-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาลักษณะคำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมที่ปรากฏในเรื่องพระมาลัย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of the Teaching on the Law of Kamma in the Legend of Māleyya Thera
- ผู้วิจัยพระวุฒิพงศ์ ฐิตสีโล (อินปาน)
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.รวีโรจน์ ศรีคำภา
- ที่ปรึกษา 2พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา26/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2214
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 334
- จำนวนผู้เข้าชม 116
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพระมาลัย 2) เพื่อศึกษากฎแห่งกรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 3) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะคำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมที่ปรากฏในเรื่องพระมาลัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก หนังสือ ตำรา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า
1. เรื่อง พระมาลัย มีเนื้อสาระกล่าวถึงการทำความดี ทำความชั่ว และผลของกรรมหรือการกระทำ ที่เป็นเหตุปัจจัยให้ทั้งมนุษย์และสัตว์ที่เกิดขึ้นมาบนโลก และได้กระทำกรรมเมื่อครั้งยังมีชีวิต ซึ่งมนุษย์และสัตว์ที่ได้กระทำอกุศลกรรมหรือกรรมชั่วก็ย่อมที่จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนมนุษย์และสัตว์ที่ได้กระทำกุศลกรรม หรือกรรมดี ก็ย่อมที่จะที่ได้ไปเกิดในสุคติสวรรค์ เนื้อหาสาระของพระมาลัยนั้นเป็นการสนทนาระหว่างพระมาลัย ผู้มีปรีชาญาณเฉลียวฉลาดหลักแหลม ได้ลงไปโปรดสัตว์นรก และมีโอกาสได้สนทนากับพระยายมราชถึงบุพพกรรมของสัตว์นรกชนิดต่าง ๆ และขึ้นไปสนทนากับพระอินทร์ หรือท้าวสักกะเทวราช ถึงบุพพกรรมที่ทำให้ได้ไปเกิดบนสวรรค์ จากนั้นพระมาลัยได้นำข่าวสารเกี่ยวกับกรรมที่ทำให้ไปสู่นรกและสวรรค์ มาบอกแก่มนุษย์ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เร่งทำบุญกุศลด้วยการให้ทาน รักษาศีลเป็นประจำ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน จะได้ไม่ไปเกิดในนรก และจะได้เกิดในศาสนาของพระศรีอาริยเมตไตรยที่จะมาตรัสรู้ในอนาคตกาลเบื้องหน้า
2. กฎแห่งกรรมเป็นการกระทำที่ประกอบไปด้วยเจตนาเป็นเหตุมากกว่าเป็นผลการกระทำกรรมมี 2 ลักษณะ คือ การทำกรรมดี เรียกว่า กุศลกรรม การทำกรรมชั่ว เรียกว่า อกุศลกรรม เป็นการกระทำที่แสดงออกทางกาย ทางวาจา และทางใจ กรรมจึงเป็นคำกลาง ๆ ที่เป็นได้ทั้งดีและไม่ดี ให้ยึดถือมั่นอยู่เพียงว่าสิ่งทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม ว่ากรรมมีอยู่จริง สามารถส่งผลให้มนุษย์ และเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายให้เสวยวิบากในลักษณะที่แตกต่างกัน และไม่เหมือนกันประกอบด้วยวัฏฏะ 3 ได้แก่ กิเลส กรรม วิบาก กรรมจึงมีบทบาทสำคัญในการจำแนกว่า มนุษย์ย่อมได้รับผลกรรมตามเหตุปัจจัย เรียกว่า กรรม 12 ได้แก่ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล จำแนกตามหน้าที่ และจำแนกตามความหนัก-เบาของการให้ผล ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ย่อมจำแนกให้ดี และเลวต่างกัน
3. วิเคราะห์คำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมที่ปรากฏในเรื่องพระมาลัยมี 2 ลักษณะที่สำคัญ คือ 1. กุศลกรรมที่ทำให้ได้ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ เริ่มจาก (1) กุศลกรรมของพระอินทร์ในการบำเพ็ญวัตตบท 7 หรือ ข้อที่ถือปฏิบัติประจำ 7 (2) กุศลกรรมกับกุศลกรรมบถ 10 คือ ทางแห่งกรรมดี ทางทำดี ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ (3) กุศลกรรมกับกรรม 12 ที่กำหนดภพภูมิให้ไปเกิดในสุคติภูมิ (4) กุศลกรรมกับหลักโอวาทปาฏิโมกข์ คือ การละบาปทั้งปวง การทำความดีให้ถึงพร้อม การรักษาจิตใจให้ผ่องใส ถือเป็นกุศลกรรมที่จะนำไปสู่สุคติหรือได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี (5) กุศลกรรมกับหลักเทวธรรม คือ ทางที่ไปเกิดเป็นเทวดา โดยการมีหิริ คือ ความละอายแก่ใจ และโอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อบาป และ 2. กรรมประเภทอกุศลกรรม หรือ กรรมไม่ดี ที่ทำให้ไปเกิดเป็นสัตว์นรกนั้น ประกอบไปด้วย (1) อกุศลกรรมที่ทำให้ไปเกิดในนรกใหญ่ 9 ขุม เกิดจากการกระทำปาณาติบาต ขาดความเมตตา และกระทำอนันตริยกรรม (2) อกุศลกรรมที่ทำให้ไปเกิดในอุสสุททนรก (นรกเล็กชั้นใน 4 ขุม) เกิดจากการกระทำที่มีความตระหนี่ เลี้ยงชีพในทางที่ผิด ทรมานสัตว์ ไม่ดำรงตนอยู่ในศีลธรรม 3) อกุศลกรรมที่ทำให้ไปเกิดในยมโลกียนรก (นรกเล็กชั้นนอก 10 ขุม) เกิดจากกรรมที่ได้ด่าว่าทุบตีสมณะพราหมณ์ผู้มีศีล ผิดลูกผิดเมียผู้อื่น ทรมานสัตว์ ฉ้อโกงผู้อื่นให้เสียทรัพย์ ไม่ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม และ 4) อกุศลกรรมที่ทำให้ไปเกิดในโลกันตนรก เกิดจากการเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ คือ การถือมั่นว่า นรก สวรรค์ ไม่มี นิพพานไม่มี บิดา มารดาไม่มี ไม่มีกุศลและอกุศล ไม่มีบุญและบาป เมื่อตายไปก็จะไปสู่โลกันตนรก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “A Study on the Law of Kamma in the Legend of Māleyya Thera” consisted of the following objectives: 1) to study the background of the legend of Māleyya Thera; 2) to study the law of kamma in Buddhist scriptures; and 3) to analyze the teaching on the law of kamma in the legend of Māleyya Thera. The study was a documentary research by studying the Tipiṭaka, books, documents, and related research works. The results of the research are as follows:
