-
ชื่อเรื่องภาษาไทยวิเคราะห์คติธรรมจากประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้ในจังหวัดแพร่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analysis of the Buddhist Doctrine from the Tradition of Building Wooden Buddha Statues in Phrae Province
- ผู้วิจัยนายธีรพันธ์ บุญมาก
- ที่ปรึกษา 1พระศักดิธัช สํวโร, ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา26/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2221
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 181
- จำนวนผู้เข้าชม 115
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูป 2) เพื่อศึกษาประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้ในจังหวัดแพร่ และ 3) เพื่อวิเคราะห์คติธรรมจากประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้ในจังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาภาคเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง จำนวน 12 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า
1) การสร้างพระพุทธรูปไม้ มีประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดคำสอนทางพระพุทธศาสนาอย่างแยกไม่ได้ ซึ่งตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แม้ไม่ปรากฏชัดว่ามีการสร้างพระพุทธรูปในสมัยพุทธกาลหรือไม่ แต่มีการกล่าวอ้างถึง ตำนานการสร้างพระพุทธรูป คือ ตำนานพระแก่นจันทน์ และพบว่าการสร้างพระพุทธรูปครั้งแรกเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้ามิลินทร์เป็นต้นมา ส่วนแนวคิดพื้นฐานต้นแบบในการสร้างพระพุทธรูปมากจากเรื่องพุทธลักษณะ 32 ประการและอนุพยัญชนะ 80 ของพระพุทธเจ้า
2) ประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้ในจังหวัดแพร่นั้นมีมานานแล้ว โดยเชื่อมโยงแนวคิดในสมัยพุทธกาลมาจนถึงอินเดีย และล้านนา ตามลำดับ ส่วนในจังหวัดแพร่ไม่พบหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มมาแต่สมัยใด แต่พบว่ามีพระพุทธรูปไม้จำนวนมากในแต่ละวัดทั่วจังหวัดแพร่ ที่พบมากที่สุดอยู่ที่อำเภอลอง อำเภอสูงเม่น และมีการสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อเก็บอนุรักษ์และรักษาไว้ให้ได้ศึกษา ช่วงหลังประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้มาถวายวัดเริ่มหายไป ไม่เป็นที่นิยมมากนัก จะมีแต่เฉพาะปราชญ์ภูมิปัญาที่มีประสบการณ์และองค์ความรู้ในพื้นที่ที่ยังมีข้อมูลและมีการสืบทอดการสร้างพระพุทธรูปไม้อยู่ จนมาถึงปัจจุบันได้มีพัฒนาการของประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้ในจังหวัดแพร่ โดยเกิดจากความศรัทธาเป็นพื้นฐาน มี 2 ลักษณะ คือ (1) จัดเป็นประเพณีสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่มีพิธีกรรมครบสมบูรณ์มีขั้นตอนชัดเจนตามตำราโบราณล้านนา และ (2) ประเพณีสร้างพระพุทธรูปไม้องค์เล็กถวายด้วยตนเองตามความเชื่อว่าเป็นสิริมงคล เพื่อเป็นการสืบชะตาต่ออายุ นอกจากนี้ยังพบว่า มีการสร้างเพื่อการศึกษาและการสืบทอดภูมิปัญญาจากครูบาอาจารย์มิให้สูญหาย และปัจจุบัน ประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้เริ่มกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งและมีการฟื้นฟูประเพณีฯ ขึ้นเพื่อเสริมสร้างพลังสรัทธาและส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามทางพระพุทธศาสนา เป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาในจังหวัดแพร่
3) จากการศึกษาวิเคราะห์คติธรรมจากประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้ในจังหวัดแพร่ จะเห็นได้ว่า ประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้นั้นสะท้อนคติธรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญ และมีความเชื่อมโยงกันเป็นทอด ๆ ด้วย จากการวิเคราะห์นั้นมี 2 ลักษณะคือ (1) คติธรรมที่ปรากฏตามพุทธอิริยาบถ (ปาง) หรือลักษณะของพระพุทธรูปไม้ที่นิยมสร้าง คือ หลักศรัทธา หลักการบูชา และคติธรรมจากพุทธลักษณะ 32 ประการ ที่รวมอยู่ในหลักสมถะกรรมฐานและวิปัสสนากัมมมัฏฐาน (2) คติธรรมที่ปรากฏจากขั้นตอนการสร้างพระพุทธรูปไม้เพื่อถวาย คือ หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 หลักสามัคคี และหลักสัมมาอาชีวะ ทั้งนี้ คติธรรมที่กล่าวมา ล้วนมีความเชื่อมโยงต่อคำสอนที่เป็นเป้าหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาคือการมีสติปัญญารู้แจ้งในสัจธรรม แต่ในขณะเดียวกันเมื่อประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้นั้นเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตขนบธรรมเดิมมาแต่โบราณ การจะทำให้ประเพณีการสร้างพระพุทธรูปนั้นสื่อสารคติธรรมที่มุ่งหวังผลโดยตรงนั้นอาจเป็นไปได้ยาก แต่หากว่าจะนำองค์ความรู้จากการศึกษาประเพณีการสร้างพระพุทธรูปนั้นเป็นสื่อในการเข้าถึงธรรมตามบริบทของสังคมและยุคสมัย เพื่อเป็นปัจจัยในการเข้าถึงธรรมในอนาคต และสามารถทำให้เกิดสติปัญญาในการใช้ชีวิตในระดับโลกิยะให้มีความสุขและเกิดความสมดุลได้ ดังนั้น เราจึงควรส่งเสริมประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้ในจังหวัดแพร่นี้ เป็นที่ประจักษ์และเกิดความดีงาม อันจะเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาและอายุพระพุทธศาสนาสืบต่อไป
