โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาวิเคราะห์การพัฒนามนุษย์สู่ความเป็นเทวดา ตามหลักบุญกิริยาวัตถุ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of the Development of Human Being Towards Deva according to Puññakiriyãvatthu
  • ผู้วิจัยพระครูกาญจนกิจจารักษ์ (บัณฑิต บุญอาจ)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, รศ. ดร.,
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.พิเศษ ดร.อรชร ไกรจักร์
  • วันสำเร็จการศึกษา25/08/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2224
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 289
  • จำนวนผู้เข้าชม 556

บทคัดย่อภาษาไทย

            งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การพัฒนามนุษย์สู่ความเป็นเทวดาตามหลักบุญกิริยาวัตถุ” นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาเทวดาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ทำให้เป็นเทวดาตามหลักบุญกิริยาวัตถุ (3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนามนุษย์สู่ความเป็นเทวดาตามหลักบุญกิริยาวัตถุ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการค้นคว้าวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ทรงคุณวุฒิทางพระพุทธศาสนา 8 รูป/คน

             การศึกษา พบว่า ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาได้จำแนกเทวดาออกเป็น 3 ประเภท คือ  (1) สมมติเทวดา (2) อุบัติเทวดา และ (3) วิสุทธิเทวดา ในนี้เฉพาะอุบัติเทวดาชั้นกามาวจรมี 6 ชั้น บุญกิริยาวัตถุโดยย่อมี 3 ประการ โดยพิสดารมี 10 ประการ ในนี้เฉพาะบุญกิริยาวัตถุโดยย่อมี 3 ประการ ได้แก่ (1) การให้ทาน (2) การรักษาศีล และ (3) การเจริญภาวนา

            มนุษย์จะเกิดเป็นเทวดาชั้นกามาวจรได้ต้องพัฒนาตนตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ คือ (1) พัฒนาตามหลักการให้ทาน โดยก่อนให้ทานฝึกทำใจให้ดีด้วยการระลึกว่า “เราจะให้ทาน เราจะฝังขุมทรัพย์อันเป็นเหตุติดตามตนไปได้” ขณะกำลังให้ทานฝึกทำจิตให้เลื่อมใสด้วยการระลึกว่า “เราจะถือเอาสิ่งที่เป็นสาระจากทรัพย์อันหาสาระมิได้ เมื่อให้ทานแล้วฝึกทำใจให้เบิกบานด้วยการระลึกว่า “ขึ้นชื่อว่าทานที่บัณฑิตบัญญัติแล้ว เราก็ได้ดำเนินตามแล้ว ช่างดีจริงหนอ” และฝึกให้ทานด้วยมือตนเอง (2) พัฒนาตามหลักการรักษาศีล โดยการฝึกสำรวมกายวาจาใจให้เรียบร้อย ด้วยการสมาทานศีล 5 โดยกำหนดให้เป็นนิจศีล หรือสมาทานศีล 8 โดยกำหนดให้เป็นอุโบสถศีล และ  (3) พัฒนาตามหลักการเจริญภาวนา โดยการฝึกอบรมจิตให้สงบ และโดยการฝึกอบรมปัญญาให้เกิด   

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

             In the research entitled “An Analytical Study of the Development of Human Being Towards Deva according to Puññakiriyãvatthu”, three objectives were made: 1) to study the Deva in Theravada Buddhism scriptures, 2) to study the principles of Dhamma which are conducive to become the Deva according to Puññakiriyãvatthu, and 3) to analyze the development of human being towards Deva according to Puññakiriyãvatthu. This is a qualitative research which integrates the method of collecting data from research documents and in-depth interviews of eight Buddhist academicians.

              The results of the research were found that in Buddhist scriptures the deva is classified into three types: Sammati-deva: this deva is caused by convention, Upapatti-deva: this deva is caused by rebirth and Visuddhi-deva: this deva is caused by purification.  In this thesis, only the deva caused by rebirth is mentioned and is classified into six celestial realms.  Puññakiriyãvatthu is briefly separated into three kinds and thoroughly into ten kinds.  In this thesis, only the Puññakiriyãvatthu is briefly classified into three groups such as donating, keeping precepts and meditating.

               Human beings who wish to become celestial beings must get themselves developed through three groups of Puññakiriyãvatthu: 1) the self-development is done by donating where before donating, they make their own mind good with their recognizing that ‘when we donate, we will bury the treasure which is caused to be their future belongings’; while donating, they believe their merits with their recognizing that ‘we cannot cling to the essence of the inessential belongings’; after donating, they are trained to be delighted with their recognizing that ‘it is so good for us to donate according to the pundit’s description’; and everything should be deliberately donated with their own hands, 2) the self-development is done by keeping precepts where keeping their own actions and words truly and politely with all-time keeping of five precepts or observing eight precepts on Lunar Observance days are practiced, and 3) the self-development is done by meditating where keeping their own minds peacefully by means of the appearance of wisdom is observed.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
5901205001 5901205001 5.18 MiB 289 8 ก.ย. 2564 เวลา 05:13 น. ดาวน์โหลด