์ของวัดบ้านดงจัดได้ว่าเป็นอาหารที่มีอัตลักษณ์เฉพาะเป็นหนึ่งเดียวของจังหวัดอุตรดิตถ์ ในปัจจุบันประเพณีกวนข้าวทิพย์จะถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 พฤษภาคม ของทุกปี
2. คติธรรมที่ปรากฏในประเพณีกวนข้าวทิพย์ของวัดบ้านดง ตำบลพญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบไปด้วย 1) คติธรรมเรื่องความศรัทธา หรือ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุและผล 2) คติธรรมเรื่องความสามัคคี หรือ ความร่วมมือของประชาชน ความสมัครสมานสามัคคีของหมู่คณะในการจัดประเพณีกวนข้าวทิพย์ 3) คติธรรมเรื่องการให้ทานหรือการเสียสละ ทั้งการเสียสละสิ่งของที่ใช้ในการประกอบพิธีกวนข้าวทิพย์ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องปรุงต่าง ๆ รวมถึงการเสียสละกำลังกาย กำลังสติปัญญา และกำลังทรัพย์ในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานบุญพิธี 4) คติธรรมเรื่องเบญจศีล-เบญจธรรม คือ ในประเพณีกวนข้าวทิพย์จะต้องไม่มีการฆ่าสัตว์ ลักขโมย ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ และดื่มสุราเมรัย 5) คติธรรมเรื่องความกตัญญู เป็นประเพณีที่แสดงถึงความกตัญญูต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลวงพ่อสำเนียง ศรีสุนทร รวมถึงญาติที่ได้ล่วงลับไปแล้ว 6) คติธรรมเรื่องขันติความอดทน เป็นประเพณีที่ผู้ประกอบพิธีจะต้องใช้ความอดทนจากความร้อนและควันจากเตาไฟ ต้องอาศัยความอดทน ความพร้อมเพรียง และความชำนาญ เพื่อที่จะสามารถกวนข้าวทิพย์ให้แล้วเสร็จ
3. ประเพณีกวนข้าวทิพย์ของวัดบ้านดง ตำบลพญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ มีคุณค่าทั้งหมด 5 ด้าน คือ 1) คุณค่าด้านครอบครัว คือ เป็นประเพณีที่ทำให้กลุ่มเครือญาติได้มีโอกาสพบปะกัน 2) คุณค่าด้านสังคม คือ สร้างความร่วมมือระหว่างชุมชน เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างประชาชน และหน่วยงานภายในชุมชน 3) คุณค่าด้านขนบธรรมเนียมประเพณี คือ เป็นประเพณีที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเป็นระยะเวลากว่า 60 ปี 4) คุณค่าด้านศาสนา เป็นประเพณีที่ช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาทั้งในด้านการเรียนรู้พุทธประวัติและการซึมซับคติธรรมทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการ ดำเนินชีวิต 5) คุณค่าด้านเศรษฐกิจ คือ เป็นการช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจภายในชุมชนให้มีความคึกคัก มีการเปิดร้านค้าบริเวณรอบพิธี และมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนบูชาข้าวทิพย์ไปรับประทาน นำปัจจัยที่ได้รับไปบำรุงเสนาสนะภายในวัด และ 6) คุณค่าด้านการอนุรักษ์ คือ เป็นประเพณีที่มีการสืบทอดมาเป็นเวลานาน ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากชาวบ้านให้มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปี เพื่อเป็นการสืบทอดอนุรักษ์ประเพณีให้คู่กับชุมชนต่อไป
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The research consisted of the following objectives: 1) to study the background of Khao Thip Stirring tradition of Wat Ban Dong, Phaya Man sub-district, Phichai district, Uttaradit province; 2) to study the Buddhist doctrine appeared in Khao Thip Stirring tradition of Wat Ban Dong, Phaya Man sub-district, Phichai district, Uttaradit province; and 3) to analyze the values of Khao Thip Stirring tradition of Wat Ban Dong, Phaya Man sub-district, Phichai district, Uttaradit province. The study applied qualitative research method by means of in-depth interview with 20 persons. The acquired data were analyzed according to the research objectives.
The results of the research are found as follows:
1) Khao Thip Stirring tradition of Wat Ban Dong, Phaya Man sub-district, Phichai district, Uttaradit province is a tradition derived from the story of Sujātā offered Madhupayasa (rice gruel with milk) to the Buddha. In order to recollect the Buddha and the event that Sujātā stirred up Khao Thip on the 15th day of the waxing moon and offered to the Buddha one day before his enlightenment, Buddhists come together to stir up Khao Thip as an offering to the Buddha and to honor him with gratitude. Khao Thip or Madhupayasa is believed to be auspicious to those who successfully finish the ceremony as well as those who consume it. They will be blessed with fortune and free from disease and disaster. Khao Thip Stirring tradition of Wat Ban Dong was first held on Monday, 13th May B.E. 2500 (year 1957) on the 15th day of the waxing moon in the 6th lunar moon and fell on Vesak Day by Luangpor Samnieng Srisunthon (Phrakru Wirutsilawat), the former abbot of Wat Ban Dong and the Ecclesiastical Phichai District Official. Based on the evidence in Buddhism on Madhupayasa or what the villagers call Khao Thip, it is a unique dish of Uttaradit province and help to stop disease in the body. At present, Khao Thip Stirring tradition is held between 17 – 18 May of every year.
2) The Buddhist doctrine appeared in Khao Thip stirring tradition of Wat Ban Dong, Phaya Man sub-district, Phichai district, Uttaradit province is as follows: 1) Saddhā refers to a belief that is based on cause and effect; 2) Sāmaggī refers to unity or cooperation of people in organizing the ceremony; 3) Dāna refers to giving or sacrifice whether it is materials or ingredients in organizing the ceremony, or physical, intellectual, and financial support for the ceremony; 4) Pañca-sīla and Pañca-dhamma refer to the abstention from killing, stealing, sexual misconduct, false speech, and intoxicants during the ceremony; 5) Kataññutā refers to the expression of gratitude through the ceremony towards the Buddha and Luangpor Samnieng Srisunthon, including the departed related; 6) Patience as the participants of the ceremony will have to endure the heat and smoke from the stove or fireplace therefore they must have patience, harmony, and skills in order to successfully complete the ceremony; and 7) Preservation of the tradition that has been carried on for a long time and received support from the villagers every year.
3) The values of Khao Thip stirring tradition of Wat Ban Dong, Phaya Man sub-district, Phichai district, Uttaradit province consist of the following 5 aspects: 1) On family by providing opportunity for family members and relative to meet; 2) On society by building cooperation among community members from working together between people and various organizations in the community; 3) On custom and tradition by inheriting the more than 60-year tradition from ancestors; 4) On religion by inheriting Buddhism whether on the life of the Buddha or the Buddhist doctrine as a way of life; 5) On economy by stimulating the economic system within the community through the opening of shops around the ceremony as well as giving people the opportunity to worship and eat Khao Thip, to bring the acquired requisites to maintain the lodging of monks and novices, and to cultivate as the learning center on tradition.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6208205011 | 6208205011 | 6.97 MiB | 164 | 17 ก.ย. 2564 เวลา 12:05 น. | ดาวน์โหลด |