-
ชื่อเรื่องภาษาไทยกระบวนการอยู่ปริวาสกรรมตามประเพณีของพระภิกษุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาวัดป่าวิสุทธิมัคคาราม ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Process of Parivāsakamma According to the Tradition of Monks in the Northeast Region: A Case Study of Wat Pa Wisuttimakkaram, Ban Phue Sub-district, Ban Phue District, Udon Thani Province
- ผู้วิจัยนางสาวธัญชนก ปราบพาล
- ที่ปรึกษา 1พระศักดิธัช สํวโร, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.เกรียงศักดิ์ ฟองคำ
- วันสำเร็จการศึกษา26/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2219
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,165
- จำนวนผู้เข้าชม 989
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเข้าอยู่ปริวาสกรรมในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษากระบวนการอยู่ปริวาสกรรมตามประเพณีของพระภิกษุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาวัดป่าวิสุทธิมัคคารามตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการอยู่ปริวาสกรรมตามประเพณีของพระภิกษุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาวัดป่าวิสุทธิมัคคารามตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพใช้การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยจำนวน 18 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า
1. การเข้าอยู่ปริวาสกรรมในพระพุทธศาสนาเป็นการลงโทษพระภิกษุที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทั้ง 13 ข้อ หรือข้อใดข้อหนึ่ง เข้าไปหาหมู่สงฆ์ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป เพื่อแจ้งให้กับหมู่สงฆ์ว่า ตนต้องอาบัติสังฆาทิเสส จำนวนเท่านี้หรือจำได้ก็ดี จำไม่ได้ก็ดี ตามที่ตนได้ต้องอาบัติแล้วทางสงฆ์ให้แยกพระภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้น ๆ การอยู่ปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้มี 2 ลักษณะ คือ ปริวาสสำหรับคฤหัสถ์ และปริวาสสำหรับพระภิกษุมี 3 ประเภท ได้แก่ (1) ปฏิจฉันนปริวาส (2) สโมธานปริวาส (3) สุทธันตปริวาส และต้องประพฤติวัตร 94 ข้อ จำนวน 4 ราตรี จึงขอมานัตจากสงฆ์ได้ รัตติเฉทสำหรับการประพฤติมานัตมี 4 อย่าง คือ (1) การอยู่ร่วมกัน (2) การอยู่ปราศ (3) การไม่บอก และ (4) การประพฤติมานัตในคณะสงฆ์อันพร่อง เมื่อพระภิกษุประพฤติมานัตครบ 6 คืนแล้ว จึงขออัพภานจากสงฆ์ เมื่อสงฆ์ให้อัพภานแล้วถือว่าได้กลับเป็นภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์
2. กระบวนการอยู่ปริวาสกรรมตามประเพณีของพระภิกษุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาวัดป่าวิสุทธิมัคคารามตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี วันที่ 1 ทำพิธีบายสีสู่ขวัญบวงสรวงพระบรมธาตุเจดีย์ ทำพิธีไหว้ครู และขอขมาพ่อแม่ครูอาจารย์ ตามประเพณีอีสาน นิมนต์พระภิกษุเข้าปริวาสกรรม วันที่ 2 พระภิกษุที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสเข้าไปหมู่สงฆ์ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป เพื่อแจ้งให้กับหมู่สงฆ์ว่า ตนติดอาบัติจำนวนเท่านี้ หรือจำได้ก็ดี จำไม่ได้ก็ดี เพื่อขอปริวาส วันที่ 3 และ 4 พระภิกษุอบรมกรรม บอกวัตร – เก็บวัตรทุกวัน ในระหว่างวันมีการบรรยายธรรม และปฏิบัติธรรม วันที่ 5 อบรมกรรม นับเป็นราตรีที่ 4 หลังจากขอปริวาสกรรม เพื่อให้พระภิกษุขอมานัตจากสงฆ์ แล้วประประพฤติมานัตต่ออีก 6 คืน วันที่ 6 ถึงวันที่ 10 พระภิกษุอบรมกรรม บอกวัตร – เก็บวัตรทุกวัน วันที่ 11 เมื่อประพฤติมานัตครบ 6 คืนแล้ว ขออัพภานจากสงฆ์ เมื่อสงฆ์ให้อัพภานแล้วถือว่าได้กลับเป็นภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ในวันสุดท้ายของการเข้าปริวาสกรรมจะทำบุญอุทิศแด่ญาติบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ทำบุญเลี้ยงผีแถนและผีต่าง ๆ ตามความเชื่อโบราณของภาคอีสาน งานบุญเข้ากรรมจึงเป็นงานบุญที่พระภิกษุผู้กระทำผิดได้สารภาพต่อหน้าสงฆ์เป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตน และมุ่งประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต่อไป