1) The legend of Māleyya Thera has contents concerning good and bad kamma (action) that human beings and beings do when they are alive, including the consequences of kamma which are the causes and conditions for human beings and beings to be born in the world. If they commit akusala-kamma (unwholesome action) or bad deeds, they will be born in apāya-bhūmi (planes of loss and woe), duggati (states of unhappiness), vinipāta (place of suffering), and niraya (hell). While those who commit kusala-kamma (wholesome action) or good deeds, they will be born in sugati (blissful states of existence) and heaven. The story portrays the life of the monk called Phra Malai. Phra Malai used his supernatural power and knowledge to visit the sufferings in hell, there he got to converse with Yamarāja, the deity of death, about pubbakamma (a deed done in a former existence) of all the sufferings which caused them to be reborn in hell. Phra Malai also visited heaven to converse with Sakka, the kings of gods, about pubbakamma of those who are reborn in the heavenly world. He, then, brought back to the human world a message on the existence of hell and heaven and the kind of kamma resulting in hell and heaven in order for humans to live their lives based on mindfulness and make merits through dāna (giving), observing the precepts, and practicing vipasaanā meditation; consequently, they will not be reborn in hell but instead in the lifetime of the future Buddha, Metteyya, who will have attained enlightenment in the future.
2) Kamma is an action driven by intention and is more of a cause rather than a consequence. There are 2 types of kamma: kusala-kamma (wholesome action) and akusala-kamma (unwholesome action). Kamma can be done through bodily action, verbal action, and mental action. Kamma is a neutral term that can be both good and bad while the important thing concept is that all things are directed by kamma. Kamma is real and brings different consequences to all human beings and beings. The 3 vaṭṭa (cycle) consists of kilesa (defilements), kamma, and vipāka (results or consequences). Kamma is divided into 3 classifications and 12 ways: classification according to the time of ripening or taking effect; classification according to function; and classification according to the order of ripening.
3) From analyzing the teaching on the law of kamma in the legend of Māleyya Thera, it is found that there are 2 main characteristics: 1. Kusala-kamma resulting in being born as devata (deity) in the heavenly world comprising: (1) Kusala-kamma of Sakka on Vata-pada (the 7 practices); (2) Kusala-kamma and kusala-kammapatha (the 10 wholesome courses of action) which will lead to happiness and prosperity; (3) Kusala-kamma and 12 kamma which is the classification of kamma; (4) Kusala-kamma and ovadāpāṭimokkha (the fundamental teaching) which are the abandonment of all evils, doing good deeds, and purifying the mind; and (5) Kusala-kamma and devadhamma (the virtues that make divine) which are Hiri (moral shame) and Ottappa (moral dread). 2. Akusla-kamma resulting in being born in hell comprising: (1) Akusala-kamma causing to be reborn in 9 major hells as a result from committing pāṇātipāta (the destruction of life), action that is lack of loving-kindness, and committing anantariya-kamma (the 5 immediacy-deeds); (2) Akusala-kamma causing to be reborn in ussadaniraya (the 4 woeful planes) as a result from being stingy, wrong livelihood, making animals suffer, and behaving immorally; (3) Akusala-kamma causing to be reborn in yamalokika-niraya (the 10 woeful planes) as a result from abusing and hurting monks, being unfaithful to own’s spouse, making animals suffer, cheating and stealing from others, and behaving immorally; and (4) Akusala-kamma causing to be reborn in lokanta-niraya as a result from niyata-micchādiṭṭhi (wrong views with fixed destiny) which is the wrong view that there is no hell, heaven, nibbana, father, mother, kusala, akusala, merit, or even evil.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6208205012 | 6208205012 | 1.3 MiB | 334 | 17 ก.ย. 2564 เวลา 12:02 น. | ดาวน์โหลด |