โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาวิเคราะห์มหาปุริสลักษณะที่ปรากฏในพระพุทธรูปสำคัญในล้านนา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAnalytical Study of the Great Characteristics in Important Lanna Buddha Images
  • ผู้วิจัยนางสาวสาธนีย์ เหลืองพิทักษ์
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสิริสุตานุยุต, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาอินทร์วงค์ อิสฺสรภาณี, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา08/03/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/222
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 540
  • จำนวนผู้เข้าชม 505

บทคัดย่อภาษาไทย

               วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์มหาปุริสลักษณะที่ปรากฎในพระพุทธรูป สำคัญในล้านนา”  มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษามหาปุริสลักษณะของพระพุทธเจ้า ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาพุทธลักษณะของพระพุทธรูปสำคัญในล้านนา และ 3) เพื่อวิเคราะห์มหาปุริสลักษณะที่ปรากฏในพระพุทธรูปสำคัญในล้านนา โดยสรุปได้ดังนี้ 

               1) มหาปุริสลักษณะของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา                                                   จากการศึกษาเกี่ยวกับมหาปุริสลักษณะทั้ง 32 ประการ พบว่า มีเพียงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่มีมหาปุริสลักษณะครบทั้ง 32 ประการ โดยได้ปรากฎหลักฐานและอธิบายไว้โดยละเอียดในพระไตรปิฎกหลายแห่ง อาทิเช่น ในพระอภิธรรม ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับมหาปุริสลักษณะไว้ หมายถึง  ในพระวินัยปิฎกก็ได้กล่าวถึง ลักษณะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และคติสองอย่างว่า ผู้ใดที่มีมหา ปุริสลักษณะครบถ้วนเช่นนี้ หากครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หากออกบวชจะได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาโพธิญาณและยังพบว่า มหาปุริสลักษณะ 32 ประการของพระพุทธเจ้าเป็นลักษณะของพระมหาบุรุษและบุคคลจะเป็นมหาบุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลลักษณะและตรัสรู้เป็นพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นั้น จะต้องบำเพ็ญบารมีให้ครบ 30 ประการ ได้แก่ บารมี 10 อุปบารมี 10 และ ปรมัตถบารมี 10

               2) พุทธลักษณะของพระพุทธรูปสำคัญในล้านนา                                                                                     จากการศึกษาพุทธลักษณะของพระสิหิงค์ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่  พบว่า เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง มีลักลักษณะของสีหลักษณะ เป็นศิลปะล้านนาระยะที่ 2 มีลักษณะพุทธศิลป์เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชร  พระวรกายอวบอ้วน พระพักตร์กลม ทรงแย้มพระโอษฐ์ พระหนุเป็นปม ขมวดพระเกศาใหญ่ ยอดอุษณีษะเป็นลูกแก้วคล้ายดอกบัวตูม ชายสังฆาฏสั้นเหนือพระถัน ลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากศิลปะปาละ พุกาม และหริภุญชัย คือชายผ้าที่เพลาแยกออกเป็นสองชาย

               จากการศึกษา  พุทธลักษณะของพระแก้วหยก วัดพระแก้ว จ.เชียงราย พบว่าลักษณะพุทธศิลป์ ของพระแก้วมรกต จัดเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับนั่งขัดสมาธิราบเหนือฐานหน้ากระดานเกลี้ยง พระพักตร์ ค่อนข้างกลม จัดอยู่ในกลุ่มของพระพุทธรูปล้านนาระยะแรก ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ ขัดสมาธิเพชร พระพักตร์กลม พระรัศมีเป็นตุ่มคล้ายดอกบัวตูม และชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ตามนิยมที่เรียกว่า  แบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง แต่ต่างกันตรงที่พระแก้วมรกตประทับนั่งขัดสมาธิราบ มีชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ซึ่งเป็นลักษณะที่ได้รับอิทธิพลสุโขทัยเข้ามาผสมแล้ว

               จากการศึกษา พุทธลักษณะพระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ในศิลปะล้านนาแบบเชียงแสนสิงห์สอง คือ พระพุทธรูป ที่มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย  ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานหน้ากระดานเกลี้ยง พระพักตร์รูปไข่ค่อนข้างเล็ก ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวทรงสูง พระวรกายบอกบาง สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่และยาวลงมาจรดพระนาภีตามแบบอย่างพระพุทธรูปล้านนาที่พบเป็นจำนวนมาก ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 (ตรงกับรัชสมัยของพระเมืองแก้ว) โดยรูปแบบพิเศษคือสังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ยาวลงมาจรดพระนาภีนั้นเป็นอิทธิพลศิลปะของอยุธยาแล้ว