3. ผลการวิเคราะห์กระบวนการอยู่ปริวาสกรรมตามประเพณีของพระภิกษุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาวัดป่าวิสุทธิมัคคาราม ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พบว่า 1) ด้านรูปแบบการเข้าปริวาสกรรมของพระภิกษุ เป็นการเข้าปริวาสกรรมตามประเพณีบุญเข้ากรรมของภาคอีสาน โดยยึดหลักการเข้าปริวาสกรรมในพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางปฏิบัติ 2) ด้านสถานที่เข้าปริวาสกรรม มีความเป็นสัปปายะ แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนแยกระหว่างพระภิกษุกับฆราวาส 3) ด้านพระภิกษุทำกรรม หรือพระกรรมวาจาจารย์ต้องรู้ข้อพระวินัยเป็นอย่างดี โดยยึดเอาหลักพระวินัยเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก 4) ด้านผู้เข้ากรรม เป็นพระภิกษุที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส พระภิกษุที่เข้าร่วมปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาตนเอง และให้ประชาชนเข้าร่วมปฏิบัติธรรมสนับสนุนดูแลพระภิกษุเข้าปริวาสกรรม 5) ด้านขั้นตอนการเข้าปริวาสกรรม ใช้พิธีกรรมทางศาสนาที่เป็นความเชื่อของภาคอีสานผสมผสานกับการเข้าปริวาสกรรมในพระพุทธศาสนา ส่งผลให้การเข้าปริวาสกรรมของวัดป่าวิสุทธิมัคคาราม ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มีคุณค่าในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1. คุณค่าด้านประเพณี ที่ให้ประชาชนในชุมชนร่วมกับพระภิกษุได้สืบสานอนุรักษ์ประเพณีของชาวอีสาน ที่เป็นประเพณีอันดีงามที่ให้พระภิกษุได้ประพฤติปฏิบัติตนเพื่อชำระศีล 2. คุณค่าด้านสังคม เป็นการปฏิบัติตามจารีตประเพณีภาคอีสานที่มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน สร้างความสามัคคีให้กับชุมชน 3. คุณค่าด้านพระพุทธศาสนา เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อรักษากระบวนการออกจากอาบัติที่เรียกว่า วุฏฐานวิธี ช่วยชำระศีลให้บริสุทธิ์พ้นจากอาบัติสังฆาทิเสส และสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “The Process of Parivāsakamma According to the Tradition of Monks in the Northeast Region: A Case Study of Wat Pa Wisuttimakkaram, Ban Phue Sub-district, Ban Phue District, Udon Thani Province” consisted of the following objectives: 1) to study the process of parivāsakamma in Buddhism; 2) to study the process of parivāsakamma according to the tradition of monks in Northeast region on a case study of Wat Pa Wisuttimakkaram, Ban Phue sub-district, Ban Phue district, Udon Thani province; and 3) to analyze the process of parivāsakamma according to the tradition of monks in Northeast region on a case study of Wat Pa Wisuttimakkaram, Ban Phue sub-district, Ban Phue district, Udon Thani province. The study applied a qualitative research method by collecting data from documents, research works, and interviews with a sample group comprising 18 persons of those who were related to the research. The results of the research are as follows:
1) Parivāsakamma in Buddhism refers to probation period that monks have to follow in the case that they commit saṅghādisesa āpatti (offence entailing a formal meeting of the Order), whether just 1 or all 13 offences. The offending monk will confess their offence to the Sangha, represented by a group of at least 4 monks, who will assign the required penalty. According to the Buddha, parivāsakamma is classified into 2 types: for laypeople and for monks. For monks, there are 3 kinds which are (1) paṭicanna parivāsa (penalty for concealed offences); (2) samodhāna parivāsa (penalty for combined offences); and (3) suddhanta parivāsa (penalty for different-combined offences). The offending monks must also undertake the 94 practices, in a total of 4 nights, and followed by mānatta, another penalty period of six nights similar to parivāsa but even more stringent in its requirements. After that, they must appear before a Sangha who will perform abbhāna, the Vinaya act that restores the monks to their former status as a regular monk.
