-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาประเพณีการเทศน์มหาชาติของประชาชนตำบลท่าสัก อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Mahājātakadesanā Tradition of People in Tha Sak Sub-district, Phichai District, Uttaradit Province
- ผู้วิจัยพระอธิการอนุกูล พุทฺธสโร (ปานกลิ่น)
- ที่ปรึกษา 1พระราชเขมากร, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.เกรียงศักดิ์ ฟองคำ
- วันสำเร็จการศึกษา26/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2215
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 175
- จำนวนผู้เข้าชม 102
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีการเทศน์มหาชาติ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีการเทศน์มหาชาติของประชาชนในชุมชนท่าสัก ตำบลท่าสัก อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของประเพณีการเทศน์มหาชาติของประชาชนในชุมชนท่าสัก ตำบลท่าสัก อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth-interviews) กับกลุ่มประชากรจำนวน 25 คน และทำการวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ โดยสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
1. ประเพณีการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่ได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ มีการแต่งเป็นสำนวนต่าง ๆ ตามยุคสมัย เรื่องราวของมหาชาติชาดกมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพุทธศาสนิกชน เพราะถือว่าเป็นตอนที่พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร อันเป็นพระชาติสุดท้ายที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีครบ 10 ประการ ก่อนจะตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยทานบารมีชั้นสุดยอดที่ยากยิ่ง จึงเรียกว่า มหาชาติ ความนิยม และความสำคัญของเรื่องมหาชาติชาดก ปรากฏให้เห็นได้จากวรรณกรรมที่แต่งขึ้นมากมาย ทั้งต่างสำนวนและต่างยุคสมัยเฉพาะที่เป็นฉบับหลวงก็มีมากมายในลักษณะของรูปแบบคำประพันธ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีมหาชาติฉบับท้องถิ่นต่าง ๆ อีก เช่น ทางภาคเหนือมีมหาชาติภาคพายัพ เขียนเป็นอักษรล้านนา มีหลายฉบับและหลายสำนวน ทางภาคอีสาน มีมหาชาติคำเฉียง ส่วนทางภาคใต้ มีมหาชาติชาดกฉบับวัดมัชฌิมาวาส สงขลา เป็นต้น รวมถึงยังมีมหาชาติสำนวนต่าง ๆ ที่มีการแต่งอยู่ทั่วไปในแต่ละพื้นที่
2. หลักธรรมที่ปรากฏในประเพณีการเทศน์มหาชาติของประชาชนในชุมท่าสัก อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบไปด้วย 1) หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ การให้ทาน การรักษาศีล และหลักภาวนา 2) หลักพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา 5) หลักศรัทธา คือ หลักความเชื่อที่ประกอบไปด้วยเหตุผล ไม่ตั้งอยู่ในความงมงาย 4) หลักความกตัญญูกตเวที คือ การรู้จักตอบแทนพระคุณผู้ที่มีอุปการคุณทั้งในยามมีชีวิตและเสียชีวิตแล้ว 5) หลักทิศ 6 คือ หลักในการปฏิบัติตัวอยู่ร่วมกับบุคคลรอบ ๆ ตัวเราทั้งบิดามารดา ครูอาจารย์ สามีภรรยา มิตรสหาย ลูกน้องบริวาร และพระสงฆ์ 6) หลักสัปปุริสธรรม คือ หลักธรรมสำหรับสัตตบุรุษที่จะต้องรู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้ชุมชน และรู้บุคคล และ 7) หลักสาราณียธรรม หรือหลักในการสร้างความสามัคคีให้แก่ชุมชน
3. คุณค่าของประเพณีการเทศน์มหาชาติของประชาชนในชุมชนท่าสัก ตำบลท่าสัก อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์มี 5 ด้าน คือ 1) คุณค่าด้านหลักคำสอน คือ คติธรรมทางพระพุทธศาสนา ที่ปรากฏในประเพณีการเทศน์มหาชาติทำให้ประชาชนสามารถปฏิบัติตนในชุมชนได้อย่างสงบสุข 2) คุณค่าต่อครอบครัว ประเพณีเทศน์มหาชาติถือเป็นโอกาสที่ครอบครัวจะได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน พบปะกัน เป็นการสร้างความอบอุ่นภายในครอบครัวและอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร 3) คุณค่าด้านเศรษฐกิจ คือ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเกษตรภายในชุมชน 4) คุณค่าต่อสังคม คือ ทำให้ประชาชนรู้จักการเสียสละ ช่วยเหลือแบ่งปัน และ 5) คุณค่าด้านขนบธรรมประเพณี คือ เป็นประเพณีที่มีรากฐานมาจากคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษช่วยปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่ประชาชนในชุมชน เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคมปัจจุบัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The