โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การวิเคราะห์คติธรรมที่ปรากฏในประเพณีตักบาตรข้าวดำดิน ในเขตตำบลป่าคาย อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analysis of the Buddhist Doctrines in the Tradition of Khao Dam Din Alms in Pa Kai Sub-district, Thong Saen Khan District, Uttaradit Province
  • ผู้วิจัยพระอธิการวงศ์พันธ์ สํวโร (แสนสิริพันธุ์)
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.รวีโรจน์ ศรีคำภา
  • ที่ปรึกษา 2พระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา26/08/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2216
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 127
  • จำนวนผู้เข้าชม 58

บทคัดย่อภาษาไทย

        การวิจัยเรื่อง “วิเคราะห์คติธรรมที่ปรากฏในประเพณีตักบาตรข้าวดำดินในเขตตำบลป่าคาย อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของประเพณีตักบาตรข้าวดำดิน ในเขตอำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมการทำบุญอุทิศให้ผู้ตายในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์คติธรรมที่ปรากฏในประเพณีตักบาตรข้าวดำดินในอำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวกับประเพณีตักบาตรข้าวดำดิน ในเขตตำบลป่าคาย อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 21 รูป/คน ผลการวิจัย พบว่า

        1. ประวัติและความเป็นมาของประเพณีตักบาตรข้าวดำดินเป็นประเพณีทำบุญตักบาตรโบสถ์ในพิธีแจงรวมญาติหรือเรียกว่า “งานทำบุญหาผี” ของบ้านนาป่าคาย หมู่ที่ 3,4 ตำบลป่าคาย อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประเพณีดั้งเดิมสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนการทำบุญใส่บาตรโบสถ์ คือ การนิมนต์พระสงฆ์ไปรับภัตตาหาร และฉันเพลในอุโบสถ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานทำบุญแจงรวมญาติ นิยมทำกันในวันที่สองตอนเพล เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้บุพพการีชนที่เสียชีวิตไปแล้ว การใส่บาตรข้าวดำดิน หรือข้าวฝังดิน เป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ และเป็นหัวใจสำคัญในการทำบุญแจงรวมญาติ ตามความเชื่อว่าพิธีตักบาตรข้าวดำดินนับว่ามีผลานิสงส์มากกว่าทานปกติ เพราะจัดเทียบเป็นมหาทานพิเศษที่พระพุทธองค์ฉันแล้วปรินิพพาน โดยมีการเชื่อมโยมไปยังครั้งเมื่อสมัยนั้นก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน

        2.  หลักธรรมการทำบุญอุทิศให้ผู้ตายในพระพุทธศาสนาเถรวาท ได้แก่ ความกตัญญูกตเวที และบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ ทาน (การให้) ศีล (การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย) ภาวนา (การทำจิตใจให้ตั้งมั่น) ซึ่งมีผลแก่พระสงฆ์ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และประชาชนประเพณีทำบุญตักบาตรข้าดำดินนับว่าเป็นกุศโลบายที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของเครือญาติ ซึ่งจัดว่าเป็นทักษิณานุ ปทานที่เจ้าภาพมุ่งอุทิศต่อผู้วายชนม์เป็นสำคัญ

        3. คติธรรมที่ปรากฏในประเพณีตักบาตรข้าวดำดิน ตำบลป่าคาย ในอำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แก่ 1) ความเชื่อ คือ มีความเชื่อว่าญาติที่ล่วงลับไปแล้วย่อมได้รับส่วนกุศลผลบุญที่ตนเองและครอบครัวอุทิศให้ตามคตินิยมทางพระพุทธศาสนาที่สืบทอดมาแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน 2) ความสามัคคี คือ การมีส่วนร่วมของคณะสงฆ์ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านและประชาชนที่ได้มีส่วนร่วมในการทำบุญตักบาตรข้าวดำดินตามกำลังกาย กำลังทรัพย์และกำลังศรัทธา และ 3) ความสุข คือ เมื่อได้ทำบุญตักบาตรข้าวดำดินซึ่งมีเพียงปีละครั้งทำให้เกิดความสุขและความภาคภูมิใจร่วมกัน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

        The study entitled “An Analysis of the Buddhist Doctrines in the Tradition of Khao Dam Din Alms in Pa Kai Sub-district, Thong Saen Khan District, Uttaradit Province” consisted of the following objectives: 1) to study the background of the tradition of Khao Dam Din alms in Pa Kai sub-district, Thong Saen Khan district, Uttaradit province; 2) to study the Buddhist teachings of merit-making to the departed in Theravada Buddhism; and 3) to analyze the Buddhist doctrines in the tradition of Khao Dam Din alms in Pa Kai sub-district, Thong Saen Khan district, Uttaradit province. The study applied a qualitative research method with the data collected from Theravada Buddhist scriptures, documents, and related research works, including an interview with 21 people who are related to the tradition of Khao Dam Din alms in Pa Kai sub-district, Thong Saen Khan district, Uttaradit province. The results of the research are as follows:

        1) The background of the tradition of Khao Dam Din alms is the merit-making through almsgiving inside the Uposatha on the day of “Chaeng Ruam Yat” or “Tum Boon Ha Phee” of Ban Na Pa Kai village, Moo 3 and 4, Pa Kai sub-district, Thong Sa Khan district, Uttaradit province. It is the original tradition passed down from many generations. For the almsgiving inside the Uposatha, monks are usually invited to have lunch there. While the day of “Chaeng Ruam Yat” is usually done on the second day at noon in order to dedicate the merit to the departed. The Khao Dam Din alms or Khao Fang Din is a unique tradition and is the heart of merit-making for “Chaeng Ruam Yat” day. It is believed that Khao Dam Din alms gives more benefits than normal dāna (giving) because it is compared as the great merit by relating to the time before the Buddha passed away, when the Buddha ate the Madhupayasa (rice gruel with milk) and realized enlightenment.

        2) The Dhammas for merit-making to the departed in Theravada Buddhism are as follows: Kataññūkatavedī (gratefulness) and Puññakiriyā-vatthu (3 Bases of Meritorious Action) which are Dāna (giving), Sīla (moral behavior), and Bhāvana (mental development) by which the benefits will be upon the monks, community leaders, local scholars, and people. The tradition of Khao Dam Din alms is a strategy focusing on the participation of relatives which is the dakkhiṇānuppadāna (offering made to monks on behalf of the dead) by the hosts.

        3) The Buddhist doctrines appeared in the tradition of Khao Dam Din alms in Pa Kai sub-district, Thong Saen Khan district, Uttaradit province are as follows: 1) Belief by believing that the departed will get the merits dedicated by family and relatives. This is the belief that has been passed down since the Buddha’s lifetime until at present; 2) Unity by the participation of monks, community leaders, local scholars, and people in the merit-making of Khao Dam Din alms based on the physical strength, financial status, and level of faith of each one; and 3) Happiness as the tradition of Khao Dam Din alms is held only once a year and it always brings happiness and pride to the people.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6208205015 6208205015 5.69 MiB 127 17 ก.ย. 2564 เวลา 11:58 น. ดาวน์โหลด