2) From studying the process of parivāsakamma according to the tradition of monks in Northeast region on a case study of Wat Pa Wisuttimakkaram, Ban Phue sub-district, Ban Phue district, Udon Thani province, the study found the following activities: On the 1st day is Baci Su Khwan ceremony to worship the stupa containing relics, Wai Khru ceremony to pay respect to teachers, and to apologize them, including parents; On the 2nd day, according to Isaan tradition, the offending monks are invited to enter parivāsakamma starting from confessing their offence to a group of at least 4 monks who will assign the required penalty; On the 3rd and 4th day, the monks perform the ritual of parivāsakamma. During the day, there are Dhamma lecture and meditation practice as well; On the 5th day, being the 4th night, is the kamma training day. After that, the offending monks have to perform mānatta for another 6 nights. When they complete the 6 nights of mānatta, they have to appear before the Sangha who will perform abbhāna so they can restore to their former status which is a regular monk. On the last day of parivāsakamma, there will be merit-making ceremony to the departed, Phi Fa (deity or spirit), and other spirits in the local folklore of Isaan. The Boon Khao Kamma ceremony is, therefore, the merit-making ceremony that the offending monks get to confess their offence to the Sangha where they get to rise awareness of their faults and aim to behave properly according to the Dhamma Vinaya.
3) The results from analyzing the process of parivāsakamma according to the tradition of monks in Northeast region on a case study of Wat Pa Wisuttimakkaram, Ban Phue sub-district, Ban Phue district, Udon Thani province, they are found as follows: (1) On the style of parivāsakamma, it must be according to Boon Khao Kamma ceremony of Isaan by adhering to the style of parivāsakamma in Buddhism as a way of practice; (2) On the venue of Wat Pa Wisuttimakkaram, it is found to be sappāya (the 7 things favorable to mental development) and the area is clearly separated between monks and lay people; (3) On kammavācāriya (announcing teacher), he must know the Dhamma Vinaya very well; (4) On monk who enters the parivāsakamma, he must commit saṅghādisesa āpatti who aims to develop himself. In this regard, the general people should be encouraged to participate in order to look after the offending monks; (5) On the procedure for undergoing the parivāsakamma, by mixing the religious rituals that are the beliefs of Isaan people with parivāsakamma in Buddhism, as a result, parivāsakamma of Wat Pa Wisuttimakkaram consists of various values as follows: 5.1) On tradition in which people and monks get to preserve the Isaan tradition allowing monks to purify their precepts, 5.2) On society in which the tradition brings understanding among people and unity to the community, 5.3) On Buddhism in which the tradition allows vuṭṭhānavidhī practice in order for the offending monks to purify themselves from the offence they commit and able to carry on Buddhism.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6208205018 | 6208205018 | 5.73 MiB | 1,165 | 18 ก.ย. 2564 เวลา 11:00 น. | ดาวน์โหลด |