               3) มหาปุริสลักษณะที่ปรากฎในพระพุทธรูปสำคัญในล้านนา                                                                   จากการศึกษาวิเคราะห์มหาปุริสลักษณะ ที่ปรากฎในพระพุทธรูปสำคัญในล้านนา พบว่า ลักษณะของพระพุทธรูปสำคัญในล้านนา ที่ปรากฏสอดคล้องกับมหาปุริสลักษณะเหมือนกันทั้งสามองค์ คือ มีองค์คุลียาว มีพระวรกายตั้งตรงดุจกายพรหม เพื่อแสดงให้เห็นถึงอานิสงส์ที่พระองค์ไม่ฆ่าสัตว์  ทรงมีพระเมตตากรุณาต่อสัตว์  มีความละอายและมุ่งประโยชน์ต่อผู้อื่น  มีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์ดุจลาตัวท่อนหน้าของราชสีห์ มีร่องพระปฤษฎางค์เต็มเสมอกัน มีลำพระศอกลมเท่ากันตลอด แสดงให้เห็นถึงอานิสงส์ที่พระองค์เป็นผู้ปรารถนาความเจริญแก่พหุชน เจริญด้วยศรัทธา รักษาศีล เจริญด้วยสุตะ พุทธิ จาคะ ธรรมะและปัญญา มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงอานิสงส์ที่พระองค์เป็นผู้นาในการประพฤติสุจริต 3

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

           This thesis entitled “An Analytical Study of the Great Characteristics in the Important Lanna Buddha Images”. The objectives of this research are as three follows: 1) to study the Great characteristics of the Buddha in Buddhist scriptures, 2) to study the Buddhist Characteristics of important Buddha image in Lanna, and 3) to analyze the Great Characteristics in important Lanna Buddha image.
           1) The great characteristics of the Buddha appeared in Buddhist scriptures                           According to the study of the 32 great characteristics of the Buddha found that there was only the Buddha who completely acquired thirty two kinds of characteristics by evidence and description in detail of many Pititaka such as Abhidhamma referred to the great characteristics. In Vinaya Pitaka mentioned the characteristics of the Buddha and the two principles that who completely acquired such the great characteristics if that one was the householder, one would be the emperor. If that one was ordained, that one would be enlightened, and also find that the 32 great characteristics of the Buddha was the characteristics of the great person and the person who was the great person and completed the great characteristics and the enlightenment was that the Buddha had to practice completely thirty kinds, including, namely, Ten ordinary perfection, Ten superior perfections and Ten supreme perfections.
           2) The Buddhist Characteristics of important Buddha image in Lanna                                     According to the study of the Buddhist characteristics of Phra Si Hing, Wat Phra Sing, Chiang Mai found that it was the Buddha image of Chiang Saen Singha Nueng that was the characteristics of Singha and it was Lanna art. The second period was the characteristics of Buddhist art, the Buddha image was sitting cross-legs with legs locked together, Corpulent body, round face, Smiling expression, knot of chin, knot of hair was big, the top of skull was marble like a lotus flower, the edge of short yellow robe was over the breast. The important characteristics was different the art of Pala, Pagan and Hariphunchai, including the cloth edge that separated into two edges.
           According to the study of Buddha characteristics of Phra Kaew Yok, Wat Phra Kaew, Chiang Ra found that the characteristics of Buddhist art of Emerald Buddha was the attitude of meditation, sitting cross-legs with one top of another over smooth base, the face was quite round that was the first group of Lanna Buddha image. The important characteristics were sitting cross-legs with legs locked together, round face, halo like lotus bud and the edge of short yellow robe over the breast, particularly, called the first Singha of Chiang San style, but it was different that Emerald Buddha sat cross-legs with one top of another, there was the edge of yellow robe stretch to the navel that was the influenced by the Sukhothai.
           According to the study of the Buddha characteristics of Phra Chao Kao Tue at Suan Dok Temple, Chiang Mai found that it was the attitude of subduing Mara, sitting cross-legs with one top of another in the Lanna art of Chiang Saen Singh Song style, including the Buddha image that there was influenced of Sukhothai art, sitting cross-legs with one top of another over smooth base, oval face was quite small, knot of hair was small, the halo was high flame, fragile body, a big and long yellow robe stretch to the navel according to the example of Lanna Buddha images that found a lot in the 21st Century (the reign of King Mueang Kaew) by the special form that was a big and long yellow robe stretch to the navel that was influenced of Ayouthaya art.
           3) The Great Characteristics appeared in the important Lanna Buddha image                       According to the analysis of the great characteristics appeared in important Lanna Buddha image found that it concerned with the great characteristics of three organs, including there were long fingers, straight body like Brahm in order to show the result of merit that His Majesty didn’t kill the animals, kindness on them, shame and benefit others, all parts of body as the front body of lion, the groove of the back was always full, the round neck equally those showed the benefit that His Majesty who wish the prosperity to people with faith, observing the precepts, hearing, knowledge, donation, Dhamma and wisdom, the sacred prosperity with Sutta, Buddhism and wisdom, the head was decorated with a face in order to show the benefit that His Majesty who was a leader in conducting the three Sucarita.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 1.94 MiB 540 25 พ.ค. 2564 เวลา 22:03 น. ดาวน์โหลด