-
ชื่อเรื่องภาษาไทยพุทธวิธีส่งเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ในเขตอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Buddhist Methods to Promote the Well-being of Monks in Pichai District, Uttaradit Province
- ผู้วิจัยพระใบฎีกาอรรถพล เตชพโล (คุ้มภัย)
- ที่ปรึกษา 1พระศักดิธัช สํวโร, ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.รวีโรจน์ ศรีคำภา
- วันสำเร็จการศึกษา26/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2217
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 76
- จำนวนผู้เข้าชม 65
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสภาพบริบทและปัญหาอุปสรรคของการส่งเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ในอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และ 3) เพื่อเสนอพุทธวิธีการส่งเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ในเขตอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาภาคเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 24 รูป/คน เพื่อนำมาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) การป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์ตามหลักการทางพระพุทธศาสนา คือการทำให้ร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กัน ด้วยการมีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ดี ทำให้มีโรคน้อย มีเป้าหมายในการบริโภค มีสติพิจารณาฉันเฉพาะอาหารที่เป็นประโยชน์ รู้ประมาณในการบริโภคและห้ามดื่มสุราและเมรัย ทำให้มีพลานามัยสมบูรณ์ กระปรี้กระเปร่า อยู่สำราญดี จนเกิดเป็นสุขภาพองค์รวมที่สมบูรณ์ทั้งด้านกาย จิต สังคม และปัญญา
2) สภาพบริบทของการส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ในเขตอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ยังไม่มีความชัดเจนในการดำเนินนโยบายด้านสาธารณสุขให้กับวัดและพระสงฆ์สามเณร นอกจากนี้พบประเด็นที่มีความสำคัญต่อการดำเนินนโยบายด้านสาธารณสุขและการส่งเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ นั่นคือการเชื่อมโยงการทำงานในระดับปฏิบัติการจากองค์ความรู้ของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ พ.ศ. 2560 และโครงการวัดส่งเสริมสุขภาพของคณะสงฆ์อำเภอพิชัย เชื่อมโยงองค์ความรู้จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาอุปสรรคในการส่งเสริมสุขภาวะทั้งในด้านของพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ การขาดบุคลากรในการส่งเสริมการดูแลสุขภาวะของพระสงฆ์ และความต้องการการดูแลสุขภาพแบบมีส่วนร่วม และเครือข่ายของพระสงฆ์ การดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม จะนำไปสู่การพัฒนาและการหาแนวทางในการส่งเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ในเขตอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ที่เหมาะสม
3) พุทธวิธีส่งเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ในเขตอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ มี 2 ประเด็น ได้แก่ (1) แนวทางส่งเสริมการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ในเขตอำเภอพิชัย โดยเน้นบทบาทคณะสงฆ์ วัด และภาคีเครือข่ายองค์กรสาธารณสุขในพื้นที่ คณะสงฆ์จำเป็นผลักดันนโยบายและการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพตามกำลังความสามารถและไม่ขัดกับพระธรรมวินัย (2) การใช้แนวคิด “พระคิลานุปัฏฐาก” เป็นพุทธวิธีส่งเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ในเขตอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เพราะเป็นฐานแนวคิดที่การดูแลสุขภาพตนเองตามหลักพระธรรมวินัย ชุมชนและสังคมกับการดูแลอุปัฏฐากพระสงฆ์ที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย ที่ประกอบด้วยการส่งเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ใน 3 ประเด็น คือ (1) หลักพระธรรมวินัยกับการดูแลสุขภาพ : พระคิลานุปัฏฐาก มีองค์ความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลผู้ป่วยและการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ตามหลักพระธรรมวินัย และสามารถให้ความรู้ความเข้าใจ ช่วยเหลือ ในการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ได้ (2) การส่งเสริมสุขภาพและการดูแลพระสงฆ์ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้: พระคิลานุปัฏฐากมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในกลุ่มพระสงฆ์ พฤติกรรมเสี่ยง สามารถสังเกตและให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะวิกฤติได้ ตลอดจนสามารถดูแลช่วยเหลือพระสงฆ์ที่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย และ (3) พระคิลานุปัฏฐากกับการพัฒนาวัดและชุมชน : พระคิลานุปัฏฐาก มีศักยภาพในการสร้างการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายพระสงฆ์แกนนำชุมชนในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ มีความรู้ ความเข้าใจในองค์ประกอบและความสำคัญของการดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพ มีทัศนคติและมีทักษะในการส่งเสริมสุขภาพดูแลพระสงฆ์ สามารถนำความรู้ที่ได้ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการดูแลพระสงฆ์ได้อย่างถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัยและถูกต้องตามหลักวิชาการ อย่างมีประสิทธิภาพ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis consisted of the 3 objectives as follows: 1) to study the concepts and theories about the prevention and promotion of the well-being of monks in Theravada Buddhism; 2) to study the contexts and problems of the promotion of well-being of monks in Pichai District, Uttaradit Province; and 3) to propose the Buddhist methods to promote the well-being of monks in Pichai District, Uttaradit Province. The study applied the qualitative research method by studying documents and in-depth interviews with 24 key informants in order to analyze the contents. The results of the research are as follows:
1) The prevention and promotion of the well-being of monks in Theravada Buddhism refer to the connection of body and mind by having mindfulness (sati) and clear comprehension (sampajañña) which will lead to having fewer diseases, more goals in consumption, be mindful to contemplate and consume only the healthy food, be moderate on the consumption amount, and without drinking liquors. All of these will result in monks having a healthy body, active and happy, and a complete holistic health whether physically, mentally, socially, and intellectually.
2) The contexts and problems of the promotion of well-being of monks in Pichai District, Uttaradit Province found to have no clarity in implementing the public health policies for temples, monks, and novices. Moreover, there is an important issue towards the implementation of public health policies and the promotion of well-being of monks which is the working connection at the operational level from the body of knowledge of Health Charter for Buddhist Monks B.E. 2560 together with the project of temples promoting health of the Sangha in Pichai District. It is also the connection between the body of knowledge from analyzing the problems in promoting well-being in terms of health risk behaviors. The lack of personnel in promoting the well-being of monks and the needs for participatory health care and monks’ connection. The participatory operation will lead to the development and finding guidelines for promoting the well-being of monks in Pichai District, Uttaradit Province.
3) The Buddhist methods to promote the well-being of monks in Pichai District, Uttaradit Province based on the mix of the concepts of the Health Charter for Buddhist Monks B.E. 2560 and the project of temples promoting the health of the Sangha in Pichai District which is the use of phra “Gilānupatthāka” concept as the Buddhist method to promote the well-being of monks because it is based on the concept of self-health care according to the Dhamma Vinaya. The communities and society with the correct way of taking care monks according to the Dhamma Vinaya, which consists of the 3 aspects: 1) Dhamma Vinaya and health care in which phra gilānupatthāka has knowledge and understanding in taking care of patients and monks according to the Dhamma Vinaya, including providing knowledge, understanding, assistance in health care of monks; 2) The promotion of health and taking care of monks who cannot help themselves in which phra gilānupatthāka has knowledge and understanding about the common diseases of monks as well as observing the risky behavior, providing first aid to the elderly in critical condition, and being able to take care of monks who are terminally ill; and 3) Phra Gilānupatthāka and the development of temple and community in which phra gilānupatthāka has potential in building participation and a network of monks who are community leaders for health care of monks. Moreover, phra gilānupatthāka has knowledge and understanding in the components and importance of the operation of the temples promoting the health project, equipped with attitude and skills for health care of monks, able to apply the knowledge obtained in taking care of monks correctly according to the Dhamma Vinaya as well as the academic principles efficiently.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6208205016 | 6208205016 | 6 MiB | 76 | 17 ก.ย. 2564 เวลา 11:56 น. | ดาวน์โหลด |