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study consisted of the following objectives: 1) to study the Buddhist teachings related to the building of Buddha statues; 2) to study the tradition of building wooden Buddha statues in Phrae province; and 3) to analyze the Buddhist doctrine from the tradition of building wooden Buddha statues in Phrae province. The study applied a qualitative research method by studying documents and conducting in-depth interviews with 12 key informants by means of purposive sampling. The results of the research are as follows:
1) The building of wooden Buddha statues has a background related to the Buddhist teaching inseparably. Based on the historic pieces of evidence, although it is not clear whether there was the building of Buddha statues or not back in the Buddha’s lifetime, there is a legend of the building of Buddha statues made of sandalwood. It is also found that the building of Buddha statues existed for the first time in the era of King Milinda. As for the fundamental concept of the prototype in building the Buddha statues, it is based on the 32 Marks of the Great Man and 20 Secondary Characteristics (Anubyañjana).
2) There is no clear evidence when was the start of the building of wooden Buddha statues in Phrae province but it has existed for a long time by relating to those of which in the Buddha’s lifetime to India and Lanna respectively. It is found that there are many wooden Buddha statues in each temple all over Phrae province and most of them are found in Sung Meng District and Long District where there is a museum for preserving and studying the wooden Buddha statues. In recent years, the tradition of building wooden Buddha statues has begun to disappear and has not received much popularity. Only the local scholars with experiences and the body of knowledge in the area have information and inherit the building of wooden Buddha statues. Nowadays, the development of the tradition of building the wooden Buddha statues is based on faith with 2 features: 1) the tradition of building big Buddha statues with complete procedures of ritual according to the ancient Lanna scriptures and 2) the tradition of building small wooden Buddha statues for offering for good fortune and longevity. Moreover, it is also found that the building is for studying and inheriting the local wisdom from teachers. At present, the tradition of building wooden Buddha statues has gained popularity and being restored again in order to enhance the faith of people and promote the good Buddhist tradition. This considered the inheritance of Buddhism in Phrae province.
3) From analyzing the Buddhist doctrine from the tradition of building the wooden Buddha statues in Phrae province, it reveals that the tradition reflects important Buddhist doctrine and connected to one another. From the analysis, there are 2 characteristics: 1) the Buddhist doctrine displayed in attitude of the Buddha statues or the characteristics of the wooden Buddha statues that are widely built which are Saddhā (Faith), Pūjā (Worship), and the Buddhist doctrine based on the 32 Marks of the Great Man which can be found in Samatha and Vipassanā meditation; 2) the Buddhist doctrine from the process of building the wooden Buddha statues for offerings which are Puññakiriyā-vatthu (Bases of Meritorious Action), Sāmaggī (Unity), and Sammāājīva (Right Livelihood), All the said Buddhist doctrine is connected to the supreme goal in Buddhism which is to have mindfulness and wisdom in realizing reality. In the meantime, since the tradition of building the wooden Buddha statues is related to the ancient way of life, therefore, to make the tradition of building wooden Buddha able to communicate the Buddhist doctrine which aims for a direct result may be difficult to achieve. However, if the body of knowledge from studying the tradition of building the Buddha statues is used as a means to understand the Buddhist doctrine that is according to the social context and the era, it can be one of the factors to understand the Buddhist doctrine in the future and to have wisdom in living life in a mundane world happily and balancedly. Therefore, the tradition of building wooden Buddha statues should be promoted in Phrae province in order to inherit the local wisdom and Buddhism.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6208205020 | 6208205020 | 6.32 MiB | 181 | 17 ก.ย. 2564 เวลา 11:44 น. | ดาวน์โหลด |