research consisted of the following objectives: 1) to study the background of Mahājātakadesanā tradition; 2) to study the Buddhadhamma appeared in Mahājātakadesanā tradition of people in Tha Sak sub-district, Phichai district, Uttaradit province; and 3) to analyze the values of Mahājātakadesanā tradition of people in Tha Sak sub-district, Phichai district, Uttaradit province. The study applied qualitative research method. The researcher studied the data from primary and secondary sources as well as in-depth interviews with a population in a total of 25 persons. The acquired data were analyzed according to the research objectives.
The results of the research are as follows:
1) Mahājātakadesanā tradition has been inherited since the Sukhothai, Ayutthaya, and Rattanakosin periods in which the literature style varies according to each period. The story of Mahājātaka plays a significant role for Buddhists because the story portrays the period when the Buddha’s previous incarnation was the Bodhisatta Vessantara, which was the last life of the Buddha when he cultivated the 10 pāramitā (perfections) before he realized enlightenment. The popularity and significance of Mahājātaka can be seen in various literatures in many different verses and different periods, particularly the royal edition that has many different forms of poetry. Other local editions are such as Mahājātaka of Payap part from the North written in Lanna script consisting of many editions and literature styles, Khamchiang Mahājātaka from Isan, Mahājātaka edition of Wat Matchimawat in Songkhla province, etc. Moreover, there are various Mahājātaka in different literature styles that are widely composed in each local area.
2) The Buddhadhamma appeared in Mahājātakadesanā tradition of people in Tha Sak sub-district, Phichai district, Uttaradit province is as follows: 1) Puññakiriyā-vatthu (the 3 Bases of Social Solidarity) refers to giving or sacrificing, observing the precepts or moral behavior, and mental development; 2) Brahmavihāra (the 4 Sublime States of Mind) or the Dhamma for ruling the people consisting of Mettā (loving-kindness), Karuṇā (compassion), Muditā (sympathetic joy), and Upekkhā (equanimity); 3) Saddhā refers to belief that is based on reason, not on blind faith; 4) Sāmaggī refers to gratitude towards the benefactors both those who are alive and those passes away; 5) Disā refers to the way of practice for coexisting with people such as parents, teachers, spouse, friends, employees, and monks; 6) Sappurisa-dhamma refers to qualities of a good man in which he must know the cause, the consequence, oneself, sense of proportion, the proper time, the society, and the individual; and 7) Sāraṇīyadhamma refers to the states of conciliation for the community.
3) The values of Mahājātakadesanā tradition of people in Tha Sak sub-district, Phichai district, Uttaradit province are divided into 5 aspects: 1) On the teaching refers to the Buddhist doctrine appeared in Mahājātakadesanā tradition that people can practice in the community peacefully; 2) On family refers to the opportunity for family members to meet and make merits together. Family members will also get to have heartwarming moments and coexist with each other based on generosity; 3) On economy refers the stimulation of the agricultural economy within the community. 4) On society as the tradition teaches people to sacrifice, help, share for each other; and 5) On custom and tradition as it is a tradition based on the Buddhist teaching which has been passed on from ancestors which helps to cultivate morality for people in the community in order to coexist peacefully in the present society.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6208205014 | 6208205014 | 6.1 MiB | 175 | 17 ก.ย. 2564 เวลา 12:00 น. | ดาวน์โหลด |