-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการวิเคราะห์ประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าว ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analysis of Boon Baan - Boon Khwan Khao Tradition in Khung Taphao Sub-district, Mueang District, Uttaradit Province
- ผู้วิจัยพระทวีศักดิ์ สุเมโธ (มากคล้าย)
- ที่ปรึกษา 1พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระศักดิธัช สํวโร, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา26/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2218
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 53
- จำนวนผู้เข้าชม 102
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าว ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ (2) เพื่อวิเคราะห์ประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าว ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Research) และเก็บรวมรวมข้องมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 21 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า
1. ประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าว ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประเพณีที่แสดงถึง “วัฒนธรรม” มาเนิ่นนานนับเนื่องกว่าสองร้อยปี เพื่อเป็นการขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องคุ้มครองคนในชุมชนให้อยู่ดีเป็นสุข เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญใหญ่ในหมู่บ้าน สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าวิถีชีวิตที่ชุมชนและท้องถิ่นต่าง ๆ ได้พัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต โดยแสดงออกในรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปะ อาหารการกิน เป็นต้น จัดขึ้นหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตต่าง ๆ ของคนในชุมชน เพื่อเป็นการละรึกถึงบรรพบุรุษ และเป็นการทำพิธีเพื่อขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดีในชุมชนให้ออกไป เพื่อจะได้เป็นขวัญกำลังใจของคนในชุมชน มีวาระจัดกันแตกต่างกันไปตามช่วงเวลาแห่งปี โดยมีนัย “ผูกโยง” สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออกจากวิถีชีวิตคนชนบท
2. ผลการวิเคราะห์ประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าว ประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ 1) ด้านความเชื่อ พบว่า เป็นผลมาจากความเชื่อ 4 อย่าง คือ ความเชื่อว่าเป็นการทำบุญส่งเคราะห์ ความเชื่อว่าเป็นขวัญกำลังใจแก่ชาวบ้าน ความเชื่อว่าเป็นการทำบุญอุทิศ และความเชื่อว่าเป็นการทำบุญขอบคุณแม่โพสพ และเป็นวิถีชีวิตที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา จึงถือเป็นประเพณีที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนให้ความนับถือศรัทธา 2) ด้านหลักธรรมที่ปรากฏในประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าวที่มีการจัดกิจกรรมอยู่ 3 กิจกรรม ผลการวิเคราะห์พบว่า (1) ประเพณีทำบุญกลางบ้านมีหลักธรรม คือ กตัญญูกตเวที เป็นการทำบุญอุทิศให้แต่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว, หลักกรรม เป็นความเชื่อที่ว่าใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ในสิ่งที่ชั่วกลับมา (2) ประเพณีแรกตักข้าว มีหลักธรรมคือ บุญกิริยาวัตถุ 3 ชาวบ้านเชื่อว่าการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นการสั่งสมบุญไว้ใช้ในโลกนี้และโลกหน้า, หลักสามัคคี การร่วมมือร่วมใจกันจัดงานหรือกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จไปด้วยดี การอยู่ร่วมกันของชุมชนให้มความสงบเรียบร้อย (3) ประเพณีก่อเจดีย์ข้าวเปลือกมีหลักธรรมคือ ศรัทธา เชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม ทำแล้วรู้สึกสบายใจ ยินดีและเต็มใจที่ได้ทำ, กัลยาณมิตรธรรม เป็นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ชี้แนะแนวทางการปฏิบัติตนต่อกัลยาณมิตร ประกอบด้วยความเคารพ น่าเจริญใจ รู้จักพูดให้ได้ผล หลักธรรมทั้งหมดนี้ผสมกลมกลืนอยู่กับประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าวและวิถีชีวิตของชาวบ้านตำบลคุ้งตะเภามาโดยตลอด 3) ด้านคุณค่า คุณค่าด้านจิตใจ คุณค่าทางจิตใจต่อประชาชนในเรื่องการให้กำลังใจ การทำบุญอุทิศ การเยียวยาจิตใจจากเศร้าหมองให้กลับมามีชีวิตชีวา, คุณค่าด้านสังคม เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสมบูรณ์และการช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปันซึ่งกันและกัน, คุณค่าด้านวัฒนธรรมและประเพณี คติความเชื่อ ศาสนา ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “หลักคำสอนในศาสนาทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในชุมชนและสังคม คุณค่าและความสำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “An Analysis of Boon Baan - Boon Khwan Khao Tradition in Khung Taphao Sub-district, Mueang District, Uttaradit Province” consisted of two objectives as follows: 1) to study the background of Boon Baan - Boon Khwan Khao tradition in Khung Taphao sub-district, Mueang district, Uttaradit province and 2) to analyze the Boon Baan - Boon Khwan Khao tradition in Khung Taphao sub-district, Mueang district, Uttaradit province. The study applied qualitative method by means of documentary research in which the field data were collected by in-depth interviews with 21 key informants. The results of the research are found as follows:
1. The Boon Baan - Boon Khwan Khao tradition in Khung Taphao sub-district, Mueang district, Uttaradit province is the tradition representing a culture of more than 200 years that has been held since an ancient time in order to pay gratitude to the sacred items for protecting people in the community to live well and happily. The tradition is usually held outdoor in an open-air area in the village or at any appropriate area. The tradition is related to the merit-making of the village which is believed to bring prosperity and solidarity to the community. It reflects the values of the way of life that the community and each locality have developed and created as a mean of living through the expression in various forms e.g., lifestyle, tradition, folk wisdom, arts, cuisine, etc. The tradition usually takes part after the product harvesting in order to recall the ancestors and to ward off bad luck so that people in the community will have morale. Although each year the tradition has different agenda, still it represents the inseparable “bonding” from the rural lifestyle.
2. The analytical results of Boon Baan - Boon Khwan Khao tradition are found in three aspects: 1) On belief, it is found that the Boon Baan - Boon Khwan Khao tradition is a result of 4 beliefs which are the belief in merit-making, the belief that the tradition can bring morale to the villagers, the belief in merit-making dedicated to the departed, and the belief in merit-making as to pay gratitude to the Rice Goddess (Mae Phosop). The tradition is the way of life that has been inherited and considered as a sacred tradition that people have respect and faith in. 2) On Dhamma, from the 3 activities during the tradition, it is found as follows: (1) the activity where there is a merit-making ceremony at home consists of the following dhamma principles: Kataññūkatavedī which is the dedication of merit to the departed, Kamma which is the belief that good action will result in good consequence while bad action will result in bad consequence. (2) “Rak Ta Khao” activity consists of the following dhamma principles: Puññakiriyāvatthu where people believe that the three bases of meritorious action through giving, observing precepts and cultivating development are the accumulation of merits for this and the next world, Sāmaggī which is the collaboration of people to successfully organize the activities and events and coexistence peacefully in the community. (3) “Ko-Chedi-Khao-Pueak” activity consists of the following dhamma principles: Saddhā which is to have faith in the good that will result in peacefulness, Kalyāṇamitta-dhamma which is the guidelines for treating one another in a friendly manner. All these Dhamma have always been blended with the Boon Baan - Boon Khwan Khao tradition as well as the way of life of Khung Taphao sub-district villagers all along. 3) On values as it is the source of encouragement for people through merit-making and also helps healing the mind from sorrow. On social values, it is the reflection of completeness and helping of one another. In addition, the tradition also has tremendous values on culture, tradition, belief, religion, nature, and environment. The Buddhist teaching brings orderliness to the community and society as well as the values and importance of Thai tradition.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6208205017 | 6208205017 | 7.75 MiB | 53 | 17 ก.ย. 2564 เวลา 11:53 น. | ดาวน์โหลด |